กระจกกันเสียง ดีไซน์ได้ ถูกใจตรงคอนเซปต์ สร้างความโดดเด่นให้กับโครงการ Pixcel with Acoustic

ทราบหรือไม่? ว่าการ "กันเสียง" และการ "ดูดซับเสียง" นั้นแตกต่างกัน การกันเสียงคือความสามารถในการกันหรือทำให้เสียงสะท้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิด วัสดุที่มีคุณสมบัติการกันเสียงคือวัสดุที่มีมวลหรือมีความหนาแน่นมาก เช่น กระจก อะลูมิเนียมคอมโพสิต ส่วนการดูดซับเสียงนั้นคือการที่ตัววัสดุดูดกลืนเสียงและไม่ปล่อยให้เสียงนั้นสะท้อนกลับ หรือสะท้อนกลับเพียงเล็กน้อย วัสดุที่มีคุณสมบัติการดูดซับเสียงคือ วัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำหรือมีรูพรุน

ก่อนการเลือกชนิดกระจก มีสิ่งหนึ่งที่ต้องทราบก่อนนั่นคือ ค่า STC ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันในระดับสากล โดยค่า STC จะเป็นตัวบ่งชี้ความเหมาะสมในการป้องกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องกับประเภทพื้นที่การใช้งานแบบใดบ้างนั่นเอง

Sound Transmission Class หรือค่า STC เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบในห้องทดลอง ด้วยการแบ่งห้องว่างออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรกจะเป็นห้องที่มีผนังหนามิดชิดเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก จากนั้นก็จะนำวัสดุที่ต้องการทดสอบ เช่น ประตู แผ่นผนังสำเร็จรูป แผ่นฝ้าเพดาน หรือ กระจก มาติดตั้งขั้นกลางระหว่าง 2 ห้อง จากนั้นจะปล่อยพลังเสียงที่มีความดัง แล้วทำการวัดเสียงแบบแยกความถี่ทั้ง 2 ห้อง เพื่อหาส่วนต่างหรือเรียกว่าค่า Transmission Loss คือ ค่าที่วัสดุที่ทำการทดสอบสามารถป้องกันเสียงได้นั่นเอง

จากนั้นจะนำค่า Transmission Loss หรือ TL ออกมาแยกความถี่ในระดับต่างๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ระว่างความถี่ (Hz) และค่าเดซิเบลที่ได้ จากนั้นจะนำความสัมพันธ์ในระดับต่างๆ ไปคำนวณด้วยกราฟเพื่อหาค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ที่เหมาะสมต่อไป

การนำกระจกกันเสียง (Acoustic Glass)​ ไปใช้ในงานสถาปัตยกรรม

โดยส่วนใหญ่แล้วกระจกกันเสียงจะถูกนำไปติดตั้งเป็นผนัง ประตู หรือ หน้าต่าง เป็นหลัก การนำกระจกกันเสียงไปใช้งาน ค่า STC จะต้องมีความสัมพันธ์เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่การใช้งานแบบต่างๆ ดังนี้

  • STC 30-39 เหมาะกับอาคารที่พักอาศัยทั่วไป
  • STC 40-49 เหมาะกับร้านค้า ร้านอาหาร และอาคารสาธารณะทั่วไป
  • STC 50-59 เหมาะกับห้องประชุม พื้นที่สำนักงาน พิพิธภัณฑ์ หรืออาคารพักอาศัยที่ต้องการความเป็นส่วนตัว 
  • STC 60-69 เหมาะกับห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องอัดเสียงจัดรายการ หรือ สนามบิน
  • STC 70-74 เหมาะสำหรับโรงภาพยนตร์ โรงละคร หรือ concert hall สำหรับจัดงานคอนเสิร์ต
  • STC 75 ขึ้นไป เหมาะกับสถานบันเทิง

กระจกกันเสียง ของ Glassform by TYK มีให้เลือก 3 ประเภทคือ

  • กระจกโฟลต หรือกระจกเทมเปอร์ ยิ่งกระจกมีความหนามากขึ้นก็ยิ่งช่วยกันเสียงได้มากขึ้น โดยเฉพาะเสียงย่านความถี่ต่ำ เช่น เสียงที่เกิดจากแรงกระแทก
  • กระจกลามิเนตอะคูสติก คือกระจกลามิเนตที่ใช้ฟิล์มตรงกลางเป็นฟิล์มอะคูสติก (Acoustic) ทีมีคุณสมบัติพิเศษคือ ช่วยดูดซับเสียงที่มีช่วงความถี่ปานกลาง ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากการจารจร การพูดคุย หรือการเล่นดนตรี   
  • กระจกอินซูเลท (Insulate) ช่วยลดการส่งผ่านของเสียงแต่น้อยกว่ากระจกลามิเนต ช่องว่างตรงกลางนั้นเรามักเข้าใจว่าเป็น สูญญากาศ แต่ความจริงแล้วช่องว่างตรงกลางระหว่างกระจกนั้น มี 2 แบบคือ 1. เป็นอากาศแห้ง 2. เป็นก๊าซเฉื่อย โดยวัตถุประสงค์หลักๆ ของการใส่ก๊าซเฉื่อย ก็เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน

กระจกทั้ง 3 ประเภทนี้สามารถออกแบบให้มีค่า STC ได้ตามที่ทางโครงการกำหนดซึ่งจะเป็นการปรับเปลี่ยนที่ความหนาของกระจก ความหนาของฟิล์ม และช่องว่างระหว่างกระจกนั่นเอง

 

เราสามารถเพิ่มความสวยงามให้กับกระจกทั้ง 3 รูปแบบนี้ได้ด้วยการนำกระจกไปทำลวดลายเป็นรูปกราฟิกต่างๆ หรือพิมพ์เป็นรูปภาพได้ตามต้องการ โดยการนำไฟล์ที่มีความละเอียดสูงมาให้ทาง Glassform พิมพ์ลวดลายลงบนกระจกโฟลต หรือกระจกเทมเปอร์ ก่อนนำไปทำเป็นกระจกลามิเนต หรือกระจกอินซูเลท

เหมาะกับการใช้งานในโครงการหลากหลายประเภท

  • Residential ที่อยู่อาศัย อาคาร บ้านเรือน ที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดเสียงดังต่างๆ 
  • Meeting Room ห้องประชุม โรงเรียน หรือสถานศึกษา
  • Special Needs ห้องซ้อมดนตรี ห้องเก็บเสียง หรือเพื่อการกันเสียงดังจากเครื่องจักร เป็นต้น

โดยปกติกระจกประเภทนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการเพิ่มลวดลายให้กระจกม่ให้คนมองทะลุผ่านและเสียงไม่เล็ดลอดออกจากห้อง และเพื่อความเป็นส่วนตัวและลดเสียงรบกวน ซึ่งสามารถใช้ภายในอาคารหรือจะนำไปใช้เป็นผนังอาคาร ที่ลดเสียงจราจรหรือเสียงดังภายนอกก็ได้

สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้

https://www.wazzadu.com/brand/104/contact

 

สอบถามข้อมูล และติดต่อสั่งซื้อได้ที่เบอร์ ฝ่ายขาย 02-960-2790 ,02-434-9590 -9

  มือถือ 085-111-5238​

Line: @tykgroup ,E-mail: info@glassform.co.th

TYK
Because "I love glass" ที่กลาสฟอร์ม พวกเรารักและให้ความใส่ใจกับกระจกทุกแผ่น เพราะเรามองกระจกเป็นมากกว่าวัสดุตกแต่งทั่วไป เพราะเราเห็นความสวยงามในการสร้างสรรค์ผลงานกระจก และเพราะเราเห็นรอยยิ้มของลูกค้าที่เกิดจากการใช้สินค้าของเรา ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ