กำแพงกันดินมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการใช้งานอย่างไร ?

กำแพงกันดิน (Retaining Wall) ทำหน้าที่ในการรองรับแรงดันจากมวลดิน และมวลของเหลวตามธรรมชาติ เช่น น้ำ หรือ โคลน รวมถึงแรงกดทับต่างๆ ที่มาจากด้านบน ซึ่งกำแพงกันดินจะมีลักษณะเป็นโครงสร้างผนังกันดินที่มีความหนา และมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ และมีบทบาทสำคัญต่อการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน อาทิ การตกแต่งภูมิทัศน์ การสร้างเขื่อน อุโมงค์ กำแพงกันดินสไลด์ตามฝั่งแม่้น้ำเพื่อลดการทรุดตัวของดิน การสร้างสะพาน การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชันเพื่อป้องกันดินถล่ม หรือ บริเวณที่ราบสูง ไปจนถึงงานโครงสร้างชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่ หรือ ตึกสูงระฟ้า และอาคารบ้านเรือน เป็นต้น

ต้นปี ค.ศ.1900 กำแพงกันดินมักจะทำมาจากวัสดุจำพวกไม้ที่มีความแข็งแรงสูง เช่น ไม้ยูคา ไม้ไผ่ ไม้สัก และไม้เนื้อแข็งต่างๆ ต่อมาหลังปี ค.ศ.1970 มีการพัฒนาในด้านการใช้วัสดุ โดยเปลี่ยนมาใช้เหล็กชีทไพล์ ซีเมนต์ และคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ทดแทนการใช้ไม้เพื่อตอบโจทย์มาตรฐานทางด้านวิศวกรรม โดยจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆตามรูปแบบการใช้งานดังนี้

  • Gravity Wall
  • Piling Wall
  • Cantilever Wall
  • Anchored Wall
  • Diaphragm Wall

ในทุกวันนี้กำแพงกันดินถูกพัฒนาจนมีรูปแบบ กำแพงกันดินแบบสำเร็จรูป (Retaining Wall Block) หรือ กำแพงกันดินแบบหล่อสำเร็จ เพื่อเพิ่มความสะดวกไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่งและด้านการก่อสร้าง อีกทั้งยังช่วยลดการใช้แรงงาน ซึ่งกำแพงกันดินแบบสำเร็จรูปในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายหลายรูปแบบเช่นกัน

ตัวอย่างกำแพงกันดิน

กำแพงกันดินคอนกรีตสำเร็จรูปพร้อมฐานแผ่

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ขนส่งและเคลื่อนย้ายสะดวก เพราะมีลักษณะเป็นยูนิต 
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียง ขุดเคลียร์หน้าดิน เทลีน วางกำแพง จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการก็เป็นอันเสร็จสิ้น 
  • เป็นกำแพงกันดินที่มีฐานแผ่ และรูระบายน้ำในตัว
  • สามารถใช้เป็นรั้วสำเร็จรูปในตัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำ Dowel (เส้นเหล็กเดือย) เพื่อต่อกำแพง ด้านบนกำแพงกันดินให้สูงขึ้นได้
  • มีความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • มีขนาดให้เลือกหลากหลาย เช่น ขนาดเล็ก 60x50x100 หนา 10 cm ,ขนาดกลาง 210x180x200 หนา 17.5 cm และขนาดใหญ่ 420x360x100 หนา 30 cm

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ และใช้เป็นรั้วคอนกรีตไปในตัว

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าเรียบ)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ลักษณะผิวหน้าแบบเรียบ จึงทำให้งานดีไซน์ดูโมเดิร์น
  • ขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย เพราะมีลักษณะเป็นยูนิตขนาดเล็ก 
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน ,เทลีน ,วางบล็อกกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา ทำให้ใช้ประโยนช์เนื้อที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 50 x 48.5 x 25 cm. นำ้หนัก 70 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ 
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าลอนคลื่น)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ลักษณะผิวหน้าแบบลอนคลื่น นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยป้องกันการกัดเซาะได้ดีอีกด้วย
  • มีข้อดีเรื่องการขนส่งง่ายเช่นกัน 
  • ติดตั้งได้ง่าย โดยใช้วิธีการเคลียร์หน้าดิน เทลีน วางบล็อกกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน ช่วยเพิ่มความแข็งแรง และมีประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา ทำให้ใช้ประโยนช์เนื้อที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 50 x 48.5 x 25 cm. นำ้หนัก 70 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ 
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าเรียบ)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • ลักษณะผิวหน้าเรียบ 
  • ขนส่งและติดตั้งได้ง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา และแนวตั้งแบบขั้นบันได
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดที่มีในท้องตลาดคือ 100x75x50 cm. น้ำหนัก 450 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือ พื้นที่ลาดเชิงเขา
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ หรือ บ่อน้ำ
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าโค้ง)

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • เป็นกำแพงกันดินที่มีผิวหน้าโค้ง ช่วยให้แนวกำแพงกันดินมีมีติที่ดูสวยงาม
  • มีลักษณะเป็นยูนิต จึงทำให้ง่ายต่อการขนส่งและเคลื่อนย้าย
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน เทลีน วางกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา และแนวตั้งแบบขั้นบันได
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 100x75x50 cm. น้ำหนัก 450 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือ พื้นที่ลาดเชิงเขา
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ หรือ บ่อน้ำ
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

กำแพงกันดิน Diaphragm Wall 

คุณสมบัติหรือจุดเด่น

  • เป็นระบบที่ใช้คอนกรีตหล่อในที่ คล้ายคลึงการทำเสาเข็มเจาะระบบเปียก
  • ระบบการก่อสร้างนี้สามารถที่จะกันน้ำใต้ดินได้ดี
  • สามารถดัดแปลงมาใช้กับเทคนิคการก่อสร้างโครงสร้างใต้ดิน และ ระบบโครงสร้างที่ทำการก่อสร้างจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง หรือ TOP-DOWN ได้ดี
  • สามารถนำมาใช้ในงานขุดเจาะลงไปในพื้นที่เมืองซึ่งมีสิ่งก่อสร้างหนาแน่น
  • เทคโนโลยี DIAPHRAGM WALL ช่วยทำให้สามารถก่อสร้างชั้นใต้ดินได้ลึกยิ่งขึ้น

การใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ตามฝั่งแม่น้ำเพื่อลดการทรุดตัวของดิน
  • ใช้ในงานกันดิน สำหรับการการตกแต่งภูมิทัศน์ 
  • ใช้ในงานการสร้างเขื่อน หรืออุโมงค์
  • การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชันเพื่อป้องกันดินถล่ม 
  • งานโครงสร้างชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่

นอกจากกำแพงกันดินที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นกำแพงกันดินแบบไหน ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบทั่วไป ควรมีการปรึกษาวิศวกรผู้ที่มีชำนาญในด้านการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้งานที่เหมาะสม รวมไปถึงการประเมินสภาพพื้นที่ก่อสร้าง และการคำนวนแรงดันของดินที่ถูกต้องแม่นยำ จะทำให้สามารถเลือกใช้กำแพงกันดินที่เหมาะสมกับงานโครงการและลดการใช้งบประมาณที่อาจจะบานปลายในภายหลัง

 

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

  • แบรนด์ CPS - CCP Pavingstone
  • micro-pile. com
  • wikipedia

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ