รวมวัสดุปูพื้นราคาไม่เกิน 400 บาทต่อตารางเมตร

ขอบคุณภาพประกอบจาก https://www.archdaily.com/

"วัสดุปูพื้น" ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวัสดุตกแต่งที่มีความสำคัญสำหรับที่พักอาศัย วันนี้ Wazzadu จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลราคาของวัสดุปูพื้นที่ราคาไม่เกิน 400 บาท/ตารางเมตร และสรุปข้อดี ข้อเสียที่ควรรู้ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ จะมีวัสดุปูพื้นประเภทไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปชมกันได้เลยครับ...

พื้นลามิเนต

ช่วงราคาอยู่ที่ : 390-2,000 บาท/ตรม.

ช่วงราคาของพื้นไม้ลามิเนตจะแบ่งออกตามเกรดของพื้นไม้ ดังนั้น ราคาจะมีตั้งแต่แบบถูกคือหลักร้อย ไปจนถึงราคาแพงคือหลักพันต่อตารางเมตรเลยทีเดียว

Raw Material วัตถุดิบ และส่วนประกอบหลัก

  • ชั้นที่ 1. Overla/Wear Layer ส่วนของชั้นฟิล์ม หรือชั้นเคลือบผิว
  • ชั้นที่ 2. Decorative Paper หรือ Decorative Film วัสดุพิมพ์ลายไม้ที่ปิดทับด้านบนของพื้นไม้ลามิเนต
  • ชั้นที่ 3. Core Board ส่วนแกนของแผ่นไม้ลามิเนตที่ทำให้แผ่่นลามิเนตแข็งแรง เช่น ไม้อัด HDF 
  • ชั้นที่ 4. Backing or Stabilizing Film อยู่ใต้ชั้นแกนหลัก มักใช้วัสดุเป็นแผ่นรองไฟเบอร์กลาส ส่วนนี้ช่วยป้องกันความชื้น

ข้อดีของพื้นไม้ลามิเนต

  • มีผิวสัมผัสที่สวยงามให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับไม้จริง
  • สามารถเลือกสี หรือลายไม้ตามแบบที่เราต้องการได้
  • มีความทนทานต่อการรับน้ำหนัก และแรงกระแทกขีดข่วน 
  • มีน้ำหนักเบา
  • ติดตั้ง หรือ เปลี่ยนแผ่นแบบเฉพาะจุดโดยไม่ต้องรื้อใหม่ทั้งหมดเวลาเเผ่นใดแผ่นนึงเกิดความเสียหาย ซึ่งทำได้ง่ายรวดเร็วด้วยระบบกลไกการล๊อกที่เชื่อมต่อระหว่างแผ่นไม้ หรือที่เรียกว่า Click Lock
  • สามารถปูทับ พื้นกระเบื้อง เซรามิค ได้เลย

ข้อเสียของพื้นไม้ลามิเนต

  • ไม่ทนน้ำ และความชื้นสูง ถ้าหากโดนน้ำขังนานเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้เกิดการพองบวม และบิดตัว
  • มีโอกาสโดนปลวกกินถ้าเลือกใช้เกรดไม่ดี
  • มักจะเกิดความเสียหายเวลาที่รับน้ำหนักวัตถุที่มีลักษณะเป็นเดือยแหลมคม เช่น ส้นของรองเท้าส้นแหลม เป็นต้น
  • ไม่สามารถทำความสะอาดด้วยการใช้แว๊กซ์ น้ำยาขัดเงา หรือ น้ำยาที่มีส่วนผสมของสบู่ เพราะจะทำให้พื้นลามิเนตเกิดความเสียหายได้

พื้นกระเบื้องยาง​ (Rubber Tile Flooring)

 

ช่วงราคาอยู่ที่ : 165-1500 บาท/ตรม.

ช่วงราคาของวัสดุปูพื้นอย่างกระเบื้องยางไวนิลจะคล้ายกับพื้นประเภทลามิเนตคือมีตั้งแต่แบบถูกไปจนถึงแพง ขึ้นอยู่กับวัสดุหรือเกรดของพื้นกระเบื้องยาง

Raw Material : วัตถุดิบ และส่วนประกอบหลัก

  • วัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ยางพารา ฯลฯ
  • วัตถุดิบโพลิเมอร์ที่ได้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น สารสังเคราะห์ไวนิล ยางพีวีซี  โพลียูรีเทน ฯลฯ

 

ข้อดีของพื้นกระเบื้องยาง 

  • มีพื้นผิวให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ใช้ภายใน และภายนอกอาคาร
  • ให้การยึดเกาะที่ดี ช่วยลดการลื่น ให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน
  • ทนทานต่อสภาวะอากาศ และสิ่งแวดล้อมปกติ
  • มีความคงทน เหนียว และคงรูปได้ดี
  • มีทนต่อความชื้นได้ดี
  • หมดปัญหาเรื่องปลวก และทำความสะอาดง่าย
  • ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน ไม่เกิดฝุ่น ไม่เสียงดังขณะติดตั้ง
  • กระเบื้องยางที่ใช้ภายในอาคารบางประเภท ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งได้ด้วยตนเอง
  • รอยต่อระหว่างแผ่นสนิท ลดปัญหาความสกปรกของร่องยาแนว ที่มักจะพบได้จากการปูกระเบื้องแบบทั่วๆไป

ข้อเสียของพื้นกระเบื้องยาง 

  • เกิดรอยขีดข่วนง่าย ไม่ทนต่อการลากถูสิ่งของบนพื้นผิว
  • ไม่ทนต่อกรด ด่าง และสารเคมีบางประเภท 
  • ไม่ทนต่อรถเข็นล้อยาง หากใช้ในสถานที่มีรถเข็นที่ใช้ล้อเลื่อนเป็นยางจะทำให้ผิวหน้าเสียหาย ควรเลือกใช้ล้อประเภทพลาสติก หรือ ล้อในล่อน
  • อาจเกิดการยืดหดตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ ถ้าหากเลือกใช้กระเบื้องยางเกรดไม่ดี 
  • อาจเกิดความเสียหายจากความชื้นสูง หรือ โดนน้ำท่วมขัง ถ้าหากเลือกใช้กระเบื้องยางเกรดไม่ดี
  • การติดตั้งทับพื้นกระเบื้องเซรามิค ต้องปรับตรงยาแนวให้เรียบก่อน ถ้าปูทับโดยไม่ปรับระดับยาแนวให้เรียบจะทำให้กระเบื้องยางเป็นลอนคลื่นอย่างชัดเจน

กระเบื้องเซรามิก

ช่วงราคาอยู่ที่ : 320-990 บาท/ตรม.

Raw Material : วัตถุดิบ และส่วนประกอบหลัก

  • วัตถุดิบจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ดิน หิน และแร่ต่างๆ
  • วัตถุดิบประเภทสารช่วยหลอม (Fluxes)  เป็นแร่ที่ประกอบด้วยอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิร์ท
  • วัตถุดิบประเภทตัวเติม (Fillers) : โดยทั่วไปแล้วทรายแก้ว ที่ใช้ในส่วนผสมของเนื้อดิน 
  • ปูนปลาสเตอร์ สารเคลือบ และสีผสมต่าง ๆ 

ข้อดีของกระเบื้องเซรามิก

  • มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนานหลายสิบปี
  • เป็นรอยขีดข่วนยาก
  • ไม่กลัวปลวก ทนต่อความชื้นในสภาพอากาศเขตร้อนชื้น
  • ทนต่อความร้อนสูง ไม่ติดไฟ ไม่มีกลิ่น และไม่นำไฟฟ้า 
  • ติดตั้งได้ง่าย และรวดเร็ว
  • มีลวดลาย และโทนสีให้เลือกอย่างหลากหลาย
  • ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับคุณภาพ และหาซื้อได้ง่าย
  • ผิวสัมผัสมีความเย็น จึงช่วยสร้างสภาวะอากาศที่เย็นสบายภายในอาคาร แม้ด้านนอกอาคารจะร้อนก็ตาม
  • ง่ายต่อการทำความสะอาด

ข้อเสียของกระเบื้องเซรามิก

  • เวลาเปียกน้ำมักจะดูดซึมน้ำสูง และมีความลื่นเสี่ยงเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
  • เมื่อรื้อแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาปูใช้ใหม่ได้
  • ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จะต้องรับน้ำหนักมาก เพราะกระเบื้องเซรามิกอาจปริแตก หรือ ร้าวได้
  • อุณหภูมิของผิวสัมผัสมีความเย็น ไม่เหมาะกับการนำไปใช้งานในห้องของผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้

กระเบื้องแกรนิตโต้ Granito Tile

ช่วงราคาอยู่ที่ : 220-990 บาท/ตรม.

Raw Material : วัตถุดิบ และส่วนประกอบหลัก

  • ผงหินแกรนิตโต้บดที่ได้จากหินแกรนิตธรรมชาติ แล้วนำไปผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง 
  • เคลือบผิวหน้าวัสดุด้วยสารเคลือบผิว เพื่อความเงางามและทำความสะอาดง่าย

ข้อดีของกระเบื้องแกรนิตโต้

  • มีความแข็งแรงสูง 
  • มีสีและแบบให้เลือกหลากหลาย
  • รอยต่อระหว่างแผ่นน้อยกว่ากระเบื้องทั่วไป
  • มีความทนทานต่อการขีดข่วน
  • หากเกิดรอยขีดสามารถขัดสีได้
  • เป็นวัสดุปูพื้นที่การดูดซึมน้ำต่ำมาก
  • รับน้ำหนักได้ดี
  • ทำความสะอาดคราบสกปรกได้ง่าย
  • มีอายุการใช้งานยาวนาน

ข้อเสียของกระเบื้องแกรนิตโต้

  • ค่าปูกระเบื้องแพงมากกว่ากระเบื้องแบบอื่นๆ
  • ปูค่อนข้างยากกว่าแบบอื่นๆ
  • มีโอกาสที่กระเบื้องจะเกิดการยกตัวขึ้นมาจากพื้น จากการปูกระเบื้องชิดกันเกินไป
  • ผิวสัมผัสที่ดูแข็ง และเย็นเท้า 

พรมอัดปูพื้น

ช่วงราคาอยู่ที่ : 380-900 บาท/ตรม.

Raw Material : วัตถุดิบ และส่วนประกอบหลัก

แบ่งตามประเภทของพรมได้ดังต่อไปนี้

  • พรมอัดเรียบ (Needle punched) ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการอัดเส้นใยสังเคราะห์ออกมาเป็นแผ่น
  • พรมอัดลูกฟูก ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์โพลิโพรพิลีน (Polypropylene หรือ PP) และโพลิเอสเตอร์ (Polyester หรือ Pet) 
  • พรมดักฝุ่น มักผลิตจากพีวีซี เน้นการใช้งานเพื่อช่วยดักฝุ่นกรวดทรายก่อนเข้าบ้าน 
  • พรมทอมือ เช่น พรมขนสัตว์ทอมือ พรมอะครีลิกทอมือ

ข้อดีของพรมปูพื้น

  • ความสวยงามของลวดหลาย และสร้างบรรยากาศที่ดีในงานตกแต่ง
  • เดินแล้วสบายเท้า เหมาะสำหรับพื้นที่ที่อากาศหนาว
  • เป็นวัสดุปูพื้นที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน ช่วยลดอุบัติเหตุ
  • ป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี 

ข้อเสียของพรมปูพื้น

  • เสียหายง่าย ไม่ทนทาน
  • ทำความสะอาดยาก โดยเฉพาะเมื่อเลอะคราบต่างๆ
  • พรมบางรุ่นค่อนข้างเป็นแหล่งสะสมฝุ่นและเชื้อรา
  • พรมคุณภาพดีมักมีราคาสูง
  • ไม่เหมาะกับบ้านที่เลี้ยงสัตว์ เพราะอาจจะทำให้ขนของสัตว์เลี้ยงติด หรือกรณีที่สัตว์เลี้ยงขับถ่ายที่พรม จะทำความสะอาดค่อนข้างยาก

เสื่อน้ำมัน Linoleum

ช่วงราคาอยู่ที่ : 75-399 บาท/ตรม.

Raw Material : วัตถุดิบ และส่วนประกอบหลัก

วัสดุที่ถูกนำมาทำเป็นเสื่อน้ำมันมีหลากหลาย เช่น เสื่อน้ำมันหรือยางพารา เสื่อน้ำมันโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) 

ประเภทของเสื่อน้ำมันแบ่งได้ 5 แบบคือ

  • แบบที่ 1 เสื่อบางไม่เคลือบใส มีแค่ 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นล่างกับชั้นพื้นพิมพ์ ผิวสัมผัสมัน
  • แบบที่ 2 เสื่อบาง นิยมใช้ในงานปูโต๊ะหรือปูพื้นชั่วคราว ผิวสัมผัสมัน
  • แบบที่ 3 เสื่อกลาง นิยมใช้ปูพื้น ผิวสัมผัสมัน
  • แบบที่ 4 เสื่อหนาผิวทราย นิยมใช้ปูพื้น ผิวสัมผัสหยาบคล้ายผิวทราย
  • แบบที่ 5 เสื่อคลาสสิก เกรดที่ดีที่สุดของเสื่อน้ำมัน มีความหนาและทนทาน ผิวสัมผัสเป็นเม็ดๆ ช่วยกันลื่นได้

 

 

ข้อดีของเสื่อน้ำมัน

  • เป็นวัสดุปูพื้นที่มีราคาถูก
  • ทำความสะอาดได้ง่าย เพราะเสื่อน้ำมันไม่มีร่องยาแนว
  • มีคุณสมบัติที่กันน้ำได้ อีกทั้งยังทนต่อความชื้นได้ดี
  • มีลวดลายให้เลือกหลายแบบ
  • สามาถติดตั้งและรื้อถอนง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง

ข้อเสียของเสื่อน้ำมัน

  • สามารถมองเห็นตะเข็บหรือขอบของเสื่อน้ำมันได้ง่าย อาจจะดูไม่สวยงามนัก
  • เกิดการเปิดหรือขยับได้ง่ายเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
  • เสื่อน้ำมันที่มีคุณภาพต่ำที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำของอากาศในห้องพักสามารถร้าวหรือเปลี่ยนรูปได้
  • เกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย

 

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • Wazzadu.com
  • mpi.co.th
  • thetvmom.com
  • roxyrugs.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ