หลักการออกแบบช่องเปิด หรือ ตำแหน่งหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม เพื่อถ่ายเทอากาศ ให้สภาวะน่าสบาย และช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคาร

หน้าต่าง หรือ ช่องเปิดนั้น ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าหากอาคารหลังนั้นๆได้ออกแบบหน้าต่างช่องเปิดมาอย่างเหมาะสมก็จะทำให้บรรยากาศภายในอาคารมีความสว่างที่พอดี และมีลมถ่ายเท ระบายอากาศได้อย่างปลอดโปร่ง และช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร แต่ถ้าหากออกแบบหน้าต่าง หรือช่องเปิดผิดไปจากหลักการออกแบบที่เหมาะสม หรือ ไม่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับบริบทการใช้งานของอาคาร ก็จะทำให้มีบรรยากาศที่ไม่ดี ไม่สามารถระบายอากาศได้อย่างสะดวก จึงทำให้รู้สึกอึดอัด และทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวในระหว่างอยู่อาศัย ซึ่งการจะออกแบบช่องเปิดให้สัมพันธ์กับบริบทอาคาร และมีความเหมาะสมลงตัวกับลักษณะการใช้งาน จะมีหลักเกณฑ์ที่ควรคำนึงดังนี้

 

ทิศที่ควรหลีกเลี่ยงการเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง

- ในทิศใต้ และทิศตะวันตก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ไม่ควรเกิน 20% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด

ในด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก จะเป็นด้านที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนและแสงจ้าค่อนข้างมาก ฉะนั้นการออกแบบตำแหน่งของหน้าต่าง หรือ ช่องเปิดภายในอาคารควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งในทิศตะวันให้มากที่สุด

ทิศที่สามารถเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง ได้อย่างเหมาะสม

- ในทิศเหนือ และทิศตะวันออก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ได้ตั้งแต่ 50-75% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด

สำหรับการติดตั้งหน้าต่างช่องเปิดควรติดตั้งในทิศตะวันออก และทิศเหนือ  โดยออกแบบให้หน้าต่าง หรือช่องเปิดที่มีขนาดเท่ากันอยู่ตรงข้ามกันเพื่อให้ลมพัดผ่านถ่ายเทได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยให้บรรยากาศภายในห้องมีความปลอดโปร่ง ให้ความสว่างที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการสะสมเชื้อโรคจากความอับทึบ

การวางตำแหน่งอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด และกระแสลม

เพราะอาคารจะต้องอยู่คู่กับเราไปอีกหลายสิบปี ฉะนั้นควรวางแผนในการออกแบบให้ดีเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายตลอดอายุการใช้งานของตัวอาคาร

- ทิศตะวันตก และทิศใต้จะได้รับผลกระทบจากแสงแดดที่รุนแรงเป็นเวลา 8-9 เดือนต่อปี เพราะมุมของแสงแดดที่ส่องนั้นเป็นมุมต่ำที่สามารถเข้าสู่อาคารได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการสร้างอาคารที่หันไปในทิศตะวันตก และทิศใต้  โดยออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นส่วนหลังบ้าน ,ห้องเก็บของ ,ห้องน้ำ ,โถงบันได ,ห้องครัว ,ที่จอดรถ หรือ พื้นที่ซักล้าง 

- ทิศเหนือ และทิศตะวันออก จะเป็นทิศที่ได้รับลมมากที่สุด และโดนแสงแดดน้อยที่สุดตามลำดับ จึงเหมาะที่ออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องใช้เวลาอาศัยอยู่เกือบทั้งวัน หรือ เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการความผ่อนคลาย เช่น ห้องนอน ,ห้องนั่งเล่น หรือ ส่วนรับประทานอาหาร

ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน

ต้นไม้สามารถช่วยสร้างร่มเงาเพื่อบังแดด และยังช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารได้โดยเฉพาะในทิศใต้ และทิศตะวันตก แต่ทว่าในการปลูกต้นไม้ใหญ่ ควรเว้นระยะจากตัวอาคารไม่น้อยกว่า 5 เมตร เพราะว่ารากไม้นั้นสามารถสร้างความเสียหายกับโครงสร้างของอาคารได้

ทำกันสาดเพื่อกรองแสงให้กับหน้าต่างกระจก หรือช่องเปิด

โดยกันสาดในระนาบแนวนอนจะเหมาะสมกับหน้าต่าง ที่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศใต้ เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงและช่วง บ่ายได้ ส่วนกันสาดในระนาบแนวตั้งเหมาะสมกับหน้าต่าง หรือช่องเปิดที่อยู่ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก

ติดตั้งผ้าม่าน หรือ มู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก

เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่จะเข้าสู่ภายในตัวอาคาร ควรติดตั้งผ้าม่าน หรือ มูลี่กรองแสง เพื่อช่วยลดความร้อน และแสงจ้าได้อย่างเหมาะสม ส่วนการติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกหน้าต่างนั้น แม้จะป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม

อุดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง

การอุดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างผนังขอบประตูหน้าต่างจะช่วยป้องกันความร้อน และความชื้นจากภายนอกผ่านเข้าไปภายในอาคาร ในกรณีที่ห้องนั้นเป็นห้องปรับอากาศ

แปล และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

- Architect Data

- www.thisoldhouse.com

วัสดุเทียบเคียง "ในหมวดประตู-  หน้าต่าง"

สินค้าเทียบเคียงในหมวด"หน้าต่าง - ประตู-หน้าต่าง"

สินค้าเทียบเคียงในหมวด"ประตูอลูมิเนียม"

สินค้าเทียบเคียงในหมวด"กระจกนิรภัยเทมเปอร์"

หลักการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ