เมื่อความยั่งยืนกับนวัตกรรมมาบรรจบกัน จึงเกิดเป็น "ไม้เทียมสำเร็จรูป RECYCOEX" จาก Maxis Wood
เดิมทีไม้เทียมของ Maxis Wood นั้นใช้พลาสติกเป็นส่วนผสมอยู่แล้ว แต่ได้เปลี่ยนมาใช้พลาสติกรีไซเคิลแทนเพราะเศษพลาสติกเหล่านี้ยังเป็นขยะที่ถูกทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์อีกหลายล้านตัน ถ้าปล่อยไว้เฉยๆ ต้องใช้เวลาเป็นร้อยปีจึงจะย่อยสลาย หรือหากเผาทำลายก็จะก่อให้เกิดมลพิษที่ร้ายแรงทางอากาศ
การตัดสินใจเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาใช้วัสดุรีไซเคิลของไม้เทียม Maxis wood นี้ นอกจากจะช่วยลดปริมาณพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยากลงแล้ว ยังช่วยให้เจ้าของโครงการได้สินค้าที่มีคุณภาพดีกว่าเดิมในราคาที่คุ้มค่ามากขึ้นอีกด้วย
ชื่อของผลิตภัณฑ์ RECYCOEX นั้นมีที่มาคำสองคำ นั่นคือ RECY และ COEX
คำว่า RECY ย่อมาจากคำว่า Recycle เนื่องด้วยการเพิ่มส่วนผสมที่เป็นวัสดุรีไซเคิลลงไปซึ่งเป็นพลาสติกประเภทเบอร์ 2 (HDPE) และเบอร์ 4 (LDPE)* เพราะพลาสติก 2 ประเภทนี้มีความเหนียวและยืดหยุ่นที่เหมาะสมในการนำมาใช้งาน และเป็นพลาสติกประเภทที่ยังไม่นิยมนำไปรีไซเคิลเหมือนพลาสติกประเภทอื่น
ส่วนคำว่า COEX ย่อมาจาก Co-Extrution ซึ่งหมายถึงการรีดขึ้นรูปวัตถุดิบ (Raw Material) 2 ชนิดพร้อมๆ กัน นั่นคือส่วนที่เป็นสีไม้ชั้นนอก และส่วนที่เป็นไส้สีดำด้านใน ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Extrusion ออกมาเป็นชิ้นงานหรือหน้าตัดแบบต่างๆ ตามที่ต้องการ
*อ่านนิยามของพลาสติกประเภทต่างๆ ได้ท้ายบทความ
สาเหตุที่ต้องใช้วัตถุดิบ 2 ชนิดที่แตกต่างกันเนื่องจากการนำพลาสติกรีไซเคิลมาใช้นั้นมีขั้นตอนที่ต้องนำพลาสติกที่มีหลายสีมาหลอมเหลว เมื่อพลาสติกเหล่านี้โดนความร้อนแล้วจะกลายเป็นสีดำ ซึ่งแตกต่างจากการใช้พีวีซีใหม่ที่มีสีขาว ดังนั้นในส่วนของวัสดุด้านในจึงเป็นส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิลกับผงไม้ และผิวด้านนอกคือพีวีซีใหม่สีขาวผสมกับผงไม้ซึ่งสามารถผสมสีให้เป็นโทนตามที่ต้องการได้ และยังสามารถทำเทกซ์เจอร์ลายไม้ได้เหมือนเดิมอีกด้วย
รูป Raw Material จากซ้ายไปขวา
- พลาสติกเหลือใช้ประเภทเบอร์ 2 (HDPE) และเบอร์ 4 (LDPE)
- พลาสติกในข้อแรกที่นำมาปั่นเป็นเศษเล็กๆ
- พลาสติกที่หลอมเหลวแล้วมีสีดำ นำไปอัดและตัดเป็นเม็ดเล็กๆ
- ผงไม้
- พลาสติกที่หลอมเหลวแล้วผสมกับผงไม้ พร้อมสำหรับการนำไปรีดขึ้นรูป
สีมาตรฐานของไม้เทียมรุ่น RECYCOEX มี 6 สีคือ
- Weathered Wood PL226
- Oak PL205
- Red Cedar PL202
- Teak PL210
- Walnut PL216
- Ipe PL238
สามารถสั่งทำสีได้สองสี หน้า-หลัง ในไม้ชิ้นเดียวกันได้
*หมายเหตุ
ปกติพลาสติกที่เราใช้กันอยู่จะมีเลขกำกับ เพื่อบอกว่าพลาสติกนั้นคือชนิดใดโดยแบ่งเป็น 7 ประเภทแยกตามอุณหภูมิการหลอมเหลวของพลาสติกนั้นๆ เนื่องจากพลาสติกที่มีจุดหลอมเหลวแตกต่างกันจะไม่สามารถนำมาหลอมพร้อมกันได้
- เบอร์ 1 คือ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) หรือ เพ็ท (PET หรือ PETE) พบสัญลักษณ์นี้ได้ในขวดบรรจุน้ำดื่ม น้ำมันพืช กลุ่มนี้สามารถรีไซเคิลให้เป็นเส้นใยทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์ในหมอน เป็นต้น
- เบอร์ 2 คือ โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือ เอชดีพีอี (HDPE) พบได้ในขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม นำมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก และไม้เทียม เป็นต้น
- เบอร์ 3 คือ โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือ พีวีซี (PVC) กลุ่มนี้ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม สามารถนำมา รีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปา กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เป็นต้น
- เบอร์ 4 คือ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) หรือ แอลดีพีอี (LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหาร และห่อสิ่งของ สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงหูหิ้ว ถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
- เบอร์ 5 คือ โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ พีพี (PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร ถัง ตะกร้า กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยา เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนในรถยนต์ และไม้กวาดพลาสติก เป็นต้น
- เบอร์ 6 คือ โพลีสไตรีน (Polystyrene) หรือพีเอส (PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ หรือโฟมใส่อาหาร นำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
- เบอร์ 7 หรือ Other ที่ไม่มีการระบุชื่อจำเพาะ ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดที่จัดอยู่ใน 6 กลุ่มข้างต้นแต่สามารถนำมาหลอมใหม่ได้
ตัวอย่างสินค้าเทียบเคียง
ผู้เขียนบทความ