เจาะลึกการออกแบบแสงสว่างให้กับศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม) EP.1

30 Minutes with Hundred Years Between 

โดย ขวัญพร บุนนาค ( Kwanporn Bunnag)

บทความนี้ อาจจะมาช้าเกินไปหลังจากที่ งาน Bangkok Design week 2020 ก็จบลงไปอย่างสง่างามผู้เขียนมีความเสียดายที่ไม่ได้ไปหลายๆสถานที่และก็เป็นความโชคดีที่ได้จองล่วงหน้ากับเวลาการเข้าชมงาน Hundred Years Between ไม่งั้นคงเสียดายและเสียใจไปนานแสนนาน เพราะอาคารนี้กำลังจะได้รับการอนุรักษ์ ปรับปรุง โดยจะแล้วเสร็จในปี พศ 2568

อาคารศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม) เป็นอดีตที่ทำการของกรมศุลกากรที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมี มิสเตอร์ โยอาคิม กรัสซี (Mr.Joachim Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี เป็นผู้ออกแบบ อาคารนี้ได้รับการออกแบบวนรูปแบบนีโอคลาสสิค

อาคารศุลกสถานถูกใช้เป็นที่ทำการภาษีการช้าวและไปรษณีย์ต่างประเทศ เป็นสถานที่เก็บภาษีสินค้าเข้า และเคยได้รับเกียรติเป็นส่วนหนึ่งของงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จนิวัติพระนครหลังจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก กระทั่งปี พ.ศ. 2502 อาคารศุลกสถานถูกนำมาเป็นที่ทำการของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรักก่อนจะปิดตัวลงใน 60 ปีต่อมา

และอาคารศุลกสถานก็ได้กลับมาเป็นที่กล่าวถึงถึงความโดดเด่นสง่างามริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งในงาน  Bangkok Design week 2020 ในฐานะสถานที่จัดแสดงนิทรรศการภายถ่าย Hundred Years Between ของท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ระหว่างวันที่ 1- 9 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา

ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผู้ออกแบบแสง งานนิทรรศการ Hundred Years Between ในครั้งนี้โดยผู้เขียนได้รับเกียรติและมีโอกาสสัมภาษณ์กับผู้ออกแบบแสงสว่างงานงานนี้ คือ คุณ กนกพร นุชแสง (พี่แอน ) Design Director จากบริษัท APLD Co.,Ltd ผู้ซึ่งอยู่ในวงการการออกแบบมากว่า 20 ปีซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่ผู้เขียนเคยได้ร่วมงานด้วยกันในฐานะนักออกแบบแสงสว่างมาหลายงาน

1. การออกแบบแสงสว่างให้กับศุลกสถานมีความพิเศษอย่างไร เมื่อได้รับโจทย์แล้วมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร


สำหรับโจทย์ที่ได้รับในเบื้องต้นคือการให้แสงสว่างสำหรับนิทรรศการภาพถ่าย ซึ่งในวันแรกทราบว่างานจัดที่ศุลกสถาน แต่ในใจตอนนั้นไม่ได้มีความวิตกกังวลอย่างไรเพราะเข้าใจว่าเป็นการให้แสงกับภาพนิทรรศการ จนเมื่อได้มีการkickoff ประชุมงาน ร่วมกันครั้งแรกที่ศุลกสถานพร้อมกับทีมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดคือคุณใหม่ สิริกิตติยา คุณใจทิพย์ ผู้ออกแบบงานนิทรรศการครั้งนี้ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลาย ทั้งทีมที่ดูแลเรื่องการบูรณะและอนุรักษ์ และU City ผู้ที่ดูแลอาคารนี้ต่อในอนาคต จึงเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นเพียงแค่งานนิทรรศการภาพถ่ายธรรมดา

จนได้มีโอกาสได้ฟังเรื่องราวที่คุณใหม่มีความตั้งใจที่จะทำงานนี้ ในวิถีและในวิธีที่คุณใหม่ต้องการที่จะส่งต่อ จึงสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวและเริ่มเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ในการออกแบบเรื่องแสงสว่างต้องเกี่ยวข้องและร้อยเรื่องราวต่ออย่างไรสำหรับงานนี้ เราเริ่มจากการที่จด keywords อะไรบ้างที่ได้ยินจากการเล่าเรื่องราวของคุณใหม่ มีคำอะไรบ้างที่ได้ยินออกมาทั้โดยที่ตั้งใจไม่ตั้งใจ ค่อยๆจดลงให้เหมือนการสร้างcontext lightingของเราว่ามีอะไรบ้างที่เราต้องนึกถึงและไม่ลืมและไม่ออกนอกมากจากสิ่งที่เราต้องการสร้างในงานนี้  หลังจาที่ทางคุณใจทิพย์ได้เริ่มทำชุดแบบภาพรวมและการจัดวางเล่าเรื่องนิทรรศการ เราก็จะเริ่มเห็นภาพกันชัดขึ้นว่าวิธีที่เราจะเริ่มวางเค้าโครงงานออกแบบแสงสว่างจะต้องเริ่มจากอย่างไรบ้าง

อันดับแรกคือค้นหาทีมที่มีความคุ้นเคยในการทำงานร่วมดับเรา มีวิธีคิดสอดคล้องกัน มีความพร้อมเรื่องทีมและอุปกรณ์ หลังจากนั้นร้องถามว่าทีมที่ออฟฟิศมีน้องคนไหนสนใจบ้าง เพราะเชื่อว่าถ้าจะสำเร็จได้เราสมควรจะเริ่มจากความต้องการทำและเป้าหมายเดียวกัน หาอุปกรณ์และทางเลือกในเรื่องอุปกรณ์เพื่อไว้เป็นแนวทางและเริ่มประสานงานเรื่องอุปกรณ์ ของ และระยะเวลา ทำแผนงานระยะเวลาคร่าวๆพร้อมทั้งแจกแจง scope of service ในแต่ละทีม

หลังจากแผนการวางค่อนข้างนิ่ง จึงลงหน้างานเพื่อ surveys ทั้งในเรื่องของ daylight penetration แสงอาทิตย์ แสงช่วงกลางวันที่ส่องมาที่อาคาร ตลอดทั้งวัน เราไม่ได้ถึงกับต้องละเอียดมากขนาดว่าต้องมีความสว่างเข้ามากี่ Lux  (ค่าแสงสว่าง)เพราะเราบอกว่าไม่ได้ทำงานพิพิธภัณฑ์

แต่เราทำในสิ่งที่แตกต่างออกไปคือการสร้างประสบการณ์เชื่อมโยงระหว่างเรื่องราวของคุณใหม่ที่ส่งต่อผ่านช่วงกาลเวลาที่ต่างกันร้อยกว่าปี ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคารที่อายุช่วงเวลาไม่น้อยกว่าเรื่องราวที่เล่าผ่านภาพถ่ายและจดหมายที่คุณใหม่เขียนถึงสมเด็จชวด

ทุกอย่างเป็นเรื่องราวที่อยู่ในกาลเวลาเหมือนกัน เราสังเกตเรื่องแสงแดดเพื่อดูแนวทางในการที่แสงส่องผ่านตัวอาคารในช่วงเว่าตลอดทั้งวันนั้นให้ผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจเราอย่างไรบ้าง เราใช้เวลามนการเอาตัวเองเข้าไปวัดกับอารมณ์กับสถานที่กับเวลา เพื่อสรุปในการจัดแสงช่วงเช้าถึงบ่ายอย่างไรดี เราถึงจะยังได้อารมณ์ที่ต้องสร้างร่วมกับภาพที่อยู่เบื้องหน้าและในบรรยากาศภายในที่ทรงพลังทั่งด้านสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์

เราถึงเริ่มจับวางให้มีการบังแดดในบางหน้าต่าง มืดและสว่าง มีเว้นช่องให้แสงลอดเพื่อส่องให้เห็นผิวอาคารที่ผ่านตามช่วงกาลเวลา เห็นแป้นเกล็ด เห็นลายฉลุ และลูกกรง ทุกอย่างเพื่อให้เห็นว่าอาคารมีช่วงเวลาที่ไม่ต่างกันกับงานนิทรรศการที่ปรากฏอยู่ หลังจากนั้นเราเริ่มศึกษารายละเอียดของภาพถ่าย แนวทางที่คุณใจทิพย์ต้องการให้เรื่องราวได้ถูกจัดวางแบะเรียงร้อยอย่างไร เช่นเดียวกับที่คุณใหม่ให้โจทย์ที่ต้องการให้ชั้นล่างสุดมีประสบการณ์ที่มืดสุด เพื่อให้ผู้ชมได้รวบรวมและมีอารมณ์สะดุดเพื่อเกิดสติในการเข้าชม

เราต้องการให้ภาพดึงดูดด้วยพลังของสิ่งที่ปรากฏอยู่ข้างหน้าโดยธรรมชาติแต่แยบยล ค่อยๆพินิจในการอ่านเรื่องราวแบะในขณะเดียวกันก็ได้ยลอาคารที่มีคุณค่าไปพร้อมๆกัน เมื่อเราขึ้นชั้น2จึงเริ่มสว่างขึ้นแต่ยังต้องการให้เรามีความนิ่งและสติที่จะอยู่กับรายละเอียดที่แท่นบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในการเดินทาง

พร้อมพิจารณาถึงกาลเวลาที่ผันเปลี่ยนได้แตกต่างตลอดทั้งวันผ่านม่านสกรีนด้านหน้า จนถึงชั้น3ที่เราตั้งใจเปิดให้มนุษย์และธรรมชาติแทบจะเป็นสิ่งที่เป็นเนื้อเดียวกัน เคารพ ให้เกียรติ และยำเกรงต่อกัน จึงเป็นห้องที่สว่างที่สุดในห้องภาพถ่าย และหยุดอารมณ์เราอีกครั้งเพื่อชมวีดีโอทัศน์เส่นทางประพาสต้น และได้อ่านจดหมายเพื่อเป็นจุดสรุปของเรื่องราวสำหรับนิทรรศการครั้งนี้ทั้งหมด

2. การออกแบบแสงให้อาคารเก่า แสงมีบทบาทในการทำให้อาคารดูมีชีวิตขึ้นได้อย่างไร


สำหรับอาคารศุลกสถานแห่งนี้อาจจะมีโจทย์ที่แตกต่าง เพราะสิ่งที่เราต้องการส่งต่อคือร่องรอยของอดีตและความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏกับสถานที่แห่งนี้ในยุคอดีต สำหรับเราคือไม่เติม ไม่เสริม ไม่เพิ่ม และไม่เติมจากสิ่งที่เคยปรากฏอยู่ สิ่งนึงที่ทำให้อาคารนี้ดูมีชีวิตชีวาและเป็นธรรมชาติคือเราไม่พยายามยัดเยียดสิ่งที่เกินมากไป ให้เขาปรากฏในวิธีที่เป็นธรรมชาติที่สุด

3. สำหรับภายในอาคาร แสง หรือกระทั่งหลอดไฟดูจะเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการภาพถ่ายไปโดยปริยาย ทางผู้ออกแบบตีความนิทรรศการและใช้ไฟและแสงเพื่อสร้างบรรยากาศพิเศษให้กับสถานที่ และเรื่องราวในนิทรรศการอย่างไรบ้าง


จะเป็นแนวทางเดียวกันกับคำถามแรกว่าหน้าที่ของแสงคือส่องต่อเรื่องราวให้สมบูรณ์ในโจทย์ที่ได้รับมา เราให้แสงโดยรอบเป็นแสงแนวอุ่น ถึงอุ่นมากเพื่อให้เห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาเรามีแสงสว่างเพียงแบบนี้ละที่เราใช้อยู่ คุณใหม่และคุณใจทิพย์ตั้งใจเลือกภาพ โทนสีภาพให้เป็นแนวทางเดียวกันดับผิวของอาคารที่ถลอกและเปรอะเปื้อนไปด้วยโทนสีต่างๆ

เพื่อให้เราเป็นสิ่งนึงที่โอล้อมด้วยอาคารแห่งนี้ เราถึงปรับแสงในการส่องภาพกันในคืนสุดท้ายเพื่อยกมิติของภาพให้ลึกขึ้นโดยผสมสีของแสงทั้งโทนอุ่นและขาวและมุมส่อง น้ำหนักเพียงพอที่จะให้ภาพได้พูดออกมาเอง ส่วนที่เราตั้งใจสร้างให้พิเศษคือชั้นแรกทางเดินขวามือที่กำหนดแสงให้น้อยเพื่อลากประสบการณ์ให้คนเดินเข้ามาด้วยความอยากรู้อยากเห็นและมาเจอภาพที่เป็นธรรมชาติลอยอยู่กลางอากาศโดยเวลากลางวันจะเห็นแสงแดดส่องผ่านมาจากด้านหลังรู้สึกถึงความมีชีวิตชีวา ส่วนกลางคืนก็จะเกิดความรู้สึกเกรงขามต่อธรรมชาติ ตามโจทย์ที่ทางคุณใหม่และคุณใจทิพย์ให้ไว้

สุดท้ายเป็นบันไดเราตั้งใจที่จะสร้างบรรยากาศที่ลึกลับขึ้นมาโดยผสมแสงสีอุ่นและขาวจัดพร้อมทั้งไฟพิเศษที่สร้างแสงเงาที่ขั้นบันได พร้อมมีการเปิด smokeเป็นช่วงๆ ความตั้งใจคืออยากให้คนได้ตั้งสติในการเข้าชมในชั้นถัดไป โดยที่ผู้ชมจะอัตโนมัติที่จะฉุกใจเดินขึ้นบันไดช้าขึ้นทระวังเองมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องมีป้ายบอกให้เดินเบาๆระวังใดๆ และเพื่อให้มิติในการเดินเข้ามาชั้นแรกได้มีจุดในการถ่ายรูปเพิ่มเติมสำหรับตัวอาคาร

4. อยากให้เล่าถึงประสบการณ์ ปัญหาหรือข้อระวังพิเศษในการทำงานกับอาคารเก่า


จะมีเรื่องการเดินสายไฟทั้งหมดที่เราไม่สามารถตอก ยึด ติด หรือเกาะเกี่ยวกับอาคารได้เนื่องจากเป็นอาคารอนุรักษ์ เราต้องsurvey แนวทางในการเดินสายไฟหลักและไปต่อแต่ละห้องอย่างไร สายไฟแบบไหนถึงปลอดภัย เนื่องจากอาคารเก่ามีเรื่องน้ำหนักที่ต้องระวัง พื้นอาคารไม่สม่ำเสมอ ทำให้เราต้องทำโครงสร้างตั้งไฟตามจุดต่างๆและใช้ถุงทรายถ่วงน้ำหนักที่ฐานเพื่อให้โคมทรงตัวและไม่โคลงเคลงเมื่อมีคนเดินไป มา สำหรับไฟที่แขวนใต้คานในชั้นแรก เราใช้การถ่วงน้ำหนักโคมและรางไฟที่ขัดกันไปมาเพื่อให้ราไฟมีความนิ่งมากที่สุดเมื่อเวลาที่มีคนเดินไปมาในชั้นบน

จากคำถามข้อที่4 ในฐานะของ lighting designer อะไรคือสิ่งที่พี่แอนคำนึงเสมอเวลาออกแบบงาน

จะคิดเสมอว่าเวลาที่เราได้รับโจทย์งานมา ต้องพึงระวังในใจให้สม่ำเสมอว่างานนั้นไม่ใช่ lighting showของเราlighting designer เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่พยายามปะติดปะต่อรายละเอียดความงานของสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน สุนทรีย์ภาพของงานสวน บรรยากาศโดยรวมโดยผ่านการเขื่อมโยงเข้าสู่มิติของแสง ที่แสงมีหน้าที่เพียงแค่ส่งต่อบรรยากาศนั้นๆ อารมณ์นั้นๆ ประสบการณ์นั้นๆให้คนได้สัมผัสและโต้ตอบแตกต่างกันออกไป นั่นคือหน้าที่ของพี่นะคะ

5. ในที่สุดแล้วแสงมีความสำคัญอย่างไรกับสถาปัตยกรรม


คิดว่าแสงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถส่งต่อความสวยงามของตัวอาคารในยามที่ต้องการ แต่ในขณะเดียวกันแสงก็ต้องไม่ทำอะไรเกินไปกว่าสิ่งที่สมควรจะเป็น บางงานแสงอาจจะเป็นส่วนสำคัญที่สร้างเรื่องราวอย่างเช่นปัจจุบันที่เราเห็นเทคโนโลยีprojector mappings แต่ในบางครั้งแสงก็เป็นเพียงแค่ยานพาหนะเพื่อส่งต่อเรื่องราวเท่านั้นเองนะคะ หลักๆเรามาจากวิธีคิดประมาณนี้

นี่คือบทสัมภาษณ์ทั้งหมดที่ทางผู้เขียนได้รับความกรุณาจากคุณแอน ผู้ออกแบบแสงสว่างหลักในงานนี้

ในตอนต่อไป EP.2 ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นlighting designer ด้วยคนหนึ่งจึงอยากจะเล่าเรื่องและประสบการณ์ในฐานะผู้เข้าชมงานในแต่ละห้องเพื่อนำส่งประสบการณ์ในฐานะผู้ชมนิทรรศการ และนักออกแบบว่าเราได้สัมผัสประสบการณ์ล้ำค่าอะไรจากการเข้าชมงาน Hundred Years Between ซึ่งจะมีเนื้อหา และรูปภาพอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น อย่าพลาดติดตามชมใน EP.2 กันนะคะ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ