Two Storey House คำตอบของการปรับปรุงบ้านแถวสองชั้น ให้สวยงาม น่าอยู่

หลายท่านที่อาศัยอยู่บ้านตึกแถวแคบๆ อาจจะคิดว่า การตกแต่งให้พื้นที่ภายในบ้านสวยงาม และน่าอยู่อาศัยนั้นเป็นไปได้ยาก ยิ่งเป็นบ้านแถวที่มีพื้นที่แคบๆ ด้วยแล้ว ยิ่งลำบากกันเข้าไปใหญ่ แต่ว่า.. วันนี้เราจะพาคุณไปชมผลงานการปรับปรุงบ้านสองชั้นธรรมดาๆ หลังหนึ่งในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิลกันครับ เมืองที่มีสภาพอากาศคล้ายคลึงกันกับเมืองไทยบ้านเรานั่นเอง ไปดูกันว่าบ้านแคบๆ หลังนี้น่าอยู่อาศัยขึ้นมาได้อย่างไรบ้าง ตามผมมาเลยครับ

คำว่าน่าอยู่.. จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ผู้อยู่อาศัยเป็นใครนั่นเองครับ บ้านหลังนี้ถูกออกแบบเพื่อครอบครัว ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นลูกๆ ด้วย ดังนั้นเลยมีคอร์ทกลางสำหรับเป็นพื้นนันทนาการของเด็กๆ ซึ่งพื้นที่ถูกเชื่อมเข้าหาพื้นที่ภายในบ้าน จนแทบจะบอกได้ว่า เป็นส่วนเดียวกัน

มีประโยชน์เพื่อการที่พ่อแม่ จะได้คอยสังเกตุลูกๆ ที่เล่นกันอยู่ได้อย่างใกล้ชิดนั่นเอง

สิ่งที่ชวนสะดุดตาที่สุดของบ้านหลังนี้ในแรกเห็นนั้น คือวัสดุที่ทุกท่านชื่นชอบกันมาก นั่นคือไม้นั่นเอง แต่ไม่ใช้การสร้างบ้านด้วยไม้นะครับ เป็นการบุผิวผนัง ปูพื้น ทั้งภายนอกภายในให้กลายเป็นไม้ทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย และบรรยากาศแบบธรรมชาติจากแผ่นไม้ ที่ให้เราได้ซึมซับความงามของลายไม้สีอ่อน เคล้าไปกับแสงธรรมชาติจากภายนอกที่ช่วยให้บ้านดูอบอุ่นในแบบที่พักอาศัย นอกจากนี้คุณสมบัติของไม้นั้นยังช่วยดูดซับ และป้องกันเสียงรบกวนจากตึกข้างเคียงได้ดีอีกด้วย

บริเวณชั้นสองถูกออกแบบให้มีทางเชื่อมเพื่อไปยังห้องอีกฝั่งซึ่งเป็นห้องนอน ความพิเศษนั้นอยู่ที่ หลังจากตื่นนอนในตอนเช้า  สามารถเดินออกมาสูดอากาศสบายๆ ด้านนอกได้ ความเงียบสงบจากเสียงรบกวนที่น้อยลงเพราะผนังไม้สองชั้นนั้น ทำให้บ้านหลังนี้กลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับครอบครัวในทุกมิติ

แม้จะเสียพื้นที่ภายในบ้านไปบ้าง แต่กลับทำให้บ้านดูโปร่งโล่ง และกว้างขวางขึ้น คำตอบนั้นคือ การใช้พื้นที่ให้คุ้มกับการใช้งานของเจ้าของบ้าน และเหลือที่ว่าง สำหรับการสร้างความเป็นส่วนตัว ที่จะกลายเป็นเสน่ห์ให้คุณหลงรักบ้านแถวหลังเล็กๆ นั่นเองครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.archdaily.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.archdaily.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ