เติมกลิ่นอายสไตล์บาหลีด้วยวัสดุตกแต่งหลังคาใบจากเทียม Maxis wood
หากกล่าวถึงการตกแต่งสไตล์บาหลีหลายๆคนน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี สไตล์บาหลีนั้นไม่ได้เป็นที่นิยมในแถบเอเชียเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมแถบเมืองร้อนชื้นและความเป็นพื้นถิ่น ก่อให้เกิดสไตล์ที่โดดเด่นและมีบรรยากาศแวดล้อมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สถาปัตยกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร ศูนย์การค้าหรือบ้านพักอาศัย มักได้รับแรงบันดาลใจจากสไตล์บาหลีในการนำมาออกแบบบ่อยครั้ง
พื้นฐานของสถาปัตยกรรมสไตล์บาหลีประกอบด้วย การออกแบบพื้นที่ให้มีระบบการระบายอากาศที่ดี เช่นการออกแบบให้มีพื้นที่ระหว่างผนังและโครงหลังคาที่สูง เพื่อให้มีความสามารถในการถ่ายเทของอากาศได้ดี การออกแบบโครงสร้างรากฐานให้มีความแข็งแรง การจัดสรรออกแบบบรรยากาศให้แวดล้อมด้วยธรรมชาติ ที่เรามักคุ้นตาคือการใช้หลังคาประเภทมุงหรือ Thatch roof เช่น หลังคาใบจากมาเป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีวัสดุประเภทอื่นๆที่นิยมนำมาใช้ในงานสไตล์บาหลี เช่น ไม้มะพร้าว ไม้ไผ่ ไม้สัก หิน หรืออิฐ เป็นต้น โดยการใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติจะช่วยสะท้อนความเป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่น นอกจากนี้ยังคำนึงในเรื่องการออกแบบให้พื้นที่มีความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่ภายนอก เช่น การออกแบบให้มีผนังสูงเพื่อกั้นสเปซจากภายนอก
สำหรับโครงการ Victoria Cliff Resort เกาะนาวโอพี ได้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบสไตล์บาหลี ทางโครงการจึงได้เลือกใช้ใบจากเทียม Maxis thatch จาก Maxis wood แทนใบจากจริงในพื้นที่ต่างๆของโครงการ โดยให้ความสวยงามที่เป็นธรรมชาติ ความสวยงามแบบธรรมชาติของใบจากเทียม Maxis thatch มาจากหลากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงของใบจากเทียมที่ให้ความเสมือนจริง ลักษณะทรงของใบจากที่หลากหลาย เช่น ทรงใบเรียวยาว ใบเรียวมน ใบหยัก เป็นต้น และโทนสีของใบจากที่มีการไล่สีทั้งเข้ม อ่อน แก่ ทำให้ทั้งรูปทรงและโทนสีโดยรวมของใบจากเทียมมีความกลมกลืน และคล้ายกับวัสดุดั้งเดิมจากธรรมชาติ
ใบจากเทียมสามารถนำไปรังสรรค์ในงานสถาปัตยกรรมสไตล์บาหลีได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นงานในกลุ่มโรงแรมรีสอร์ท ศาลา หรือที่พักอาศัย ลักษณะการติดตั้งที่แนะนำคือความลาดเอียงของหลังคาควรมีองศามากกว่า 20 องศา โดยแนะนำให้ปูแผ่น OSB Board ลงบนโครงหลังคาก่อน จากนั้นวางแผ่น Water proof membrane ทับและจึงยึดสกรูสเตนเลสกับใบจากเทียมลงไป ด้วยคุณสมบัติของแผ่น Water proof membrane เป็นวัสดุยางมะตอย ช่วยเพิ่มคุณสมบัติการยึดเกาะได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การติดตั้งใบจากเทียม Maxis thatch มีความแข็งแรง คงทน ปราศจากการรั่วซึม และคุณสมบัติของใบจากเทียมที่ผลิตจากพลาสติกคุณภาพสูง HDPE ทำให้ใบจากไม่อมน้ำ หมดกังวลกับการดูดซึมของวัสดุ
การติดตั้งใบจากเทียมมีการติดตั้งเหมือนกับการมุงหลังคาจากทั่วไป โดยมุงจากด้านล่างไล่ขึ้นด้านบน ตัวเริ่มสามารถทิ้งระยะปล่อยปลายให้ใบจากลู่จากด้านหลังคาลู่ลงมาด้านล่าง โดยใบจากเทียมมีความเป็นธรรมชาติเหมือนกับวัสดุดั้งเดิม สินค้า Maxis thatch จะมีรูไกด์สำหรับการติดตั้งของใบจากเทียมที่ระยะ 15 ซม. ทำให้สะดวกในการติดตั้ง ในเชิงการออกแบบสินค้ามีระยะแนะนำการมุงที่ 20 ซม.สำหรับระยะซ้อนทับ แต่หากต้องการให้มีหลังคามีความหนามากขึ้น สามารถร่นระยะซ้อนทับเป็น 15 ซม. ก็จะทำให้หลังคาใบจากมีความหนาแน่น ฟู เพิ่มความเป็นธรรมชาติ มากยิ่งขึ้น
หากต้องการงานดีไซน์ให้ตัวหลังคามีการมุงด้วยใบจากหนาๆ Maxis thatch มีอุปกรณ์ accessories เสริมชื่อว่า Eaves สำหรับการเพิ่มความหนาให้กับบริเวณปลายของหลังคาใบจาก โดยยึด Eaves เข้ากับเชิงชายหลังคา เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วจะทำให้ภาพรวมของหลังคาใบจากเทียมดูหนา ฟู เหมือนซ้อนทับด้วยวัสดุหลายชั้น ความหนาของ Eaves มีขนาดมาตรฐานคือ ความหนาใบจาก 5 ชั้น และความหนาใบจาก 7 ชั้น สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ เมื่อติดตั้ง Eaves เข้ากับเชิงชายแล้วทำให้ตัวหลังคามีความเป็นธรรมชาติให้กับตัวสถาปัตยกรรมได้อย่างกลมกลืน
นอกจากความสวยงามที่เป็นธรรมชาติของใบจากเทียม Maxis thatch แล้ว ยังโดดเด่นด้วยฟังกชันของวัสดุที่ไม่ลามไฟและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เนื่องจากวัสดุเป็น HDPE ทำให้มีความยืดหยุ่น แม้พื้นที่ที่มีสภาวะภูมิอากาศที่รุนแรง ก็หมดกังวลกับปัญหาใบจากหลุดร่วงหรือกรอบที่จะเกิดขึ้นได้
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงก์นี้
www.wazzadu.com/page/maxiswood/contact
หรือติดต่อที่ Call Center: (+66) 081 407 6616
Email: info@maxiswood.com, Website: www.maxiswood.com, Facebook: maxiswood, Line ID: @maxiswood, WeChat ID: maxiswood, Fax: (+66) 02 870 9309
#Wazzadu #maxiswood #woodplasticcomposite #maxisfacade #wpc #ไม้เทียมไทย #Landscape #hardscape #structureplan #woodcompositeexpert #wood #บาหลี #maxisthatch #thatchroof #ใบจากเทียม #ใบจากมุงหลังคา
ผู้เขียนบทความ