จากเส้นใยใบสับปะรดสู่วัสดุบุผนังดูดซับเสียง ลดเสียงสะท้อน ลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ลดโลกร้อน

จากปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาสากลที่ประเทศต่างๆต้องร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งแต่ละประเทศได้ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาเกียวโต ซึ่งตั้งเป้าหมายลดก๊าซคอร์บอนไดออกไซค์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน โดยมีเป้าหมายที่จะลดลงให้ได้ 40% ภายในปี 2030 ซึ่งหนึ่งในการแก้ปัญหาเพื่อความยั่งยืนคือการใช้ทรัพยากรทางธรรมาชาติอย่างคุ้มค่า และทำให้สามารถหมุนเวียนสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-Economy)

การสร้างนวัตกรรมจากชีวภาพ (Bio-Economy Innovation) 

รู้ไหมว่าเส้นใยสับปะรด สามารถเปลี่ยนจากขยะทางการเกษตรไปเป็นนวัตกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์รักษ์โลกที่สร้างมูลค่าได้มากกว่าหมื่นล้านเลยทีเดียว ประเทศไทยส่งออกสับปะรดกระป๋องเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยเรามีการปลูกสับปะรดมากกว่า 600,000 ไร่ ต่อปี ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวสับปะรดแล้วนั้นใบที่เหลือทิ้งสร้างปัญหาขยะ และปัญหาการเผาเพื่อทำลายก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

จากต้นสับปะรด 1 ต้นเราใช้ประโยชน์จากการทานผลเพียง 37% แต่ใบสับปะรดคิดเป็น 38% ของต้นสับปะรด ดังนั้นนี่คือเศษขยะทางการเกษตรที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการปลูกสับปะรด 1 ไร่ เราจะได้ใบสับปะรดมากกว่า 10,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขยะที่เป็นภาระของเกษตรกรอย่างมาก ดังนั้นหากเรามีการคิดค้น และนำใบสับปะรดเหล่านี้มาแปลงสภาพไปเป็นวัสดุที่มีมูลค่า นอกจากเราจะเปลี่ยนขยะทางการเกษตรไปเป็นทองคำแล้วเรายังช่วยลดโลกร้อน และยังช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องเกษตรกรอีกด้วย

วันนี้จากศูนย์วิจัย Wazzadu academy ของเรานั้นเราได้รวบรวมงานวิจัยด้านวัสดุจากเส้นใยสับปะรดมาเล่าสู่กันฟัง ไปติดตามกันได้เลยครับ

ใบสับปะรดที่ได้จากการปลูกเป็นจำนวนมากในแต่ละปีมีคุณสมบัติคล้ายกับเส้นใยจากพืชในประเภทอื่นๆ แต่เจ้าใยสับปะรดจะมีเซลลูโลสมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ ทำให้มีคุณสมบัติที่
1. เหนียวแต่มีความยืดหยุ่นที่สูง
2. มีความนุ่มเหมือนฝ้าย แต่เส้นใยแข็งแรง และทนทานมากกว่าฝ้าย 
3. มีลักษณะเส้นใยที่ยาวเนื้อละเอียด

เส้นใยของใบสับปะรดสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นระดับโลก


จากคุณสมบัติจากการวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจนั้นจึงทำให้มีการต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจน คืออุตสาหกรรมแฟชั่นที่ ดร. คาร์เมน ไอโฆซา (Carmen Hijosa) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสร้างสรรค์และนวัตกรรมของ Ananas Anam Ltd ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ได้นำเส้นใยสับปะรดไปพัฒนาเป็นเครื่องหนังทางเลือก ซึ่งเป็นเส้นใยของใบสับปะรดเหลือทิ้งจากการเกษตรได้สำเร็จในชื่อแบรนด์  ‘ปิญาเทกซ์’ (Piñatex) โดยเส้นใยที่ได้มีความเหนียว แข็งแรง และยืดหยุ่นสูง กระบวนการของปิญาเทกซ์เริ่มจากการรวบรวมใบสับปะรดที่ถูกทิ้งจำนวนมากจากการตัดแต่งผลผลิต นำมาผูกเป็นมัดเพื่อไปสกัดเป็นเส้นใย โดยใช้เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติ จากนั้นล้างแล้วตากแดดให้แห้งตามธรรมชาติ  ก่อนจะนำไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ส่งผลให้เส้นใยใบสับปะรด (Palf) มีลักษณะเป็นปุยขาวบริสุทธิ์ จากนั้นผสมกับกรดพอลิแลกติก (Polylactic acid : PLA) แล้วนำมารีดผ่านเครื่องจักรอีกครั้งจนได้แผ่นเส้นใยที่มีลักษณะเป็นเนื้อตาข่าย เรียกว่า ‘ปิญาเฟลต์’ (Piñafelt) ซึ่งจะเป็นม้วนวัสดุตั้งต้นของคอลเล็กชันปิญาเทกซ์ทั้งหมด และจะถูกขนส่งจากฟิลิปปินส์ไปประเทศสเปนหรืออิตาลี เพื่อเข้าสู่กระบวนการใส่สี เคลือบสี ฯลฯ จนเป็นผืนหนังที่ได้มาตรฐาน

ปิญาเทกซ์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีบริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชั้นนำกว่า 1,000 แห่งนำปิญาเทกซ์ไปเป็นวัสดุสำหรับแฟชั่นเครื่องแต่งกาย เช่น Hugo Boss, H&M และ Luxtra เป็นต้น

เส้นใยของใบสับปะรดสู่อุตสาหกรรมด้านการออกแบบสถาปัตย์ และอสังหาริมทรัพย์ 

ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของเส้นใยสับปะรดนั้นสามารถที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุในงานสถาปัตย์ได้อย่างน่าสนใจ ได้แก่


1. ผนังดูดซับเสียง (Sound Absorption Panel) ที่ต้องการใช้วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ นอกจากซับเสียง ป้องกันการสะท้อนนของเสียงก้องได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอีกด้วย
2. ประตูกั้นเสียง (Sound Proofing Door)
3. แผ่นบุผนัง (Wall Finishing)

นอกจากนั้นในอุตสาหกรรมรถยนต์ก็ยังสามารถนำไปใช้เป็นแผ่นซับเสียงภายในรถยนต์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

ต้องบอกว่าวัสดุเส้นใยจากสับปะรดนี่ไม่ธรรมดาจริงๆครับ เป็นพืชที่เราปลูกกันในประเทศเป็นจำนวนมากอยู่แล้วหากเราใช้นวัตกรรมทั้งทางด้านไบโอ และด้านการออกแบบเราจะสามารถต่อยอดเป็นสินค้าได้หลากหลายมากในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลต่อโลกใบนี้ที่ดีขึ้นด้วย

สรุปแนวคิดที่สำคัญ


1. แนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม : การเพิ่มการนำใบสับปะรดซึ่งเป็นขยะที่เหลือทิ้งจากการเกษตรนั้นช่วยลดจำนวนการเผา และทำลายซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทั้งฝุ่น PM 2.5 และปรากฏการณ์ก็าซเรือนกระจก ซึ่งสร้างสภาวะโลกร้อนนั้น จะเป็นการช่วยโลกและที่สำคัญช่วยประเทศไทยเราได้เป็นอย่างดี อีกด้วย
2. แนวคิดเพื่อสังคม : การปลูกสับปะรดในประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกจำนวนกว่าหกแสนไร่ขึ้นไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตเกษตรกรจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการพัฒนาต่อยอดเส้นใยจากสับปะรดไปเป็นอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ย่อมช่วยคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย

อ้างอิงโดย

  • ข้อมูลวิจัยจาก ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภาควิชาเคมีและศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ