ระบบโครงสร้างแบบ Diagrid System หรือ Diagrid Structure

ระบบโครงสร้างแบบ Diagrid System หรือ Diagrid Structure 

คำว่า Diagrid เกิดขึ้นจากการรวมกันของคำว่าเส้นทแยงมุม และเส้นตาราง ตามโครงสร้างกายภาพที่เห็นกันอยู่ทั่วไป เป็นนวัตกรรมโครงสร้างที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศรัสเซียเมื่อ100 กว่าปีก่อน ต้นกำเหนิดของโครงสร้างแบบ diagrid structure ในงานด้านสถาปัตยกรรมต้องย้อนหลังไปถึงผลงานของวิศวกร และสถาปนิกชาวรัสเซีย Vladimir Shukhov (1853-1939) เป็นผู้บุกเบิกโครงสร้างนี้พร้อมกับหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบโครงสร้างนี้เป็นการปฏิวัติทรงไฮเพอร์โบลา Hyperboloids of Revolution

หลังจากนั้นได้มีการนำมาประยุกต์ใช้กับงานโครงสร้างอาคารโดยเฉพาะอาคารที่มีลักษณะสูงชลูด ทีอ่อนไหวต่อการไหวตัวเนื่องจากแรงกระทำด้านข้าง เช่น ลม หรือ แผ่นดินไหว ซึ่งการถักเส้น Diagrid จะแปรผันไปตามสภาพพื้นที่ของภูมิประเทศนั้นๆว่าอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากน้อยเท่าใด รวมถึงกระแสทิศทางลมประจำพื้นที่ว่ามีลักษณะใด โดยมีผลต่อการออกแบบเส้น Diagrid โดยตรง ซึ่งลักษณะการรับแรงทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง

การรับแรงลม และแผ่นดินไหวในแนวราบ

Diagrid Structure ในรูปแบบเส้นทแยงมุมปกติ จะสามารถรองรับแรงกระทำแบบนี้ได้ค่อนข้างดี เพราะตัวโครงสร้างเกิดการเคลื่อนตัวน้อย จึงมีความแข็งแรงในการรับแรงในแนวราบค่อนข้างสูง

การรับแรงลม และแผ่นดินไหวในแนวดิ่ง

Diagrid Structure ในรูปแบบเส้นทแยงมุมปกติจะไม่สามารถใช้ได้กับการรับแรงในแนวดิ่ง เนื่องแรงกระทำคนละรูปแบบจะทำให้เส้นทแยงแบบปกติเกิดจุดบอดขึ้น เมื่อเกิดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งที่มากขึ้นจึงทำให้เกิดการยวบ และส่งผลให้อ่อนแอต่อการรับแรงในแนวดิ่ง เพราะฉะนั้น Diagrid Structure ที่ใช้ในการรับแรงกระทำในแนวดิ่งจะใช้รูปแบบเส้นทแยงแบบปกติไม่ได้ ซึ่งจะต้องใช้เส้น Diagrid ในรูปแบบรังผึ้งแทน เนื่องจากเป็นรูปแบบเส้นโครงสร้างที่ Compromise การกระทำของแนวแรงทั้งแนวราบ และดิ่งได้พร้อมๆกัน 

ด้วยลักษณะของโครงสร้างที่ส่วนใหญ่จะเป็นเฟรมถักรัดด้านนอกของตัวอาคาร จึงมีผลทำให้ภายใน Core ของอาคารมีเสาเพียงไม่กี่ต้น โดยเป็นผลดีในเรื่องการได้ Space การใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ทั่วโลกที่ใช้ระบบโครงสร้างแบบ Diagrid System Structure อาทิเช่น

- 30 St Mary Axe, London, England

- 1 The Avenue, Manchester, England

- CCTV Headquarters, Beijing, China

- Capital Gate, Abu Dhabi, United Arab Emirates

- Aldar headquarters, Abu Dhabi, United Arab Emirates

- Guangzhou International Finance Center, Guangzhou, China

- MyZeil, Frankfurt, Germany

- Hearst Tower, New York, USA

และอาคารอื่นๆอีกมากมาย

 

#Wazzadu #WazzaduAcademy #DiagridSystem #สถาปัตยกรรม #ArchitectureDesign #ConstructionSystem #structureSystem #steel  #Building #Skyscraper #ระบบโครงสร้าง #โครงสร้างเหล็ก

Wazzadu .com คือ  

ดิจิตอลแพลตฟอร์มที่เป็นเครื่องมือในการออกแบบสเปควัสดุสำหรับงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ