“Living Concrete” คอนกรีตมีชีวิตที่รักษารอยแตกร้าวของตัวเองได้
นักวิทยาศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ (University of Colorado Boulder) สามารถสร้าง “คอนกรีตมีชีวิต” รักษารอยแตกร้าวของตัวเองได้
ซึ่งมันเต็มไปด้วยแบคทีเรียสังเคราะห์แสงที่สามารถเติบโตและงอกใหม่ได้เองราวกับเป็นสิ่งมีชีวิต ทำให้ข้อเสียของคอนกรีตที่มักจะมีรอยแตกร้าวเกิดขั้นได้เสมอหมดไป
Living Concrete มีโครงสร้างเป็นการผสมกันของเจลาติน ทราย และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ที่เย็นตัวแล้วเหมือนเยลลี่ โดยโครงสร้างของมันสามารถสร้างตัวเองขึ้นใหม่ได้ 3 ครั้ง หลังจากที่ทีมนักวิจัยได้ทำการตัดชิ้นส่วนมันออกไป ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมวัสดุ ที่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวของมันได้อย่างน่าอัศจรรย์
ซึ่งเจ้าวัสดุตัวนี้สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างในพื้นที่ทะเลทรายอันห่างไกล หรือแม้แต่ในอวกาศ ถ้า Living Concrete คอนกรีตมีชีวิตนี้สามารถถูกพัฒนาไปสู่จุดนั้นได้ เราก็จะสามารถลดปริมาณและน้ำหนักของวัสดุที่องค์การอวกาศต่าง ๆ จะต้องบรรทุกขึ้นไปบนจรวดอวกาศได้เป็นอย่างมาก
นี่คือวัสดุที่ผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับวัสดุก่อสร้างเอาไว้ด้วยกันอย่างลงตัว และเป็นก้าวที่สำคัญสู่ยุคสมัยใหม่ในการนำธรรมชาติมาผนวกรวมกับวิทยาความรู้ใหม่ในการสร้างสถาปัตยกรรม และอาคารชีวภาพ biological buildings ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป
อ้างอิงโดย :
- https://www.colorado.edu/ceae/2020/03/17/srubar-will-use-new-nsf-award-create-carbon-sink-concrete
-
https://www.sciencealert.com/this-concrete-is-packed-with-bacteria-that-help-it-heal-when-damaged
-
https://www.sciencenewsforstudents.org/article/this-living-concrete-slurps-up-a-greenhouse-gas?fbclid=IwAR0ACUSjumN73zmKiG_XHY4RhvgmsYRd2GFLQHu2TwgUvrqVlgE-yXUd2oE
-
https://www.smithsonianmag.com/smart-news/scientists-design-bacteria-based-living-concrete-180974002/?fbclid=IwAR2GXcFhry3VUwpVq6TW0wgtV9B2srs7Wam1OHSuIO3JMrDT6EssOt5Ubxw
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม