พื้นที่ตากผ้า-ฟังก์ชันที่นักออกแบบไทยไม่ควรมองข้าม

ในช่วงต้นฤดูฝนอย่างมิถุนายนแบบนี้ ท้องฟ้าครึ้มมาทีไร หลายท่านคงจะกระวนกระวายเรื่องผ้าที่ตากทิ้งไว้ที่คอนโด หรือหลายคนคงจะรู้สึกดีใจที่เก็บผ้าได้ทันไว้ก่อนหน้า กลายเป็นว่าการตากผ้าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันไม่แพ้เรื่องจะกินอะไรหรือนอนเมื่อไหร่ทีเดียว

รูปประกอบจาก lgblogger.com

และด้วยอากาศที่ชวนเหงื่อออกจนเสื้อสกปรกแบบประเทศแบบไทย บวกกับอุณหภูมิแสงแดดที่เอื้อต่อการทำให้ผ้าแห้ง ทำให้การตากผ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นและสามารถทำได้เป็นประจำ จนเป็นหนึ่งวิถีชีวิตคนไทยแทบทุกคน (ในขณะที่ประเทศอากาศเย็นมักจะซักผ้าน้อยกว่าหรือนิยมใช้เครื่องอบแห้งแทนการตากผ้า)

รูปประกอบจาก cdn.pixabay.com

สำหรับสถาปนิกแล้ว เวลาจะออกแบบวางผังทีนึง นอกจากดูตำแหน่งห้องนอนและห้องน้ำ การดูตำแหน่งพื้นที่สำหรับการ ‘ตากผ้า’ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะการวางให้สัมพันธ์กับทิศของแดดตามภูมิประเทศไทยอย่างทิศใต้ ที่แดดสาดส่องถึงโดยทั้งวัน อีกทั้งวางให้ถูกทิศลมฤดูร้อนของประเทศไทยที่มักจะพัดเข้ามาทางทิศใต้เช่นกัน

และแน่นอนว่า ในแต่ละบ้านหรือคอนโดนั้นไม่สามารถเลือกทิศตากผ้าได้ขนาดนั้น ทำให้การตากผ้ามักเหลืออยู่แค่บริเวณริมระเบียง หรือไม่ก็ทำราวยื่นออกมาจากขอบราวกันตก ทำให้เราก็มักจะเห็นเสื้อผ้าที่ถูกตากแขวนโชว์ไว้ตามระเบียงและหน้าบ้านเรือนทั่วเมืองในวันที่แดดดี

รูปประกอบจาก f.ptcdn.info

รูปประกอบจาก be2hand.com

โดยเฉพาะเหล่าอาคารคอนโดมิเนียม ที่เมื่อมีคนเริ่มตากผ้าพร้อมๆ กันตรงระเบียง หน้าตาของอาคารก็มักจะเปลี่ยนไปจนดูแปลกตาจากเดิมเสมอ จนเวลานั่งรถผ่านและเห็นภาพแบบนี้ทีไรก็มักอดคิดไม่ได้ว่า การตากผ้าในช่วงเวลานึงนั้นจะสามารถส่งผลต่อหน้าตาของอาคารได้ขนาดนี้ และผู้ออกแบบมองออกถึงความต้องการฟังก์ชันในการตากผ้าของคนไทยแค่ไหนในพื้นที่แคบๆ

ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยเท่านั้นที่อาคารคอนโดหรืออาคารที่มีพื้นที่น้อยมีการตากผ้าแสดงให้เห็นชัดเจน แต่หลายๆ ในประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีเราจะเห็นการใช้พื้นที่การตากผ้าจากระเบียงแบบนี้เช่นกัน โดยเฉพาะประเทศอย่าง ‘สิงคโปร์’

คนในประเทศสิงคโปร์ตากผ้าด้วยการนำแท่งไม้มาเสียบทะลุแขนเสื้อ แล้วแทงยื่นตากผ้าออกจากระเบียง ว่ากันว่าการตากผ้าแบบนี้มีมาตั้งแต่ปี 1900 ซึ่งเป็นที่นิยมมากๆ กับคนที่อาศัยในโครงการการเคหะของรัฐ แต่ด้วยข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ ของการตากผ้าแบบนี้ อย่างเช่น น้ำจากผ้าหยดลงใส่หัวคนที่อยู่ข้างล่าง มีผ้าปลิวตกสร้างความรำคาญ

แต่การตากผ้าแบบนี้มันดีต่อผู้อาศัยจริงๆ รัฐจึงได้ออกกฎหมายในการออกแบบราวตากผ้าออกมา ให้แข็งแรงและหน้าตาดีกว่าเดิม โดยไม่ได้พยายามจำกัดทิ้ง จนการตากผ้าแบบนี้ได้เป็นนวัตกรรมของการอยู่อาศัยในสิงคโปร์กันเลยทีเดียว

รูปประกอบจาก straitstimes.com

มองกลับมาที่บ้านคนไทยอีกครั้ง ก็จะพบว่าเรามีลักษณะและเงื่อนไขคล้ายๆ กัน และการตากผ้าก็ถือเป็นคาแรคเตอร์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรมในบ้านเรา

แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้แน่ใจว่ามีโครงการใดที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่ตากผ้ามากขึ้นหรือยัง แต่ผู้เขียนมองว่าคงเป็นเรื่องดีที่อาคารสถาปัตยกรรมในบ้านเรา จะได้ถูกออกแบบและคิดผสานไปกับพื้นที่ตากผ้าให้เป็นหนึ่งเดียว และกลายเป็นเอกลักษณ์ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทยนั่นเอง

รูปประกอบจาก www.napa.co.th

ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์
สถาปนิกและนักเขียน มีคอลัมน์ประจำในนิตยสารออนไลน์ The Cloud ชื่อ ‘อาคิเต็ก-เจอ’ ปัจจุบันกำลังทำสตูดิโอสถาปนิกชื่อว่า Everyday Architect & Design Studio สนใจการออกแบบที่สอดคล้องกับงานเขียนของตัวเองที่เรียกว่า Urban Vernacular Design ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
พื้นที่ความเชื่อของบ้านคนไทย

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
เกร็ดฮวงจุ้ย-ไว้คุยแบบบ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ