กระจกสำหรับงานตกแต่ง แต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไรและเหมาะสมกับการใช้งานประเภทใดบ้าง
วันนี้ Wazzadu.com จะมาทำความรู้จักกระจกชนิดต่างๆ และความเหมาะสมในการเลือกใช้งาน เพราะปัจจุบันกระจกมีหลากหลายชนิด และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยแบ่งตามการใช้งานหลักๆ ดังนี้...
1. กระจกสำหรับงานตกแต่งภายนอก
2. กระจกสำหรับงานตกแต่งภายใน
3. กระจกชนิดพิเศษ
กระจกสำหรับงานตกแต่งภายนอก
กระจกที่จะนำมาใช้กับงานประเภทนี้โดยพื้นฐานต้องมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ทนทานต่อแรงกระแทก และทนต่อสภาพภูมิอากาศ โดยมีชื่อเรียกแต่ละชนิด ดังนี้...
1. กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)
หรือที่เรียกทั่วไปว่า "กระจกอบ" เป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตก จะมีลักษณะการแตกเป็นเกล็ดเล็กๆ คล้ายเม็ดข้าวโพด และไม่มีคม จึงเกิดอันตรายน้อย ต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคม และเสี่ยงต่อการทำให้เกิดอันตรายมากกว่า นอกจากนี้ กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า
2. กระจกนิรภัยลามิเนต (Laminated Glass)
จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง ลักษณะของกระจกชนิดนี้เมื่อแตก จะเป็นเศษกระจกและยังคงยึดติดกันโดยไม่ร่วงหล่น เพราะมีชั้นฟิล์มที่ยึดเกาะระหว่างแผ่นกระจกเหมือนกับใยแมงมุม โดยเป็นการนำเอากระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safe Glass) หรือกระจกธรรมดา (Annealed Glass / Floated Glass) จำนวน 2 แผ่น หรือมากกว่า นำมาประกบติดกันโดยมีชั้นฟิล์มคั่นกลางระหว่างกระจก จึงเรียกกระจกที่ผ่านกระบวนการผลิตในลักษณะนี้ว่า "กระจกลามิเนต" (Laminated Glass) นั่นเอง
3. กระจกฉนวนอินซูเลท (Insulated Glass)
คือการนำกระจกสองแผ่นมาประกบกันโดยมีกรอบอลูมิเนียมที่ใส่สารดูดความชื้นไว้โดยรอบ ทำให้เกิดช่องอากาศตรงกลาง จากนั้นซีลขอบด้วยซิลิโคน "กระจกอินซูเลทกลาสฟอร์ม" เติมชั้นระหว่างกระจกด้วยก๊าซอาร์กอน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในได้ดีขึ้น เมื่อประกอบกับการเลือกใช้กระจกประหยัดพลังงาน เช่น กระจกสีตัดแสง กระจกรีเฟล็กทีฟ และกระจก Low-e จะช่วยให้ลดความร้อนเข้าสู่อาคารได้อย่างมาก และช่วยประหยัดพลังงาน ตอบรับกับเทรนด์การช่วยลดโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
4. กระจกพิมพ์ลาย (Ceramic Printed)
ผลิตด้วยเครื่องพิมพ์หมึกเซรามิกลงบนแผ่นกระจกโดยตรง จากนั้นนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอร์ เพื่อให้หมึกฝังลงในเนื้อกระจกอย่างคงทนถาวร ทำให้เกิดคุณสมบัติของกระจกเทมเปอร์ไปพร้อมๆ กับความทนทานต่อการขีดข่วนอย่างดีเยี่ยม สามารถใช้งานได้ทั้งแบบแผ่นเดียวหรือลามิเนท และใช้งานภายนอกอาคารได้ทุกรูปแบบ
กระจกสำหรับงานตกแต่งภายใน
กระจกที่จะนำมาใช้กับงานประเภทนี้โดยพื้นฐานจะเน้นไปที่กระบวนการผลิตที่ให้ความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง และการใช้งานที่ไม่ต้องเสี่ยงกับการกระทบหรือกระแทกที่อาจจะทำให้แตกเสียหาย โดยมีชื่อเรียกแต่ละชนิดดังนี้
1. กระจกเคลือบสี (Colorkote Glass)
ผลิตด้วยสีโพลียูรีเทนสูตรพิเศษที่คิดค้นสำหรับกระจกโดยเฉพาะ ให้การยึดเกาะสูง รับประกันคุณภาพยาวนานถึง 20 ปี ได้รับความไว้วางใจจากโครงการชั้นนำกว่า 2,500 โครงการ เหมาะสำหรับการใช้งานทดแทนกระเบื้อง หิน วอลล์เปเปอร์ ผนังอาคาร ผนังครัว ให้คุณสมบัติความมันวาวสดใหม่ตลอดเวลา สามารถเลือกจากเฉดสีมาตรฐาน 67 สี หรือสีสั่งผลิตกว่า 3,000 เฉดสี
2. กระจกลามิเนตสี (Laminated Color)
กระจกลามิเนตสี เกิดจากการนำฟิล์มลามิเนตชนิด PVB ที่มีสีในเนื้อฟิล์ม มาลามิเนตกับกระจก โดยสามารถผสมฟิล์มสีต่างๆ เพื่อสร้างเฉดสีใหม่ๆ ได้นับพันเฉดสี มีคุณสมบัติของกระจกนิรภัยที่ช่วยยึดกระจกให้อยู่ด้วยกันเป็นแผ่นเมื่อแตก ภายใต้มาตรฐาน มอก.1222-2539 เช่นเดียวกับกระจกลามิเนตชนิดฟิล์มใส
3. กระจกลามิเนตผ้า-กระดาษ (Fabic Laminated)
คือการผสมผสานที่ลงตัวของลวดลายผิวสัมผัสของเนื้อผ้าที่หล่อหลอมลงในกระจกลามิเนต กลายเป็นกระจกลามิเนตลายผ้า เพื่อการตกแต่งภายใน เลือกจากลายผ้ามาตรฐาน หรือลายผ้าที่ท่านนำมาเอง มาลามิเนตกับกระจกในชนิดผิวและความหนาต่างๆได้ตามต้องการ
4. กระจกพิมพ์ลายดิจิตอล (Digital Printed)
ตอบโจทย์ทุกความต้องการพิมพ์กระจกสำหรับตกแต่งภายใน ด้วย "ลามิ-พิเซล" เทคโนโลยีการพิมพ์ความละเอียดสูงด้วยหมึกยูวีสูตรเฉพาะสำหรับกระจกให้รายละเอียดเฉดสีครบถ้วน ด้วยเม็ดสีที่อิ่มและสด พร้อมด้วยคุณสมบัติของกระจกลามิเนท ให้อิสระในการเลือกชนิดกระจก ฟิล์ม เฉดสี หรือลวดลายตามจิตนาการไร้ขีดจำกัด
5. กระจกซาติน-ฟรอสโค้ท (Frosted Glass)
กระจกผิวซาติน ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่ากระจกพ่นทรายทั่วไป ด้วยผิวพิเศษที่ป้องกันรอยนิ้วมือและป้องกันการยึดเกาะของคราบสกปรกได้เป็นอย่างดี ทำความสะอาดง่าย กันน้ำเกาะ จึงเหมาะสำหรับงานพาร์ทิชั่น ประตู หน้าต่าง และบานห้องน้ำ สามารถใช้งานได้ทั้งแบบผิวซาตินเต็มแผ่นหรือเลือกพื้นที่ซาตินสลับกับใสเฉพาะส่วนที่ต้องการ
กระจกชนิดพิเศษ
กระจกชนิดพิเศษจะเป็นกระจกที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ค่อนข้างเจาะจงเป็นเอกลักษณ์ โดยมีชื่อเรียกแต่ละชนิดดังนี้
กระจกเปิด-ปิดด้วยไฟฟ้า (Switchable Glass)
คือกระจกเปิดปิดด้วยไฟฟ้าที่เปลี่ยนจากกระจกใสเป็นกระจกทึบ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ด้วยเทคโนโลยีการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในแผ่นกระจก ที่เปลี่ยนการเรียงตัวของโมเลกุลภายในกระจก ทำให้คุณเข้าสู่โลกส่วนตัวได้อย่างง่ายๆ แค่กดสวิตช์ตามต้องการ
กระจกประหยัดพลังงาน (Energy Saving)
มีหลายชนิด เช่น กระจกสีตัดแสง (Tint Glass) กระจกสะท้อนแสง (Reflective Glass) กระจกโลว์อี (Low-E Glass) ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน หากไม่นำเรื่องราคามาใช้พิจารณาในการเลือก กระจก Low-E แบบฉนวนอินซูเลท จะสามารถลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศและลดค่าไฟ จากการเปิดไฟในอาคารได้เป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากราคาที่สูง และต้องมีระบบเฟรมที่รองรับกระจกที่หนาขึ้น จึงไม่เป็นที่นิยมสำหรับบ้านพักอาศัยหรือคอนโด
กระจกลายสนิม (Rust Steel)
ผลงานที่เกิดจากการผุกร่อนผ่านกาลเวลา กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับดีไซน์คอลเลคชันชุดนี้ ที่รวบรวมภาพลาย ‘สนิม’ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนแผ่นกระจก สะท้อน ภาพแห่งการผุกร่อนที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้นอย่างงดงาม ตอบรับเทรนด์การตกแต่งภายในแบบ วินเทจ หรืออินดัสเทรียลได้เป็นอย่างดี รูปแบบลวดลายสนิมชุดนี้ สามารถนำมาปรับแต่งดัดแปลง เลือกพิมพ์ลงบนวัสดุกระจกที่หลากหลาย ให้เข้ากับงานดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างอิสระ โดยสามารถแยกชั้นพิมพ์ลงบนแผ่น กระจกด้านหลัง ชั้นกลาง หรือพิมพ์ลายบางส่วนที่ผิวภายนอกของกระจก เติมแต่งพื้นที่ว่าง ขนาดใหญ่ โดยมีรอยต่อของวัสดุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เพียงเท่านี้การเลือกใช้กระจกก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะเราสามารถแยกตามประเภทของการใช้งานได้อย่างเหมาะสม และกระจกแต่ละชนิดก็มีฟังก์ชั่นที่แตกต่างกัน จึงนำไปใช้เพื่อตอบสนองทั้งด้านการออกแบบและงานตกแต่งอีกมากมายตามความต้องการของสถาปนิก นักออกแบบ เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของโครงการ
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
https://www.wazzadu.com/brand/104/contact
สอบถามข้อมูล และติดต่อสั่งซื้อได้ที่เบอร์ ฝ่ายขาย 02-960-2790 ,02-434-9590 -9
มือถือ 085-111-5238
Line: @tykgroup ,E-mail: info@glassform.co.th
#Wazzadu #tyk #Glassform #Glass #Exterior #Interior #Speciality #Art
#Decorate #Design
ผู้เขียนบทความ