หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

เมื่อนึกถึงหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม ทุกคนเปรียบหน้าต่างเป็นอะไรกันครับ สำหรับผม… ผมมองว่าหน้าต่างเปรียบเหมือนองค์ประกอบบนใบหน้าของอาคาร ยังไงน่ะเหรอครับ? เพราะว่าหน้าต่างนั้นช่วยให้อาคารหายใจได้ เป็นสื่อกลางระหว่างภายในและนอกอาคาร สามารถสื่อสารอัตลักษณ์ของอาคารได้ว่ามาจากไหน มีลักษณะภูมิอากาศอย่างไร น่าทึ่งใช่ไหมครับที่หน้าต่างไม่ได้มีไว้เพียงแค่กันแดดกันฝนเพียงอย่างเดียว วันนี้ Wazzadu encyclopedia จะพาทุกท่านมารู้จักกับหน้าต่างให้มากขึ้น ผ่านหน้าต่างที่เป็นที่นิยมใช้ในงานสถาปัตยกรรมกันครับ

หน้าที่ของหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม

หน้าต่างคือช่องเปิดบนผนังหรือประตู มีไว้สำหรับเปิดรับแสงธรรมชาติและระบายอากาศ และซึ่งสำคัญอย่างมากในงานสถาปัตยกรรม สามารถเพิ่มความปลอดภัย เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างภายในและนอกอาคาร

 

องค์ประกอบของหน้าต่าง มีดังนี้

1. วงกบ

เป็นกรอบสำหรับรองรับหน้าต่างทั้งหมดกับกำแพง ขนาดหนาประมาณ 5 มม. ทำจากวัสดุที่แข็งแรง เช่น ไม้, อะลูมิเนียมฯ

2. บานกรอบหรือบานกรอบหน้าต่าง

เป็นส่วนถัดเข้ามาจากวงกบ ความหนาขึ้นกับดีไซน์ เป็นส่วนที่รองรับกระจกหรือลูกฟัก นิยมทำจาก ไม้ กระจก หรืออะลูมิเนียม

3. ลูกฟัก

คือส่วนที่ถัดเข้ามาจากบานกรอบอีกที นิยมใช้กระจก เพื่อให้มองทะลุออกไปได้ รวมถึงช่วยให้แสงธรรมชาติเข้าถึงตัวอาคาร แต่ก็มีวัสดุอื่นที่นิม เช่น ไม้ ไม้เทียม พีวีซี พลาสติก และอะลูมิเนียม

4. บานพับหน้าต่าง

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยึดติดบานหน้าต่างกับวงกบเข้าด้วยกัน ใช้กับหน้าต่างชนิดที่สามารถพับเปิดปิดได้ เช่น บานเปิด หรือบานกระทุ้ง เป็นต้น

หน้าต่าง 28 ประเภทที่นิยมใช้ในงานสถาปัตยกรรม

1. Single-Hung Window

หน้าต่างบานเปิดเดี่ยวที่มีหน้าต่างสองบาน บานด้านบนจะยึดติดส่วนด้านล่างสามารถเลื่อนขึ้นลงเพื่อระบายอากาศได้ เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่น้อยหรือทางเดินที่แคบเปิดด้านบนยาก เช่น ห้องน้ำ เหนืออ่างล้างจาน เป็นต้น

2. Double-Hung Window

หน้าต่างบานเปิดคู่ หน้าตาคล้ายกับแบบเดี่ยว แต่สามารถเปิดได้ทั้งบนล่าง ซึ่งทำให้ระบายอากาศได้ดีและเอียงเพื่อทำความสะอาดได้ง่าย

3. Hopper Window

มีบานพับอยู่ด้านล่างหรือบน ทำให้เปิดได้ 45 องศา มักติดตั้งอยู่บนผนังใกล้กับจุดที่เพดานเชื่อมต่อกับผนัง มักพบในห้องน้ำหรือห้องใต้ดิน ลักษณะการเปิดแบบนี้ง่ายและลมถ่ายเทสะดวก

4. Casement Window

หน้าต่างบานเปิด มีบานพับอยู่ด้านข้าง นิยมใช้เพราะได้รับแสงมากและอากาศไหลเวียนสะดวก

5.Center Pivot Window

มีบานพับอยู่ตรงกลาง ทำให้บานเปิดจะเปิดครึ่ง ๆ ระกว่างข้างในและข้างนอก สะดวกในการเปิดทั้งตอนนั่งหรือยืน

6.Transom Window

หน้าต่างบานกระทุ้งแบบเปิดออกด้านบน มีบานพับอยู่ด้านข้าง นิยมใช้ในห้องที่มีพื้นที่น้อยหรือประยุกต์ใช้ออกแบบโดยทั่วไป หน้าต่างรูปแบบนี้จะเปิด-ปิดง่าย และบางส่วนของหน้าต่างยังช่วยบังสายตาได้เล็กน้อยอีกด้วย

7.Bay Window

มุขหน้าต่างเหลี่ยมโค้ง มักจะยื่นออกไปด้านนอกผนังส่วนใหญ่อยู่ตามสุดโถงทางเดิน ประกอบด้วยหน้าต่างสามบาน ประโยชน์ของหน้าต่างชนิดนี้คือทำให้มีพื้นที่ภายในมากขึ้น สามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นที่นั่งหรือมุมพักผ่อนได้

8.Bow Window

มุขหน้าต่างโค้ง มีลักษณะคล้ายแบบ Bay Window แต่จะขนาดใหญ่ กว้างกว่าและดูโค้งมากกว่า

9.Jalousie Window

หน้าต่างบานเกล็ด ลักษณะบานเปิดที่ประกอบด้วยกระจกหลายแผ่น เปิดด้วยแกนหมุน ช่วยบดบังสายตา เหมาะกับสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น เพราะระบายอากาศได้ดีโดยเฉพาะหน้าร้อน ทั้งยังเปิดให้ลมเข้าได้ในขณะฝนตก

10.Garden Window

คล้ายกับหน้าต่างบานโค้ง คือเพิ่มพื้นที่ให้ภายใน กว้างพอที่จะวางกระถางต้นไม้ ลักษณะเป็นช่องมีกระจกรอบด้านหรือตามแต่จะออกแบบ

11.Glass Block Window

หน้าต่างบล็อกแก้ว จุดเด่นคือมีความหนาแต่โปร่งทำให้แสงธรรมชาติส่องผ่านได้แต่คนมองทะลุผ่านไม่ได้ จึงนิยมนำมาใช้ในห้องน้ำหรือโถงทางเดินที่ยังต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นต้น

12.Storm Window

คือหน้าต่างรองที่ติดตั้งไว้ด้านนอกของหน้าต่างบานหลัก เพื่อป้องกันผลกระทบจากสภาพอากาศอันเลวร้าย มักจะพบในแถบประเทศที่มีพายุบ่อย ๆ วัสดุที่ใช้ต้องทนทานและแข็งแรง

13.Egress Window

หน้าต่างทางออกฉุกเฉิน มีขนาดใหญ่พอทดแทนประตูฉุกเฉินแต่ไม่สะดุดตา เปิดออกสู่นอกบ้าน พบเห็นตามห้องใต้ดิน

14.Skylight Window

เรียกอีกอย่างว่าช่องแสงบนหลังคา ทำให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาได้เต็มที่ ลดการใช้แสงจากหลอดไฟ

15.Round Window

ลักษณะทรงกลมมีแกนยึดกระจกแบ่งเป็นสี่ส่วน นิยมในสถาปัตยกรรมแบบโกธิก เช่น โบสถ์ หรือพบเห็นได้ตามห้องใต้หลังคา เป็นจุดสนใจของอาคาร สร้างบรรยากาศใหม่ ๆ

16.Radius Window

มีรูปทรงโค้งมนที่ครึ่งบนและสี่เหลี่ยมครึ่งล่าง เพิ่มความรู้สึกนุ่มนวลเพราะลดทอนขอบของรูปทรงเลขาคณิต ช่วยให้รู้สึกหรูหราและประยุกต์ในงานออกแบบได้หลากหลาย

17.Lunette (Half-Moon) Window

มักเห็นอยู่ด้านบนของประตูทางเข้า พบได้ในงานสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบดั้งเดิม เช่น อาคารนีโอคลาสสิค มหาวิหาร หรือพิพิธภัณฑ์ฯ

18.Dormer Window

มีลักษณะยื่นออกมาในแนวตั้งจากหลังคา มีไว้เพื่อเป็นองค์ประกอบด้านสุนทรียศาสตร์

19.Oriel Window

มุขหน้าต่าง(Bay window) รูปแบบหนึ่งมักพบในสถาปัตยกรรมทิวดอร์ จะยื่นออกมานอกอาคารแต่ไม่จรดพื้น มีคันทวยหรือแท่นยันคอยรับน้ำหนัก

20.Cottage Window

คล้ายกับหน้าต่างบานคู่คือเปิดได้ทั้งบนและล่าง ต่างตรงที่เส้นแบ่งครึ่งจะไม่ได้แบ่งตรงกลางอย่างสมมาตร อัตราส่วนมักจะอยู่ที่ 40:60 หน้าต่างสไตล์นี้เรียกได้ว่าไม่ตกยุค จึงพบเห็นได้ทั้งในสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ อาจจะต่างกันแค่วัสดุที่นำมาใช้

21.Two-Panel Slider Window

มีบานเปิดที่เลื่อนเปิดได้สองบาน จะมีรูปแบบค่อนไปทางสี่เหลี่ยมผืนผ้ามากกว่า หน้าต่างรูปแบบนี้จะประหยัดพื้นที่เพราะไม่ต้องเปิดเข้าออก

22.Three-Panel Slider Window

หน้าต่างบานเลื่อนเปิด 3 บาน โดยสองบานด้านข้างจะเลื่อนไปตรงกลางเพื่อเปิดออก ส่วนบานกลางจะยึดอยู่กับที่ ลักษณะจะยาวกว่า

23.Picture Window

จุดเด่นคือทัศนวิสัยที่กว้าง มองเห็นด้านนอกเหมือนเป็นกรอบรูปภาพ ระบายกาศไม่ได้แต่จะให้วิวที่ดี จึงนิยมใช้ในห้องนั่งเล่นหรือห้องนอนที่ต้องการชมวิว ข้อควรระวังคือแสงแดดที่ส่องเข้ามามากเกินไป

24.Fixed Window

หน้าต่างปิดตาย ไม่สามารถเปิดออกได้ ต่างจาก Picture Window ตรงที่มีวงกบใหญ่กว่า แต่ได้รับวิวและให้แสงมากกว่าเหมือนกัน

25.Awning Window

หน้าต่างบานกระทุ้ง จุดเด่นคือลักษณะคล้ายกันสาด เปิดรับมได้ในขณะที่ฝนตก นิยมใช้ในห้องใต้ดิน ห้องน้ำหรือติดไว้บนหน้าต่างบางประเภท เช่น หน้าต่างปิดตาย เพื่อช่วยระบายอากาศ

26.Tilt & Turn Window

เป็นที่นิยมในแถบยุโรป สามารถเปิด-ปิดได้ 3 แบบตามความต้องการ คือ

  • แบบปิดและล้อค สำหรับมองทัศนียภาพแต่ไม่ต้องการรับลมจากภายนอก เนื่องจากเป็นภูมิประเทศที่มีอากาศหนาว
  • เปิดด้านข้าง โดยหมุนเปิดจากบานพับด้านข้างเหมือนบานเปิดปกติ ระบายอากาศได้ดี
  • เปิดแบบเอียง เลียนแบบฟังก์ชันของช่องเก็บของ โดยเอียงออกด้วยบานพับด้านล่าง ระบายอากาศได้

27.French Doors

หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อหน้าต่างบานเฟี้ยม บานพับจะอยู่ที่ด้านข้าง สามารถยาวตั้งแต่พื้นจรดผนังได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่แสงจึงส่องได้เต็มที่

28.Palladian Window

ตั้งชื่อตามผู้ประดิษฐ์ คือ อันเดรีย ปัลลาดีโอ สถาปนิกชาวเวนิสในศตวรรษที่ 16 หน้าต่างรูปแบบนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หน้าต่างทรงโค้งขนาดใหญ่ตรงกลาง และหน้าต่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กขนาบข้าง เหมาะสำหรับโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ เช่น โบสถ์หรือโถงทางเดิน

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

แนะนำสินค้า และบริการ
สวนน้ำตกข้างบ้าน

โพสต์เมื่อ

แนะนำสินค้า และบริการ
Futuristic design โลกแห่งอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ