กำแพงกันดินสำเร็จรูป (Retaining Wall Block) มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติเด่น และวิธีการนำไปใช้งานอย่างไร

กำแพงกันดิน (Retaining Wall) เป็นรูปแบบโครงสร้างผนังกันดินที่มีความหนา และมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ เพื่อรองรับแรงดันจากมวลดิน และมวลของเหลวตามธรรมชาติ เช่น น้ำ หรือ โคลน รวมถึงแรงกดทับต่างๆที่มาจากด้านบน โดยมีบทบาทสำคัญต่อการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน อาทิ การตกแต่งภูมิทัศน์ ,การสร้างเขื่อน , อุโมงค์ , กำแพงกันดินสไลด์ตามฝั่งแม่้น้ำเพื่อลดการทรุดตัวของดิน , การสร้างสะพาน , การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชันเพื่อป้องกันดินถล่ม หรือ บริเวณที่ราบสูง ไปจนถึงงานโครงสร้างชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่ หรือ ตึกสูงระฟ้า และอาคารบ้านเรือน เป็นต้น

ต้นปี ค.ศ.1900 กำแพงกันดินมักจะทำมาจากวัสดุจำพวกไม้ที่มีความแข็งแรงสูง เช่น ไม้ยูคา ไม้ไผ่ ไม้สัก และไม้เนื้อแข็งต่างๆ ต่อมาหลังปี ค.ศ.1970 มีการพัฒนาในด้านการใช้วัสดุ โดยเปลี่ยนมาใช้เหล็กชีทไพล์ ,ซีเมนต์ และคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ทดแทนการใช้ไม้เพื่อตอบโจทย์มาตรฐานทางด้านวิศวกรรม โดยจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆตามรูปแบบการใช้งานดังนี้

  • Gravity Wall
  • Piling Wall
  • Cantilever Wall
  • Anchored Wall
  • Diaphragm Wall

และจากสภาพงานก่อสร้างในยุคปัจจุบัน การขาดแคลนแรงงานมักจะเป็นปัญหาหลักของงานโยธาที่มักจะเป็นงานหนัก และใช้แรงงานมาก จึงทำให้หลายโครงการดำเนินงานได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น ไม่แล้วเสร็จตามกำหนด และส่งผลทำให้ต้นทุนบานปลาย

กำแพงกันดินสำเร็จรูป (Retaining Wall Block) หรือ กำแพงกันดินแบบหล่อสำเร็จ จึงถูกพัฒนาให้มีศักยภาพ และเข้ามามีบทบาทในงานก่อสร้างมากขึ้น ซึ่งข้อดีของกำแพงกันดินสำเร็จรูปนั้นจะช่วยประหยัดแรงงานในการก่อสร้าง โดยเน้นใช้เครื่องจักรทำงานแทนแรงงาน เคลื่อนย้าย  และติดตั้งได้สะดวก อีกทั้งยังประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการก่อสร้างได้

ในปัจจุบัน กำแพงกันดินสำเร็จรูป (Retaining Wall Block) ในท้องตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ถูกจำแนกออกเป็น 5 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีคุณสมบัติ และการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยครับ 

ภาพการใช้งานจริงกำแพงกันดินสำเร็จรูปพร้อมฐานแผ่ 

กำแพงกันดินคอนกรีตสำเร็จรูปพร้อมฐานแผ่

คุณสมบัติเด่น

  • มีลักษณะเป็นยูนิต จึงทำให้ขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียง ขุดเคลียร์หน้าดิน ,เทลีน ,วางกำแพง จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการก็เป็นอันเสร็จสิ้น 
  • มีฐานแผ่ และรูระบายน้ำในตัว
  • ใช้เป็นรั้วสำเร็จรูปในตัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำ Dowel (เส้นเหล็กเดือย) เพื่อต่อกำแพง ด้านบนกำแพงกันดินให้สูงขึ้นได้
  • มีความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • ในท้องตลาดมีให้เลือกใช้หลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก 60x50x100 หนา 10 cm ,ขนาดกลาง 210x180x200 หนา 17.5 cm และขนาดใหญ่ 420x360x100 หนา 30 cm

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ และใช้เป็นรั้วคอนกรีตไปในตัว

ภาพการใช้งานจริงบล็อกกำแพงกันดินขนาดใหญ่ (ผิวหน้าโค้ง)

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าโค้ง)

คุณสมบัติเด่น

  • มีผิวหน้าโค้ง ช่วยให้แนวกำแพงกันดินมีความสวยงาม ดูมีมิติมากขึ้น
  • มีลักษณะเป็นยูนิต จึงทำให้ขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน ,เทลีน ,วางกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา และแนวตั้งแบบขั้นบันได
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 100x75x50 cm. น้ำหนัก 450 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือ พื้นที่ลาดเชิงเขา
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ หรือ บ่อน้ำ
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

ภาพการใช้งานจริงบล็อกกำแพงกันดินขนาดใหญ่ (ผิวหน้าเรียบ)

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าเรียบ)

คุณสมบัติเด่น

  • มีผิวหน้าเรียบ ช่วยให้แนวกำแพงกันดินมีความสวยงาม เรียบง่าย และดูทันสมัยมากขึ้น
  • มีลักษณะเป็นยูนิต จึงทำให้ขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน ,เทลีน ,วางกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา และแนวตั้งแบบขั้นบันได
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 100x75x50 cm. น้ำหนัก 450 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือ พื้นที่ลาดเชิงเขา
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ หรือ บ่อน้ำ
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

Sponsored by

ภาพการใช้งานจริงบล็อกกำแพงกันดินขนาดเล็ก (ผิวหน้าลอนคลื่น)

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าลอนคลื่น)

คุณสมบัติเด่น

  • ผิวหน้าแบบลอนคลื่น นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยป้องกันการกัดเซาะได้ดี 
  • มีลักษณะเป็นยูนิตขนาดเล็ก จึงทำให้ขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน ,เทลีน ,วางบล็อกกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา ทำให้ใช้ประโยนช์เนื้อที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 50 x 48.5 x 25 cm. นำ้หนัก 70 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ 
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

ภาพการใช้งานจริงบล็อกกำแพงกันดินขนาดเล็ก (ผิวหน้าเรียบ)

บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าเรียบ)

คุณสมบัติเด่น

  • ผิวหน้าแบบเรียบ ให้ความสวยงามทันสมัย
  • มีลักษณะเป็นยูนิตขนาดเล็ก จึงทำให้ขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย
  • ติดตั้งได้ง่ายเพียงขุดเคลียร์หน้าดิน ,เทลีน ,วางบล็อกกำแพงกันดิน จากนั้นก็ปรับระดับดินตามที่ต้องการ
  • แต่ละยูนิตจะมีเดือย Lock ทั้งแนวระนาบรับแรงกด และแรงเฉือน จึงทำให้แนวกำแพงกันดินมีความแข็งแรง และให้ประสิทธิภาพในการรับแรงดันมากขึ้น
  • สามารถใช้ร่วมกับเสาเข็ม และ Geogrid หรือ ตาข่ายเสริมกำลังดินได้
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ความทนทานสูงตามหลักทางด้านวิศวกรรม
  • สามารถก่อได้ในแนวตั้ง 90 องศา ทำให้ใช้ประโยนช์เนื้อที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • มีช่องสำหรับใส่ดิน หรือ ร้อยเหล็ก เทปูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แนวกำแพงอีกชั้นหนึ่ง
  • ขนาดในท้องตลาด 50 x 48.5 x 25 cm. นำ้หนัก 70 กิโลกรัม

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น 
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
  • ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ 
  • สามารถใช้เป็นกำแพงสตีอกพืชผลการเกษตรได้

ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้งานที่เหมาะสม ก่อนจะเริ่มงานก่อสร้างกำแพงกันดิน ควรปรึกษาวิศวกรที่ชำนาญในด้านการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินให้ดีเสียก่อน เนื่องจากการก่อสร้างชนิดนี้แม้จะดูเรียบง่าย แต่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น หรือ แม้แต่ตัวผู้ก่อสร้างร่วมด้วย

ฉะนั้นการประเมิณสภาพพื้นที่ก่อสร้าง และการคำนวนแรงดันของดินที่ถูกต้องแม่นยำควรเป็นหน้าที่ของวิศวกรที่จะให้คำแนะนำจะดีที่สุด เพราะจะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้รูปแบบกำแพงกันดินได้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และยังช่วยป้องกันการบานปลายของงบประมาณได้อีกด้วย

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ