"Glass Pavilion" สถาปัตยกรรมต้นแบบกับการใช้วัสดุกระจก เพื่อค้นหาสภาวะอยู่สบาย ท่ามกลางบริบททะเลทราย
Glass Pavillion คือสถาปัตยกรรมเชิงทดลองที่ใช้วัสดุกระจกเป็นพระเอกหลัก โดยตั้งอยู่ในประเทศสเปน โครงการนี้ริเริ่มโดย Guardian Glass ซึ่งเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างท้าทาย สิ่งแวดล้อม หรือ บริบทโดยรอบอย่างมาก
การนำกระจกมาใช้เกิดมาจากความคิดที่มองว่า "กระจกเป็นมากกว่าส่วนหนึ่งของหน้าต่าง" โดยนักออกแบบได้ศึกษาถึงคุณสมบัติ และองค์ประกอบของกระจกอย่างละเอียดในเรื่องความโปร่งใสของกระจก เมื่อมีแสงตกกระทบจะทำให้เกิดเฉดของเงาบนกระจก ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้เกิดความร้อนสะสมข้างในแผ่นกระจกจนกลายเป็นพลังงาน
โครงการนี้เป็นการออกแบบที่ตอบสนองต่อสภาวะอากาศในบริบททะเลทราย เป็นการออกแบบ ในรูปแบบ Passive ที่สามารถผลิตพลังงานทดแทน แม้แต่ส่วนฐานรากของอาคารก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่ช่วยผลิตพลังงานได้อีกด้วย และเมื่อเทคโนโลยีผสานรวมกับความงามของอาคาร ที่สามารถมองออกไปเห็นบริบทที่สวยงามได้แบบ 360 องศา จึงทำให้ทุกอย่างดูลงตัวสมดั่งแนวความคิดแรกเริ่มของงานวิจัยโครงการแห่งนี้
สถานที่พักผ่อนเชิงทดลองแห่งนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาพักผ่อนเป็นระยะเวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ โดยแขกที่มีโอกาสเข้าพักจะต้องผ่านการคัดเลือกก่อน พื้นที่ใช้สอยภายในถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือห้องนอน ส่วนต่อมาคือห้องนั่งเล่น และส่วนสำคัญที่สุดคือห้องน้ำที่อยู่ตรงกลางและทุกห้องจะสามารถ เปิดประตูออกสู่ระเบียงโดยรอบได้ ซึ่งพื้นที่โดยรอบจะมีเงาจากชายคาปกคลุมสร้างร่มเงา
ในส่วนของโครงสร้างเองนั้นก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะวัสดุหลักที่ใช้ ก็คือกระจกที่ซ้อนหนาถึง 3 ชั้น ซึ่งต้องทำหน้าที่ป้องกันแรงลมของทะเลทราย โดยวัสดุมุงหลังคาจะใช้เป็นวัสดุไม้เพื่อต้องการให้ภายในอาคารรักษาอุณภูมิไว้ให้คงอยู่ในสภาวะอยู่สบาย
Glass Pavilion ถือว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจ เป็นมุมมองของนักออกแบบที่มองถึงรูปแบบการอยู่อาศัยในอนาคต การขยายพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการอยู่อาศัยที่หนาแน่นในอนาคต และที่สำคัญเป็นอาคารที่ใช้พลังงานทดแทนจากการใช้วัสดุกระจกได้อย่างสมบูรณ์
รูปภาพประกอบโดย www.Archdaily.com
#Wazzadu #tyk #Glassform #Glass # #ArchitectureDesign #Glasspavillion
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม