การเลือกใช้ท่อเหล็ก สำหรับการทำโครงสร้างเรือนเพาะชำ

เรือนเพาะชำ (Nursery) เป็นสถานที่ ที่มีบทบาทสำคัญในการพักฟื้น ดูแลรักษา เพาะเมล็ด ปักชำ และเพาะเลี้ยงไม้อ่อน ซึ่งจะช่วยควบคุมแสง และความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นที่เก็บรักษาพันธุ์ไม้ให้ปลอดภัยจากสัตว์ รวมถึงใช้เก็บอุปกรณ์ปลูกพืช และอาจจะมีการแบ่งพื้นที่บางส่วนเอาไว้ใช้เป็นที่จัดโชว์ต้นไม้สำหรับจำหน่ายอีกด้วย

การก่อสร้างเรือนเพาะชำในปัจจุบัน มีทั้งแบบขึ้นโครงสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งปานกลาง (เรือนเพาะชำขนาดเล็กทั่วๆไป) หรือถ้าหากเป็นเรือนเพาะชำ ที่สร้างขึ้นเพื่อเพาะพันธ์ไม้สำหรับจัดจำหน่าย ก็จะมีขนาดที่ใหญ่ และใช้วัสดุที่แข็งแรงมากขึ้นในการขึ้นโครงสร้าง ซึ่งก็คือวัสดุประเภทเสาปูน และท่อเหล็ก (เป็นวัสดุที่นิยมใช้งานแพร่หลายเป็นจำนวนมาก) นั่นเอง 

ซึ่งท่อเหล็กที่มีความเหมาะสมกับนำมาใช้ขึ้นโครงสร้างเรือนเพาะชำจะเป็นท่อเหล็กประเภทใด และจะมีคุณสมบัติพิเศษที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ตามมาชมกันได้เลยครับ

งานโครงสร้างเรือนเพาะชำ

ประเภทท่อที่ใช้ : ท่อสังกะสี (Pre-Zinc)

ท่อสังกะสี (Pre-Zinc) มีชื่อเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า เหล็กท่อ GI เป็นท่อเหล็กที่ได้จากการนำเหล็กแผ่นไปเคลือบสังกะสี (Galvanized steel sheets) และนำมาผ่านการตัดซอย (Slitting) ให้เป็นแถบตามขนาดที่ต้องการ แล้วจึงทำการม้วนขึ้นรูปให้เป็นทรงท่อ แล้วเชื่อมตะเข็บในแนวตรงโดยอาศัยหลักการของความต้านทานไฟฟ้า (Electric Arc Welding : ERW) และพ่นทั้งแนวเชื่อมภายนอกด้วยลวดสังกะสีหลอมละลาย

ท่อสังกะสี Pre-Zinc นั้น มีคุณสมบัติหลายประการที่ผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานของตนเองได้ อาทิเช่น เป็นท่อที่มีน้ำหนักเบา ทนต่อการกัดกร่อนได้ในระดับพื้นฐานเท่านั้น เหมาะสำหรับการใช้งานในร่ม หรือพื้นที่ ที่มีการกัดกร่อนในระดับที่ไม่สูงมากนัก ไม่ต้องทำสี ประหยัดเวลาในการติดตั้ง และตกแต่ง อีกทั้งยังเป็นท่อที่มีผิวเรียบสม่ำเสมอ เป็นมันวาว เหมาะสำหรับงานที่ต้องโชว์ผิวต่างๆอีกด้วย

การนำไปใช้งาน

ท่อสังกะสี นิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างเบา เช่น งานโครงสร้างเรือนเพาะชำ, โครงสร้างโรงเรือนภายในฟาร์ม, โครงสร้างโซลาฟาร์ม, งานโครงเบา นอกจากนี้ยังนิยมนำไปใช้ในงานโครงคร่าว, งานทีบาร์, งานฝ้า, โครงถัง, ท่อร้อยสายไฟ, และโครงรถเข็น อีกด้วย (ไม่แนะนำในการเอาไปใช้ในงานท่อประปาต่างๆ)

ท่อสังกะสีที่นิยมนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายจะมีลักษณะพื้นที่ภาคตัดขวาง 3 รูปแบบ ได้แก่ ท่อกลม ท่อเหลี่ยม และท่อแบน

ท่อสังกะสีกลม 

มีขนาดตั้งแต่ 15 mm. (1/2”) ,20 mm. (3/4”) ,25 mm. (1”) ,32 mm. (1-1/4”), 40 mm. (1-1/2”), 50 mm. (2”), 65 mm. (2-1/2”), 80 mm. (3”), 90 mm. (3-1/2”), 100 mm. (4”), 125 mm. (5”), 150 mm. (6”) และ 200 mm. (8”)

ท่อสังกะสีเหลี่ยม 

มีขนาดตั้งแต่ : 25×25 mm. ,32×32 mm. ,38×38 mm. ,50×50 mm. ,60×60 mm. ,75×75 mm. ,100×100 mm. และ150×150 mm. 

ท่อสังกะสีแบน 

มีขนาดตั้งแต่ 50×25 mm. ,60×30 mm. ,75×38 mm. ,100×50 mm. และ 200×100 mm.

มาตรฐานการผลิตท่อสังกะสี

ท่อสังกะสีที่นำไปใช้ในการก่อสร้างจะต้องได้รับมาตรฐานการผลิตระดับสากล ได้แก่

  • มอก.107-2561
  • JIS

ทั้งนี้ก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้ท่อสังกะสีสำหรับงานโครงสร้างเรือนเพาะชำ เราควรพิจารณาดูว่าท่อสังกะสีแต่ละขนาดนั้น มีความเหมาะสมกับขนาดเรือนเพาะชำ บริบทสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ลักษณะการใช้งาน รวมถึงความสะดวกในการดูแลรักษา และซ่อมบำรุง หรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่ออรรถประโยชน์ในการใช้งานสูงสุด มีความเหมาะสม และให้ความคุ้มค่ากับงบประมาณนั่นเอง

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ท่อสังกะสี (ท่อกลม ท่อเหลี่ยม และท่อแบน)

  • ท่อสังกะสีพรีซิงค์

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 39.50 บาท/กิโลกรัม

    Online

ถ้าหากท่านใดที่สนใจท่อสังกะสี เพื่อนำไปใช้ในงานก่อสร้าง

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center  02-285-2700​ ​

Website : www.cotcometalworks.co.th  ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.

และ Line Official : https://lin.ee/pIUNkHc

บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จำกัด / COTCO METAL WORKS LIMITED
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ...
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ