SAC (Student Activity Center) ผลงานการแปลงโฉมหอพักเก่าๆ ให้กลายเป็นอาคารกิจกรรมนักศึกษาสีสันสดใส

วันนี้  WAZZADU  จะพาไปชมผลงานสุดโดนใจจากสถาปนิก  ที่ได้ทำการปรับปรุง  เปลี่ยนโฉมอาคารหอพักเก่าๆ  อายุกว่า  20 ปี ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ที่ถูกทิ้งร้างไปในเหตุการณ์น้ำท่วมในปี  2554  ให้กลับมามีชีวิตชีวา  เพื่อบริการนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อีกครั้ง  จะน่าสนใจแค่ไหนนั้น  ตามมาเลยครับ

SAC (Student Activity Center) อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบไปด้วยฟังก์ชันสำหรับทำกิจกรรมของนักศึกษาอย่างครบครัน  ไม่ว่าจะเป็น  ห้องชมรม  ห้องประชุม  ห้องซ้อมดนตรี  ห้องซ้อมเชียร์หลีดเดอร์  หรือสตูดิโอถ่ายภาพ  ซึ่งล้วนมาจากการ  Renovate  อาคารหอพักเก่าจำนวน  32  ห้องให้มีพื้นที่เชื่อมโยงกันจนกลายเป็นลักษณะอาคารยาวตลอดแนว

โดยสถาปนิกได้เน้นการเปิดช่องทางเดินให้สามารถสัญจรได้สะดวกสบายทั้งอาคาร  และแต่งเติมสีสันที่หลากหลาย  ให้ภายในมีความสดใส  โดดเด่น  สนุกสนาน  เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์  และจินตนาการตามแบบฉบับของแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่

ส่วนพื้นที่เหลือใช้อย่างชั้นลอย  ถูกสร้างสรรค์ให้กลายเป็นพื้นที่นอนพักผ่อนชิลๆ  ด้วยเปลนอนตาข่ายขึง  ซึ่งจับคู่กับหมอนนุ่มๆ  ให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายอิริยาบถ  หลังจากทำกิจกรรมต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีการเปิดช่องรับแสงธรรมชาติ  ที่ช่วยสร้างบรรยากาศโปร่งโล่ง  และส่งเสริมสภาวะอารมณ์ที่ดีให้กับการเรียนรู้อีกด้วย

ผนังภายนอกอาคารถูกปิดผิวด้วยไม้ซีดาร์แผ่นเรียบทั้งหมด  ซึ่งเมื่อรวมกับดีไซน์ของหลังคาจั่วแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนแล้ว  ทำให้อาคารแห่งนี้มีลักษณะเหมือนกับกระท่อมหลังยาวๆ  จึงถูกเหล่านักศึกษาเรียกกันอย่างติดปากว่า  “โรงนา”  หากจะพูดให้ถูกต้อง  คือ  โรงนาสมัยใหม่ที่ภายในเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาอย่างครบครันนั่นเอง

สำหรับใครที่สนใจในงานออกแบบ  ปรับปรุงอาคารเก่า  ลองไปชมผลงานนี้ได้ที่  มหาวิทยาลัยกรุงเทพครับ

โครงการ : SAC (Student Activity Center)

ออกแบบโดย : Supermachine Studio

ที่ตั้ง : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ขอบคุณข้อมูลจาก :  www.archdaily.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.archdaily.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ