เจาะลึกการออกแบบแสงสว่างให้กับศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม) EP.2
30 Minutes with Hundred Years Between
โดย ขวัญพร บุนนาค ( Kwanporn Bunnag)
(ต่อจากตอนที่แล้ว EP.1) ....ในฐานะที่ผู้เขียนเป็น lighting designer ด้วยคนหนึ่งจึงอยากจะเล่าเรื่องและประสบการณ์ในฐานะผู้เข้าชมงานในแต่ละห้องเพื่อนำส่งประสบการณ์ในฐานะผู้ชมนิทรรศการ และนักออกแบบว่าเราได้สัมผัสประสบการณ์ล้ำค่าอะไรจากการเข้าชมงาน Hundred Years Between ซึ่งจะมีเนื้อหา และรูปภาพอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยค่ะ
เริ่มจากแสงของอาคารที่สาดลงบน facade หรือ หน้าตึก สร้างความรู้สึกถึงบรรยากาศที่ลึกลับ น่าค้นหาและเหมือนอาคารนี้อยู่ๆก็ถูกฉายแสงโดดเด่นบนเวทีริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งได้สร้างให้เกิดเป็นประสบการณ์ตื่นตะลึงและประทับใจทันทีที่เดินเลี้ยวจากตรอกซอยเจริญกรุง36 เข้ามา
สิบนาทีที่ชั้นแรก เมื่อเดินห้องแรกที่เข้ามา ทำให้ผู้เขียนอยู่ในกิริยาสงบ นิ่ง ผู้เขียนอดยืนนิ่งๆเพื่อสัมผัสบบรรยากาศที่เหอืนกาลเวลาหยุดนิ่งไม่ได้ ไม่รู้จะเป็นเพราะอยู่ในสายงานออกแบบหรือไม่ก็ตามแต่ที่ผู้เขียนได้สัมผัสถึงคือความตั้งใจและเหมอืนถูกดึงดูดเข้าห้วงเวลาพิเศษห้วงเวลาหนึ่งด้วยการจัดวางแสงที่เฉพาะ เหมาะเจาะและเจาะจง ทั้งหมดทำให้เกิดบรรยากาศการเสพงานที่นุ่วนวล น่าค้นหา ด้วยขอบเงาที่ไล้ภาพแต่ละภาพเหมอืนราวกับจงใจจะให้เราได้สัมผัสภาพตรงหน้าราวกับมองผ่านเลนส์กล้องถ่ายภาพในช่วงเวลานั้นๆ
ด้วยองศาแสงที่แคบจากไฟ Track Light และเน้นวงแสงเหมือนตั้งใจดึงภาพและงานแสดงบนแท่นวางกระจก ราวกับนำส่งเรื่องราวและเชื้อเชิญให้เราได้เข้าไปสัมผัส นับเป็นความแยบยลของผู้ออกแบบที่ตั้งใจกำหนดทิศทางแสงและเงาให้ทอดมาข้างหน้าเหมือนจะไม่จงใจแต่จากผลการออกแบบนี้ ภาพรวมได้สร้างฉากกำแพงด้านหลังให้เป็นพื้นหลัง(Background)และทำให้งานแสดงดูโดดเด่น
อาจจะด้วยข้อจำกัดของสภาพอาคาร และความตั้งใจนำเสนอเรื่องราวพร้อมๆกับสร้างบรรยากาศแสงออกไปภายนอกอาคาร ผู้ออกแบบมีการวางโคมไฟบนกรอบหน้าต่าง และแค่ทำให้เห็นความสว่างแค่เพียงพอมองเห็น พื้นที่ทางเดินนี้และพื้นที่รอบมืดสลัวและทั้งหมดได้สร้างบรรยากาศลึกลับ ทำให้ผู้คนใช้วาจาเพียงเบา
การนำเสนอภาพแขวนอยู่ในแบบที่ให้เราหยุดยืนมอง และเชื้อเชิญให้เราได้เข้าไปสัมผัส ใช้ความมืดจากฉากกำแพงด้านหลังให้เป็นพื้นหลัง(Background)และผลักทำให้งานแสดงดูโดดเด่นด้วยการใช้เทคนิคฉายภาพ มีการวางโคมไฟส่องแสงออกไปตรงๆด้านหน้า และทำให้บรรยากาศรอบๆดูน่าลึกลับแต่ด้วยภาพธรรมชาติภาพเดียวก็ทำให้บรรยากาศทั้งหมดของพื้นที่นั้นผ่อนคลายขึ้นมา
สิบนาทีที่ชั้นสอง บรรยากาศแตกต่างจากชั้นแรก และดูผ่อนคลาย มีความรู้สึกเริ่มเหมอืนเดินอยู่ในบรรยากาศ Art gallery เมื่อเดินห้องแรกที่เข้ามา สัมผัสบรรยากาศเงียบสงบ เบาสบาย เนื้อหางานจัดแสดงถูกจัดวางอย่างตั้งใจ ให้ไม่รีบร้อนที่จะอ่าน ภาพและงานเขียนที่วางให้อ่านในแบบที่ว่าไม่ว่าจะอ่านจากมุมไหนก็สัมผัสเรื่องราวทั้งหมดของบรรยากาศ “ ไกลบ้าน “ (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 5 )
ตามความตั้งใจหรือหนึ่งใน Theme หลักที่อยู่เบื้องหลังของงานจัดแสดงนี้ เทคนิคการออกแบบแสงสว่างแตกต่างจากชั้นล่างด้วยการให้แสงสว่างหลักที่ส่องชิ้นงานมาจากการวางโคมไฟตั้งพื้น มีการวางโคมไฟแสงสีเหลืองเข้มตามมุมเสริมบรรยกาศและเน้นสีวัสดุภายในอาคารให้สวยงามขึ้น
ผู้เขียนมีความชอบอย่างเป็นส่วนตัวถึงผลกระทบหรือ light effect ที่เกิดจากการแสงสะท้อนภายในพื้นที่ที่สร้างบรรยากาศเหมอืนหน้าต่าง และทำให้พื้นที่ดูมีความทันสมัยด้วยแสงและเส้นสายที่แปลกตา
ชั้นนี้ไม่เหมือนกาลเวลาหยุดนิ่งแต่กลับเหมือนร่วมเดินทางไปกับการเดินทางของท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ผู้เขียนได้สัมผัสถึงคือความตั้งใจและเหมอืนถูกดึงดูดเข้าห้วงเวลาพิเศษของการเดินทาง การเลือกองศาแสงกว้างให้แสงที่เฉพาะ เหมาะเจาะและเจาะจงแต่นุ่มนวลบนชิ้นงาน บ่งบอกถึงความไม่ตั้งใจผลักงานให้อ่าน
การวางภาพแต่ละมุมแต่ละภาพและการส่องแสงที่เหมอืนไม่ตั้งใจส่อง แต่แค่พอให้แตะด้วยองศาแสงสปอตไลท์ที่คมในบางภาพ ทำให้เหมอืนเราถูกชี้นำให้เห็นภาพแบบไม่ตั้งใจ แต่ตั้งใจเหมือนเรากำลังนั่งชมภาพที่ละช่วงๆจากงานสะสมชุดพิเศษ
การวางแสงสีส้มเหลืองตามมุมห้องด้วยโคมตั้งพื้นสร้างบรรยากาศเหมอืนห้องนั่งเล่นในบ้านหลังใหญ่ ได้ความรู้สึกอบอุ่นของพื้นที่โดยรวม ทั้งหมดทำให้เกิดบรรยากาศการเสพงานที่นุ่วนวล และสบายใจจนสิบนาทีที่ชั้นนี้หมดอย่างรวดเร็ว
สิบนาทีที่ชั้นสาม บรรยากาศเริ่มหยุดนิ่งสงบอีกครั้ง แต่ที่แตกต่างคือบรรยากาศแสงและโดยรวมดูเป็นทางการขึ้น อาจจะเพราะการใช้งานเดิมของห้องที่เคยใช้เป็นห้องรับรอง ห้องเต้นรำทำให้ทีมผู้จัดการแสดงแสดงบรรยากาศ Art gallery ลดเบาลง
ที่ยังคงสัมผัสได้อย่างต่อเนื่องคือความตั้งใจในการนำเสนอความสำคัญของชิ้นงานที่ถูกจัดวาง การใช้แสงที่เน้นแสงสีขาว ทำให้เข้ากับห้องที่เป็นโทนสีเย็น แต่ห้องกลับอบอุ่นและสวยงามด้วยความตั้งใจวางโคมไฟแสงสีส้มไว้ตามหน้าต่าง แสงจากโคมไฟที่ตั้งไว้ไล้ขอบหน้าต่างทรงโค้งที่หนาพอดิบพอดีกับกรอบกำแพงนั้นสร้างความรู้สึกอยากจะชะโงกหน้าออกไปที่หน้าต่าง และสร้างกรอบของspace ของหน้าต่างได้อย่างน่าสนใจ
แสงจากการตั้งโคมไฟจากพื้นและฝ้าเพดาน การให้แสงไปที่ภาพและงานแสดงที่ชั้นนี้ ให้แสงมีลักษณะที่วงแสงไม่กว้างมากและเป็นแสงมุมกว้างแตกต่างจากชั้นแรก ทำให้เกิดบรรยากาศการแสดงที่ผ่อนคลาย ก่อนจะลาจากชั้นนี้ด้วยการหันไปมองวิวของภาพสองภาพที่ตั้งสง่ากลางห้องที่ต้อนรับผู้ชมงานครั้งแรกที่ขึ้นมาชั้นสาม
ราวกับว่าเหมือนการพบกันและจากลากันนับปีได้สิ้นสุดลง เหลือไว้เพียงความคำนึงถึง และสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนได้แรงบันดาลใจตลอดระยะเวลาที่เข้าชมคือ การค้นพบการเดินทางครั้งใหม่ และในอีกหกปีข้างหน้า ศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม) จะได้รับการปรับปรุงแล้วเสร็จ สถาปัตยกรรมแห่งนี้จะกลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ผู้เขียนบทความ