เหล็กมีกี่ประเภท รวมข้อมูลวัสดุศาสตร์ ประเภทของเหล็กที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม (Types of Steel in Architectural)

ประเภทของเหล็กที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม

เหล็กมีกี่ประเภท...?

เหล็กที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรือ งานก่อสร้างมีกี่ประเภท...?

นี่คือคำถาม หรือ ข้อสงสัยที่ Wazzadu มักจะพบเจอจากผู้ใช้งานอยู่บ่อยครั้ง

โดยทั่วไปแล้วเหล็กที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรือ งานก่อสร้าง แบ่งออกหลักๆได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ เหล็กเสริม (Reinforcing Steel) และ เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) ซึ่งเหล็กแต่ละประเภทจะแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีคุณลักษณะ และวิธีการนำไปใช้งานอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ wazzadu.com ย่อยมาให้แล้ว ตามมาชมกันเลยครับ

 

เหล็กเสริม (Reinforcing Steel)

คือ เหล็กท่ีใช้สาหรับเสริมในเน้ือคอนกรีตเพื่อให้เกิดความแข็งแรงคงทนต่อแรงอัด และแรงดึงได้ดี โดยเหล็กเสริมสามารถ แบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เหล็กเส้นกลม ,เหล็กข้ออ้อย ,เหล็กรีดซ้า ,ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว และลวด เหล็กกล้าแรงดึงสูงสาหรับคอนกรีตอัดแรง 

เหล็กเส้นกลม (Round Bar) 

- เหล็กเส้นกลม (Round Bar) 

หรือท่ีเรียกกันสั้นๆว่า RB คือ เหล็กเส้นท่ีมีพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีลักษณะพื้นผิวท่ีเรียบเกลี้ยงไม่บิดเบี้ยว มีคุณสมบัติท่ีคงทน และสามารถรับแรงได้ดี

เหล็กเส้นกลมจะมีลักษณะคล้ายกับเหล็กเพลาขาว แต่จะต่างกันท่ีเกรดเหล็กของ Billet ท่ีนำมาใช้ผลิต (Billet คือการเอาเหล็กมาหลอม แล้วปรุงน้ำเหล็กด้วยการใส่ธาตุต่างๆ เพื่อให้เป็นเหล็ก เกรดต่างๆ) โดยเกรดของเหล็กเส้นกลมจะใช้เป็น SR24

เหล็กเส้นกลมมักนิยมนำไปใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ,งานก่อ ผนังทั่วไป หรือใช้เป็นเหล็กปลอกในคาน ในเสา สาหรับงาน ก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง

ขนาดของเหล็กเส้นกลมท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีความยาวความยาว 10 เมตร และ 12 เมตร โดยมีขนาดตั้งแต่ 6 mm. 9 mm. ,12 mm. ,15 mm. ,19 mm. และ 25 mm.

เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) 

- เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) 

คือ เหล็กเส้นท่ีมีพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปกลม โดยมีบั้ง และมีครีบท่ีพื้นผิว มีลักษณะเหมือนปล้องขนาดเท่าๆกัน เพื่อเสริมกำลังในการยึดระหว่างเหล็กเส้นกับเน้ือคอนกรีตให้มีความเหนียวแน่นในการยึดเกาะมากยิ่งข้ึน

ตามมาตรฐาน มอก. 24-2548 กำหนดให้เหล็กข้ออ้อยมีชั้นคุณภาพหลายชั้น ประกอบด้วย SD30, SD40 และ SD50 (ตัวอย่าง เช่น SD30 จะหมายถึงเหล็กท่ีต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ากว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร)

เหล็กข้ออ้อยนิยมนำไปใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กท่ีต้องการความแข็งแรงสูงมากเป็นพิเศษ เช่น เขื่อน สะพาน อาคารขนาดใหญ่ หรือตึกระฟ้าท่ีมีความสูงมากๆ

ขนาดของเหล็กข้ออ้อยท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีความยาว 10 เมตร และ 12 เมตร โดยมีขนาดตั้งแต่ 10 mm. 12 mm. ,16 mm. ,20 mm. ,25 mm. ,28 mm. และ 32 mm.

เหล็กรีดซ้ำ (Re-rolled Round Bar)

- เหล็กรีดซ้ำ (Re-rolled Round Bar)

คือ เหล็กเส้นกลมอีกชนิดหน่ึงท่ีมีพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปกลม พื้นผิวอาจไม่เรียบสนิท มีความคงทนแข็งแรง และรับแรงได้ดีในระดับหน่ึง

ตามมาตรฐาน มอก. 211-2527 เหล็กรีดซ้ำมีชั้นคุณภาพเดียว โดยผลิตมาจากเศษเหล็กท่ีได้จากเข็มพืด ,เหล็กแผ่นต่อเรือ ,เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หรือเหล็กท่ีถูกคัดออกระหว่างการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วนำมารีดเป็นเส้นกลมด้วยกรรมวิธีรีดร้อน

สำหรับการนำไปใช้ในงานก่อสร้างจะใช้สัญลักษณ์ SRR 24 ช่ือขนาดใช้สัญลักษณ์ R แล้วตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ

เหล็กรีดซ้ำมักนิยมนำมาใช้กับงานก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่

ขนาดของเหล็กรีดซ้ำท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีความยาว 10 เมตร และ 12 เมตร โดยมีขนาดตั้งแต่ 6 mm. ,8 mm. ,9 mm. ,10 mm. ,12 mm. และ 15 mm.

ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว (Steel Wire Strands)

- ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว (Steel Wire Strands)

คือ ลวดท่ีมีพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปเกลียวทรงกลม ซึ่งเป็นผลมาจากการนำลวดเหล็กคาร์บอนสูงตั้งแต่ 2 เส้นข้ึนไปนำมาตีเกลียวเข้าด้วยกัน โดยเว้นให้มีระยะช่วงเกลียวท่ีสม่ำเสมอ และผ่านกระบวนการคลายความเค้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความเหนียว และความทนทาน ก่อนนำไปม้วน เป็นขดสำหรับจาหน่าย

ลวดเหล็กกล้าตีเกลียวมักนิยมนำไปใช้ทำลวดอาบสังกะสี และตาข่ายสำหรับงานก่อสร้าง ฯลฯ

ขนาดของลวดเหล็กกล้าตีเกลียวท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้ง แต่ 5.5 - 8 mm.

ลวดเหล็กกล้าแรงดึงสูงสำหรับคอนกรีตอัดแรง (Prestress Concrete High Tensile Wire)

- ลวดเหล็กกล้าแรงดึงสูงสำหรับคอนกรีตอัดแรง (Prestress Concrete High Tensile Wire)

คือ ลวดท่ีมีพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปเกลียวทรงกลม เป็นวัสดุท่ีใช้สำหรับเสริมในกระบวนการหล่อคอนกรีตอัดแรงท่ีต้องการความทนทานต่อการรับน้ำหนัก รับแรงอัด และแรงดึงมากเป็นพิเศษ ซึ่งการเลือกขนาดความหนาจะข้ึนอยู่กับความเหมาะสมของรูปแบบชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นๆ จากนั้นจะทำการดึงตัวลวด เพื่อให้ได้กำลังอัดตามท่ีกำหนด แล้วฝังลง หรือสอดไว้ในเน้ือของคอนกรีตในลักษณะท่ีทำให้ลวดเหล็กกล้าแรงดึงสูง และคอนกรีตร่วมกันต้านทานต่อแรงกระทำต่างๆท่ีเกิดข้ึนกับคอนกรีตได้

โดยปกติแล้วคอนกรีตมีคุณสมบัติในการรับแรงอัดได้สูง แต่จะเปราะบาง และอ่อนแอต่อการรับแรงดึง ดังนั้นในการนำเอาลวดเหล็กกล้าแรงดึงสูงท่ีมีคุณสมบัติในการรับแรงดึงได้สูงมาใช้ร่วมกันกับคอนกรีต จะทำให้วัสดุทั้งสองชนิดมีค่าสัมประสิทธิ์ในการยึดหดตัวเท่าๆกัน จึงเหมาะต่อการนำเอามาออกแบบก่อสร้างเพื่อให้ได้โครงสร้างท่ีแข็งแรงมากขึ้น นอกจากน้ียังช่วยลดขนาดของเสา หรือคานลงได้ โดยไม่ทำให้ความแข็งแรงลดลงแต่อย่างใด

ลวดเหล็กกล้าแรงดึงสูงท่ีใช้สำหรับเสริมในกระบวนการหล่อคอนกรีตอัดแรง มักนิยมใช้ในงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น พื้นช่วงพาดยาว ,การผลิตเสาเข็ม ,เสาไฟฟ้า ,คานพื้นสำเร็จรูปขนาดใหญ่ หรือโครงสร้าง และชิ้นส่วนคอนกรีตอัดแรงแบบต่างๆท่ีต้องหล่อข้ึนแบบพิเศษตามลักษณะการออกแบบ เช่น ชิ้นส่วนสะพาน หรือ ทางวิ่งรถไฟแบบยกระดับ ฯลฯ

เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) คือ

คือ เหล็กที่ผลิตออกมาเพื่อให้มีหน้าตัด และรูปทรงลักษณะต่างๆ ให้ตอบโจทย์กับการนำไปใช้ในงานโครงสร้าง โดยแบ่งการรูปแบบผลิตออกเป็น 2 แบบได้แก่ เหล็กรูปพรรณรีดร้อน และเหล็กรูปพรรณรีดเย็น 

 

เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot Rolled Structural Steel)

คือ การผลิตเหล็กท่ีเริ่มจากการหลอมเศษเหล็กด้วยเตาไฟฟ้าท่ีอุณหภูมิ 1,600 °C เพื่อผลิตน้ำเหล็กให้ได้ตามส่วนผสมทางเคมีท่ีต้องการ จากนั้นน้ำเหล็กจะถูกทำให้แข็งตัวโดยผ่านกระบวนการหล่อแบบต่อเนื่องเพื่อหล่อให้เป็นเหล็กแผ่นหนา และจะถูกตัดด้วยเครื่องตัดเพื่อให้ได้ขนาดท่ีเหมาะสมก่อนท่ีจะนำเข้าเตาอบ เพื่อให้ความร้อนสาหรับกระบวนการรีดเหล็ก

เมื่อผ่านกระบวนการอบเพื่อให้ความร้อนเหล็กจะถูกรีดในขั้นตอนแรกด้วยอุณหภูมิสูงไม่น้อยกว่า 1,200 °C เพื่อให้มีหน้าตัด และรูปทรงตามท่ีต้องการ ซึ่งในการรีดเหล็กในขณะท่ีมีอุณหภูมิสูงเช่นน้ีเป็นกรรมวิธีท่ีให้ความร้อนแก่เหล็ก และทำให้เหล็กเย็นตัวลงเป็นลำดับเพื่อลดความเครียดในเน้ือเหล็ก และทำให้ผลึกเหล็กมีความละเอียดมากข้ึน ซึ่งส่งผลทำให้เหล็กมีกำลัง และความเหนียวสูงข้ึนเพื่อตอบโจทย์การนำไปออกแบบใช้งานได้หลากหลาย

ในระหว่างกระบวนการรีดเหล็กจะมีการขจัดสนิมด้วยการพ่นน้ำแรงดันสูงไปท่ีพื้นผิวเหล็ก เมื่อขจัดสนิมแล้วเสร็จ เหล็กจะผ่านการรีดในขั้นตอนสุดท้ายด้วยอุณหภูมิท่ีลดต่ำลงเหลือเพียง 870 °C เท่านั้น จากนั้นเหล็กจะถูกทำให้เย็นลงอีกครั้งโดยการผ่านน้ำหล่อเย็น จากนั้นนำเหล็กท่ีผ่านกระบวนการรีด และได้รูปทรงตามมาตรฐานที่ต้องการแล้ว จะนำมาตัดด้วยเครื่องตัดตรง เพื่อให้ ได้ความยาวตามท่ีต้องการ ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ความยาวมาตรฐานอยู่ท่ี 6 เมตร เพื่อง่ายต่อการเก็บรักษา และการขนย้าย

 

ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง และงานสถาปัตยกรรมประกอบด้วย

ประกอบด้วย เหล็กไอบีม (I-Beam) ,เหล็กเอชบีม (H-Beam) ,เหล็กฉาก (Angle Bar) ,เหล็กสี่เหลี่ยมตัน (Square Bars) และเหล็กรางน้ำ (Channel) 

เหล็กไอบีม (I-Beam)

- เหล็กไอบีม (I-Beam)

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางคล้ายกับอักษรรูปตัว I ประกอบด้วยปีกบนปีกล่าง (Flanges) และแกนตรงกลาง หรือท่ีเรียกว่าเอว (Web) ซึ่งจะมีขนาดความกว้างมากกว่าปีกบน และปีกล่างอย่างเด่นชัด

ในขณะท่ีปีกบน และปีกล่าง (Flanges) ของเหล็กไอบีมจะมีลักษณะความลาดเอียงเข้าสู่แกนกลาง หรือเอว (Web) โดยความหนาของปีกใกล้แกนกลางจะหนากว่าส่วนปลาย และส่วนปลายจะมีความโค้งมน

ด้วยลักษณะทางกายภาพท่ีเป็นเช่นน้ีจึงส่งผลให้เหล็กไอบีมมีหน้าตัดความหนามากกว่าเหล็กชนิดอื่น นอกจากน้ียังมีกำลังในการรับแรงกด รับน้ำหนัก และรับแรงกระแทกได้ดี อีกทั้งยังต้านทานการดัดโค้ง และการบิดได้ดีอีกด้วย

เหล็กไอบีมนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม และ อุตสาหกรรมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง เช่น เสาส่ง ไฟฟ้า ,เสา ,คาน หรือ รางเลื่อนของเครนในโรงงานอุตสาหกรรม

ขนาดของเหล็กไอบีมท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 150×75 mm. ,200×100 mm. ,200×150 mm. ,250×125 mm. และ 300×150 mm.

เหล็กเอชบีม (H-Beam) 

- เหล็กเอชบีม (H-Beam) 

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางคล้ายอักษรรูปตัว H โดยปีกบน และปีกล่าง (Flanges) ท่ีเป็นขาตัวเอชจะมีลักษณะเป็นแผ่นตรง มีพื้นผิวราบเรียบสม่ำเสมอแต่จะมีความหนามากกว่าแกนตรงกลาง หรือท่ีเรียกว่าเอว (web) เล็กน้อย

ในด้านมิติความกว้างทั้งปีกบนปีกล่าง (Flanges) และแกนกลาง หรือเอว (web) จะมีขนาดความกว้างท่ีเท่ากัน

ด้วยลักษณะทางกายภาพของหน้าตัดท่ีเป็นเช่นน้ีจึงส่งผลให้เหล็กเอชบีมสามารถรับแรง และโมเม้นท์ได้ดี อีกทั้งยังต้านทานการดัดโค้ง และการบิดได้ดีอีกด้วย

เหล็กเอชบีมนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม เช่น เสา ,คาน ,ตงพื้น ,ส่วนประกอบโครงถัก ,โครงสร้างหลังคาขนาดใหญ่ หรือ โครงสร้างแบบพิเศษ เป็นต้น

ขนาดของเหล็กเอชบีมท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 100×100 mm. ,125×125 mm. ,150×150 mm. ,175×175 mm. ,200×200 mm. ,250×250 mm. และ 300×300 mm.

เหล็กฉาก (Angle Bars

- เหล็กฉาก (Angle Bars) 

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปฉาก หรืออักษรรูปตัว L ท่ีมีขาเท่ากัน 2 ด้าน มีอีกชื่อว่า L- shaped cross-section เป็นเหล็กท่ีมีพื้นผิวเรียบ มีมิติมุมฉากด้านนอก 90 องศา ไม่มนแต่มุมฉากด้านในจะมีความมน ถือเป็นเหล็กท่ีมีคุณสมบัติยืดหยุ่นในการรับแรงดึง แรงบิดท่ีเกิดจากลม และแรงเฉือนจากแผ่นดินไหวได้ดี

เหล็กฉากนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างทางวิศวกรรม เช่น เสาส่งสัญญาณต่างๆ ในด้านโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ส่วนมากจะใช้เป็นตัวจบในโครงสร้างอาคาร ,งานโครงสร้าง หลังคา ,คานตัวริม และตัวจบในงานตกแต่งเพื่อความสวยงาม

ขนาดของเหล็กฉากท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 25×25 mm. ,30×30 mm. ,50×50 mm. ,60×60 mm. ,75×75 mm. ,100×100 mm. ,120×120 mm. ,150×150 mm. และ 200×200 mm.

เหล็กสี่เหลี่ยมตัน (Square Bars)

- เหล็กสี่เหลี่ยมตัน (Square Bars)

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตันทั้งเส้น มีพื้นผิวเรียบสม่ำเสมอขอบคมไร้รอยต่อ ข้ึนรูปด้วยการรีดด้วยความร้อนอย่างต่อเนื่องทั้งเส้นจึงทำให้ไร้รอยต่อ มีความแข็งแรงทนทาน และทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

เหล็กสี่เหลี่ยมตันนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก และงานตกแต่ง เช่น เฟอร์นิเจอร์ ,เหล็กดัดประตู-หน้าต่าง ,เหล็กดัดกันขโมย ,รั้ว ,ระเบียงกันตก เป็นต้น

ขนาดของเหล็กสี่เหลี่ยมตันท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 9 mm. 10 mm. ,12 mm. ,16 mm. ,19 mm. ,25 mm. ,32 mm. ,38 mm. ,50 mm. ,65 mm. และ 75 mm

เหล็กรางน้ำ (Channel)

- เหล็กรางน้ำ (Channel)

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางคล้ายอักษรรูปตัว U โดยจะมีปีก (Flange) อยู่ท่ีด้านบน และล่างเพียงข้างใดข้างหน่ึงเท่านั้น โดยจุดศูนย์กลางในการรับแรงจะไม่ได้อยู่ท่ีจุดตรงกลางเหมือนเหล็กท่ีมีหน้าตัดสมมาตร จึงทำให้เหล็กรางน้ำมีความเฉพาะตัวในการใช้งานท่ีต่างออกไป ซึ่งไม่เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดใหญ่แบบเหล็กเอชบีม หรือไอบีม

เหล็กรางน้ำนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็ก และใช้เป็นตัวจบในงานตกแต่งเพื่อความสวยงาม เช่น โครงสร้างบันได ,โครงแปหลังคา ,คานขอบด้านนอก หรือ ช่องงานระบบท่ีสามารถใช้เดินงานระบบไว้ด้านในช่องว่างในหน้าตัดเหล็กรางน้ำได้ จึงทำให้อาคารดูเรียบร้อยสวยงาม

ขนาดของเหล็กรางน้ำท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 50×25 mm. ,100×50 mm. ,150×75 mm. ,200×80 mm. ,250×90 mm. ,300×90 mm. และ 380×100 mm.

เหล็กรูปพรรณรีดเย็น (Cold Formed Structural Steel)

คือ เหล็กท่ีผลิตโดยการข้ึนรูปจากวัตถุดิบเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หรือเหล็กแผ่นชุบสังกะสีท่ีมีอุณหภูมิปกติ เหล็กแผ่นจะถูกทำให้เคลื่อนตัวผ่านเครื่องกำจัดสนิมเหล็กเพื่อให้สนิมท่ีผิวแตก และง่ายต่อการกัดกรดเหล็กแผ่นท่ีผ่านการกัดกรดขจัดสนิมแล้วจะมีสีขาวเทา ซึ่งจะผ่านเครื่องตัดขอบเพื่อให้ขอบเรียบ และลดการฉีกขาดจากขอบของเหล็ก เมื่อทำการรีดลดขนาดปริมาณมาก เหล็กท่ีผ่านการตัดขอบแล้วจะถูกนำไปรีดเย็นต่อเพื่อลดขนาดความหนาลง โดยการรีดเย็นจะทำท่ีอุณหภูมิห้อง (แตกต่างจากเหล็กแผ่นรีดร้อนท่ีจะรีดเหล็กด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 870 °C)

และอาจมีการอบด้วยความร้อนอีกครั้งเพื่อให้เน้ือเหล็กคลายความเครียดลง เหล็กท่ีผ่านการอบแล้วจะผ่านการรีดเย็นอีกเล็กน้อย โดยความหนาแทบไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อปรับความเรียบ คุณภาพผิว และขจัดการยืดตัว ณ.จุดคลาก ซึ่งจะช่วยให้เหล็กแผ่นแปรรูปได้อย่างสม่ำเสมอยิ่งข้ึน

จากนั้นจะเป็นการแปรรูปโดยการพับแผ่นเหล็กให้มีหน้าตัด และรูปทรงตามท่ีต้องการ ซึ่งการนำเหล็กแผ่นมาพับหรือม้วนนั้นจะต้องมีการเช่ือมเหล็กเข้าด้วยกัน และต้องมีการตรวจสอบรอยเช่ือมดังกล่าว จัดเป็นกรรมวิธีท่ีทำให้เกิด Strain-Hardening ในเหล็ก และทำให้เหล็กมีกำลัง และความแข็งของผิวต่อการกดสูงข้ึนมากกว่าเหล็กรูปพรรณรีดร้อน แต่จะมีผลทำให้ความเหนียวของเหล็กลดลง

 

ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณรีดเย็นที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง และงานสถาปัตยกรรมประกอบด้วย

ประกอบด้วยเหล็กท่อกลมดำ (Carbon Steel Tubes) ,เหล็กตัวซี (Light Lip Channel) ,ท่อเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Steel Pipes) , เหล็กกล่องเหลี่ยม เหล็กกล่องแบน (Carbon Steel Tube & Rectangular Steel Tube) และ เหล็กฉากพับ (Cold Formed Channel)

***หมายเหตุ
เหล็กรูปพรรณรีดเย็นบางประเภทดังท่ีกล่าวไปในข้างต้น ก็สามารถผลิตด้วยกระบวนการรีดร้อนได้เช่นกัน

เหล็กท่อกลมดำ (Carbon Steel Tubes)

- เหล็กท่อกลมดำ (Carbon Steel Tubes)

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปกลม เป็นท่อเหล็กท่ีมีน้ำหนักเบาตะเข็บเรียบ มีความแข็งแรงทนทาน และมีความสามารถในการรับแรงดันได้สูง

เหล็กชนิดน้ีผลิตข้ึนจากเหล็กกล้าแผ่นคุณภาพสูง โดยเริ่มจากการคลี่เหล็กแผ่นม้วนแล้วตัดแบ่งให้ได้ขนาดความกว้างของแผ่นเหล็กใกล้เคียงกับความยาวของเส้นรอบวงท่ีต้องการ จากนั้นจะม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นทรงกระบอกด้วยลูกรีดในอุณหภูมิห้อง

ต่อด้วยการเช่ือมขอบเหล็กแบบความถี่สูง โดยอาศัยความต้านทานไฟฟ้า (Electric Resistance Welding, ERW) เพื่อให้เกิดความร้อนแล้วจึงอัดติดกันพร้อมการปาดเน้ือโลหะท่ีนูนออกมาออกจากพื้นผิวแล้วรีดปรับขนาด และทำให้ท่อตรงข้ึน จากนั้นจึงตัดตามความยาวท่ีต้องการ

ท่อเหล็กดำนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม เช่น เสาขนาดใหญ่ ,ส่วนประกอบโครงถัก ,โครงสร้างหลังคาขนาดใหญ่ รวมไปถึงงานระบบอาคารบางส่วน เช่น ท่องานระบบดับเพลิง ท่อระบบน้ำหล่อเย็น เป็นต้น

ขนาดของท่อเหล็กดำท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 25 mm. 40 mm. ,50 mm. ,65 mm. ,80 mm. ,90 mm. ,100 mm. ,125 mm. ,150 mm. และ 200 mm.

ท่อเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Steel Pipes) 

- ท่อเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Steel Pipes) 

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีช่ือเรียกอีกอย่างว่าแป๊บน้ำ หรือแป๊บประปา เป็นท่อท่ีทำมาจากเหล็กกล้าแผ่นคล้ายกับท่อเหล็กดำแต่จะถูกนำไปชุบกัลป์วาไนซ์ หรือชุบสังกะสีเคลือบพื้นผิวเหล็กอีกชั้น ถือเป็นท่อเหล็กท่ีมีคุณสมบัติแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรงกระแทก ไม่หักงอ ทนทานต่อการกัดกร่อนของสนิม ทนต่อความดัน และอุณหภูมิสูงได้

ท่อเหล็กอาบสังกะสี มีทั้งแบบปลายเกลียวคาดเหลือง, คาดน้ำเงิน และปลายเรียบคาดแดง

ท่อเหล็กอาบสังกะสีนิยมนำไปใช้ในงานระบบอาคารเป็นส่วน ใหญ่ เช่น งานท่อระบบส่งน้ำประปา ,งานท่อดับเพลิง ,งานท่อสุขาภิบาล และงานท่อสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น

ขนาดของท่อเหล็กอาบสังกะสีท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 15 mm. ,20 mm. ,25 mm. ,32 mm. ,40 mm. ,50 mm. ,65 mm. ,80 mm. ,100 mm. ,125 mm. และ 150 mm.

เหล็กตัวซี (Light Lip Channel)

- เหล็กตัวซี (Light Lip Channel)

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางคล้ายอักษรรูปตัว C เป็นเหล็กท่ีมีคุณสมบัติแข็งแรง คงทนต่อการกัดกร่อน มีน้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นสูงในการนำไปใช้งาน โดยเฉพาะงานโครงสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง แต่ไม่เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ท่ีต้องรับน้ำหนักมากๆ

เหล็กตัวซีนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง เช่น โครง Facade ,โครงสร้างป้าย โฆษณา ,ตงพื้น ,โครงสร้างบันได ,ส่วนประกอบโครงถัก ,แปหลังคา และงานโครงสร้างหลังคาในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

ขนาดของเหล็กตัวซีท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีความยาวมาตรฐาน 6 เมตร และมีขนาดตั้งแต่ 75x45x15 mm. ,100x50x20 mm. ,125x50x20 mm. และ 150x65x20 mm.

เหล็กกล่องเหลี่ยม และเหล็กกล่องแบน (Carbon Steel Tube & Rectangular Steel Tube)

- เหล็กกล่องเหลี่ยม และเหล็กกล่องแบน (Carbon Steel Tube & Rectangular Steel Tube)

เหล็กกล่องเหลี่ยม คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสข้างในกลวง มีมิติเป็นมุมฉาก 90 องศา ไม่มน พื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติท่ีแข็งแรงทนทาน และมีน้ำหนักเบา นิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง เช่น เสา,นั่งร้าน หรือ งานเฟอร์นิเจอร์เหล็กแบบบิวท์อิน เป็นต้น

ขนาดท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 25×25 mm. ,38×38 mm. ,50×50 mm. ,75×75 mm. ,90×90 mm. ,100×100 mm. ,125×125 mm. ,150×150 mm. ,200×200 mm. และ 250×250 mm.

เหล็กกล่องแบน คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าข้างในกลวง พื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติท่ีแข็งแรงทนทาน และมีน้ำหนักเบา นิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็ก เช่น เสา ,นั่งร้าน ,ประตู ,หน้าต่าง ,วงกบ ,โครงผนังเบา หรือแปพื้น-หลังคาขนาดเล็ก เป็นต้น

ขนาดท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ 50×25 mm. ,60×30 mm. ,75×45 mm. ,90×45 mm. ,100×50 mm. ,125×50 mm. ,150×50 mm. ,150×100 mm. และ 200×100 mm.

เหล็กฉากพับ (Cold Formed Channel)

- เหล็กฉากพับ (Cold Formed Channel)

คือ เหล็กท่ีมีลักษณะพื้นท่ีภาคตัดขวางคล้ายอักษรรูปตัว L มีพื้นผิวเรียบเหมือนกับเหล็กฉากปกติ (Angle Bar) แต่จะต่างกันตรงท่ีเหล็กฉากพับจะมีความโค้งมนตรงมุมฉากพับทั้งด้านใน และด้านนอก ถือเป็นเหล็กท่ีมีคุณสมบัติยืดหยุ่นในการรับแรงดึงได้ดี

เหล็กฉากพับนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างขนาดเล็ก และงานตกแต่ง เช่น งานแปหลังคา ,งานโครงเคร่า ,ประตูรั้ว ,งานเฟอร์นิเจอร์เหล็กแบบบิวท์อิน หรือใช้เป็นตัวจบในการตกแต่งเพื่อความสวยงาม เป็นต้น

ขนาดของเหล็กฉากพับท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีความยาวมาตรฐาน 6 เมตร และมีขนาดตั้งแต่ 30×30 mm. ,40×40 mm. ,50×50 mm. และ 60×60 mm.

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆที่น่าสนใจ

อ้างอิงโดย :

https://www.wazzadu.com/page/cotco

www.hbeamconnect.com

http://www.thanasarn.co.th/

http://ebuildthailand.blogspot.com/

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ