Interview: แนวคิดในการออกแบบจาก Landscape Architects of Bangkok (LAB)

ป่าในกรุง  PTT Green in the City, Image © Rungkit Charoenwat

อะไรคือแนวคิดหรือปรัชญาการทำงานของ LAB?


เราจะให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่อยู่ในพื้นที่ที่เราทำงาน และหาวิธีที่จะออกแบบให้กลมกลืนหรือส่งเสริมองค์ประกอบ เหล่านี้ให้มีความโดดเด่นชัดเจนมากขึ้นด้วย แต่ในกรณีที่พื้นที่ที่เราทำงานมีปัญหา การแก้ไขฟื้นฟูพื้นที่ก็เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน นอกจากนี้สิ่งที่เราสนใจคือ

 

การออกแบบที่ทำให้คนมีประสบการณ์ในการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารที่ดี รับรู้ได้ถึงองค์ประกอบที่โดดเด่นของพื้นที่ ซึ่งเราก็เอาตรงนี้นี่แหละมาเป็นหัวข้อหลักในการออกแบบ อย่างเช่น ในเรื่องของ “ลม” เราก็จะทำให้คนมีประสบการณ์กับสิ่งที่มองไม่เห็นอย่าง “ลม” ซึ่งในกระบวนการออกแบบ เราไม่ได้ศึกษาแค่เชิงเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ในเชิง สุนทรียศาสตร์ด้วย เช่น เราอาจจะเลือกพันธุ์ไม้ที่กระตุ้นให้คนรับรู้การมีอยู่ของลม ต้นไม้ แต่ละต้นมีเสียงและฟอร์มที่ไม่เหมือนกัน เช่น ต้นหลิว ที่อาจจะไม่มีเสียง แต่พอลมพัด เนื่องจากมันมีใบที่เล็ก ก็จะดูพริ้วได้ง่าย อย่างต้นไผ่ ต้นโพธิ์ ก็จะมีเสียง หรือถ้าเรา ไปทุ่งหญ้า ถ้าหญ้ามันสูงหน่อย ถูกลมพัดเป็นคลื่น เราก็จะรู้สึกถึงการมีอยู่ของลม ถึงแม้อากาศจะร้อน แต่มันก็ช่วยให้เรารู้สึกดีกับสเปซได้ขึ้นมาบ้าง

 

นอกจากนี้เราก็ต้องการให้คนรับรู้และรู้สึกได้ถึงสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ จนเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเข้ามาในพื้นที่แล้วได้รับความร่มรื่น เห็น ความเขียวของต้นไม้ ได้ยินเสียงน้ำไหล นกร้อง เมื่อกลับไปแล้วก็อาจจะอยากไปปลูกต้นไม้ สร้างป่า อันนั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดของเราเลย

ป่าในกรุง PTT Green in the City, Image © Rungkit Charoenwat

โปรเจ็คต์ไหนบ้างที่บ่งบอกถึงคาแร็คเตอร์ของสตูดิโอได้ดีที่สุด?

โปรเจ็คต์ ‘ป่าในกรุง’ เป็นโอกาสที่เราได้ทดลองทำเรื่องพวกนี้ ถึงแม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องของ “แดด” หรือ “ลม” เป็นหลัก แต่มันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เราอยากทำให้คนรับรู้ว่าการปลูกต้นไม้ตั้งแต่เป็นกล้าก็สวยได้เหมือนกัน และพอมันโตขึ้น มันก็จะค่อยๆ สวยขึ้นเรื่อยๆ อีกอย่างคือ ทำยังไงให้คนเข้าไปในสเปซที่ไม่ได้มีดีไซน์ อะไรมากแล้วรู้สึกดี ประทับใจในสเปซนั้นๆ เราทำงานร่วมกับสถาปนิกตลอดเวลาซึ่ง ทำให้ทั้งโครงการดูกลมกลืนกัน

 

ยังมีอีกหลายโครงการที่เราได้ทดลองแนวคิดพวกนี้ การประกวดแบบที่ SCG เราก็เอาแนวคิดเรื่องของการแก้ไขและฟื้นฟูธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนจากน้ำเสียเป็นน้ำดีมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งมันจะช่วยเปลี่ยนมุมมองที่คนมีต่อแลนด์สเคปว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องของการเป็น decorative element แต่สามารถช่วยบำบัด ฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เราจึงเสนอไปว่า ลองใช้ต้นไม้มาช่วยในการบำบัดน้ำเสียสิ ในธรรมชาติมันมีกระบวนการพวกนี้อยู่แล้วขึ้นอยู่กับว่าเราจะดึงมาใช้ยังไง

 

อีกที่หนึ่งคือ การประกวด ‘อุทยานจุฬา 100 ปี’ ซึ่งเราได้ที่สอง แต่ว่าไอเดียหลายๆ อัน อย่างการบำบัดน้ำก็ถูกเอามาใช้ ตอนนั้นเราเสนอไปว่า ทำไมเราไม่ทำสวนสาธารณะนี้ให้กลายเป็นที่บำบัดน้ำเสียที่สามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมารดน้ำต้นไม้ต่อได้ล่ะ แบบที่เราเสนอไปเป็นเหมือนกับ forest park ที่ไม่ได้เน้นการจัดเรียงที่สวยงามเหมือนกับพวกสวนลุมฯ แต่เราเลือกต้นไม้ที่มี performance โดยเฉพาะต้นไม้ที่อยู่กับน้ำเสียได้ดี หรือผลิตออกซิเจนได้เยอะ ซึ่งจุฬาฯ เขาก็สนใจ แต่เขาเป็นห่วงเรื่องการดูแลรักษา แต่เขาเอาข้อคิดของเราไปใช้เยอะนะ

อุทยานจุฬา 100 ปี Chula Park, Image © LAB

ในมุมมองของคุณ ภูมิสถาปนิกควรจะมีบทบาทยังไง?

เราเป็น physical designer เหมือนกับสถาปนิก อินทีเรียดีไซเนอร์ หรือโปรดักท์ดีไซเนอร์ แต่ว่าเครื่องมือในการทำงานของเราคือ ธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ต้นไม้ แสงแดด ถ้าเรา สามารถที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้ สิ่งนี้ก็น่าจะเป็นบทบาทที่เราควรทำมากที่สุด นอกจากการฟื้นฟู มันอาจจะเป็นการส่งเสริมก็ได้ ทั้งในแง่การกระตุ้นให้คนหันมาดูแลธรรมชาติ แต่สมมติถ้าเราได้โปรเจ็คต์ที่เขาใหญ่ แน่นอนว่าเราคงไม่ต้องทำอะไร เลยเพราะธรรมชาติที่นั่นดีอยู่แล้ว แต่ที่เราต้องทำคือ จะทำยังไงให้คนมีประสบการณ์กับ open space นั้นได้ดีขึ้น

คิดว่าอะไรเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุดสำหรับการทำงานเป็นภูมิสถาปนิกในประเทศไทย?

หลายๆ ครั้ง โปรเจ็คต์ที่เราทำอาจจะเล็กเกินไปกว่าที่จะเรียกได้ว่าภูมิสถาปนิก โครงการส่วนใหญ่เราก็ทำในเมือง อย่างเช่น สวนคอนโดซึ่งมีพื้นที่ไม่มากนัก ความท้าทายก็คือ ทำยังไงให้ตัวเราเองไม่ลืมสิ่งที่เราควรจะทำจริงๆ ในฐานะภูมิสถาปนิก บางทีเราไม่มีโปรเจ็คต์ที่เราจะได้พัฒนาความคิดนั้นๆ ดังนั้น เราจึงพยายามหาโปรเจ็คต์ หรือการประกวดแบบที่ทำให้เราได้พัฒนากระบวนการนั้นๆ บางทีมันอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงในยุคของผมก็ได้ การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมไทยมันค่อนข้างช้า ที่ทำๆ กันก็เป็นเรื่องความสวยงาม เน้นในเรื่องสังคม แต่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า สิ่งเหล่านี้ควรจะถูกบาลานซ์ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอดี

คุณคิดว่าวงการภูมิสถาปนิกในเมืองไทยตอนนี้เป็นยังไงบ้าง?

ดีขึ้นเยอะครับ แต่ข้อเสียที่ยังมีก็คือ คนไทยชอบสเป็คต้นไม้ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ทั้งๆ ที่ในมาเลเซียหรือต่างประเทศเขาใช้กันแค่ 3-4 นิ้ว ซึ่งการที่เราเอาต้นไม้ใหญ่ขนาดนี้มาทำงาน มันก็คือการย้ายต้นไม้จากที่อื่นมาลงในพื้นที่ใหม่ เราเพิ่มพื้นที่สีเขียวตรงนี้ แต่ตรงนั้นมันก็หายไป ถ้าทุกคนมัวแต่ย้ายกันแบบนี้ มันก็แทบจะไม่ได้มีต้นไม้ใหม่เกิดขึ้น คิดดูจริงๆ แล้วมันก็แย่ ไม่ได้หมายถึงแต่คนอื่นๆ นะ ตัวเราเองก็ทำด้วย แต่ทุกๆ ครั้งผมก็จะบอกกับลูกค้าว่าถ้าคุณไม่จำเป็นต้องรีบ คุณรอได้ไหม มันมีประโยชน์มากกว่านะ ถ้าทุกคนช่วยกันหันมาปลูกต้นไม้ใหม่ ปีๆ นึงวงการแลนด์สเคปเราปลูกต้นไม้เยอะมากเลยนะ (แต่ส่วนมากก็เป็นการย้ายมาจากที่อื่น)

คุณมีนิยามของ ‘ภูมิสถาปัตยกรรม’ ว่ายังไงบ้าง?

ผมขอมองว่าเป็นหน้าที่ล่ะกัน ก็คือเรื่องการดูแลสภาพแวดล้อม สมัยก่อนเขารวมไปถึงความคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมมันเกี่ยวข้องกับสังคมยังไง เราเคยได้ยินบ่อยๆ ว่าการปลูกต้นไม้มันจะกลายเป็นปอดให้กับเมือง ตรงนี้เองมันก็เป็นจุดเริ่มต้นของการนิยาม “ภูมิสถาปนิก” ว่าคือการเข้ามาช่วยทำยังไงให้สภาพแวดล้อมมันดี ไม่ใช่แค่ว่าดูดี แต่หมายถึงดีขึ้นจริงๆ ซึ่งเราก็เชื่อในแนวทางนี้เหมือนกัน เช่น ถ้าคอนโดทุกๆ ที่หันมาปลูกต้นไม้ใหม่ ไม่ไปเอาต้นไม้ที่อื่นมาใช้แค่นี้มันก็ดีขึ้นแล้ว

ART4D
ABOUT art4d
WHO ARE WE?

Founded in 1995, art4d is a magazine created by designers for designers. Through its 11 annual issues, art4d presents itself in contrast to the contemporary field of home and decoration titles currently available on the market. Whereas the majority of these publications are aimed at the general public, art4d serves to benefit the community of creative professionals and participants through its content, photography and commitment to presenting intelligent narratives accompanied by vivid images as standard editorial practice. art4d is for the exclusive benefit of designers, architects and artists, functioning as a venue for the exchange of ideas amongst art and design circles within Thailand – within Asia – and worldwide.

WHAT DO WE DO?

Monthly Magazine
a monthly print magazine covering art, architecture and design that has been based in Bangkok for the past 21 years.

art4d Weekly
a weekly e-newsletter focusing on architecture, design and art distributed regularly to our subscribers and community.

Website art4d.com
a web-based offshoot of art4d conceived as a real-time online component to the monthly print edition.

At the ASA Architect Expo
ARCHITECT – an annual trade show taking place in Bangkok, Thailand organized by The Association of Siamese Architects under Royal Patronage (ASA) and TTF welcomes countless visitors working within the architectural profession for its thorough presentation of the latest products and services trending in the construction and building industries. With an aim to serve as a catalyst for exchange of architecture and design knowledge and news, art4d has enjoyed the opportunity to exhibit its publications at ARCHITECT since 1995, sharing our books and magazines with all visitors through presentation within our art4d pavilion that, on its own, proves each year to catch the viewer’s eye with its striking and memorable designs.

Annual Event and Exhibition
With an aim to serve as a catalyst of design exchange, art4d has dedicated itself to creative activities for many years. Our focus on ‘the creative community’ and dedication to architecture, design and the arts has led to the development of countless pivotal activities promoting design culture both in Thailand and abroad. ...
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ