"สถาปัตยกรรมต้นแบบ"...ที่ช่วยลดการปล่อย CO2 โดยนำพลังงานธรรมชาติมาหมุนเวียนใช้ภายในอาคาร

อาคาร Sino-Italian ที่มีรูปทรงโดดเด่นแปลกตาแห่งนี้สร้างขึ้นมาโดยการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลอิตาลี และจีน ออกแบบสถาปัตยกรรมโดย Mario Cucinella Architects อาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Tsinghua University กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งมีพื้นที่การใช้งานกว่า 20,000 ตารางเมตร โดยถูกออกแบบให้เป็นอาคารศูนย์การศึกษา ,การฝึกอบรม ,การวิจัยเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์พลังงาน

ภาพประกอบโดย www.archdaily.com

อาคารแห่งนี้ถูก Design ให้เป็นสถาปัตยกรรมต้นแบบสำหรับโชว์ศักยภาพในการลดการปล่อย CO2 ในประเทศจีน โดยการควบคุมสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมภายในที่ดี

ภาพประกอบโดย www.archdaily.com

ผังอาคารแห่งนี้จะมีลักษณะเป็นรูปตัว U ที่โอบล้อมลานกลางแจ้ง และพื้นที่สาธารณะส่วนกลางเอาไว้ โดยพื้นที่ส่วนกลางทำหน้าที่เปรียบเสมือนโอเอซิส ที่เต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียว ซึ่งให้ภูมิทัศน์ที่สวยงาม และดูผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังช่วยเป็นฉนวนกันความร้อนให้กับตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

 

ภาพประกอบโดย www.archdaily.com

ในการออกแบบยังได้นำพลังงานธรรมชาติอย่างกระแสลมเย็น รวมถึงแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคาร ในทิศที่ไม่ได้ปะทะกับดวงอาทิตย์โดยตรงซึ่งให้ความปลอดโปร่งในด้านการใหลเวียนของอากาศ รวมถึงแสงสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ไม่สว่างจ้า หรือ ร้อนจนเกินไป นอกจากนี้ในส่วนของผนังอาคาร สถาปนิกได้เลือกใช้กระจกกันความร้อนที่ช่วยรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร และป้องกันความร้อน รวมถึงการลดเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในด้านความสวยงามตัวกระจกที่นำมาใช้งาน ก็จัดเป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่ให้ความเรียบง่าย ทันสมัย และเข้ากับสไตล์ที่นักออกแบบต้องการได้เป็นอย่างดี

 

ภาพประกอบโดย www.archdaily.com

นอกจากนี้ยังมี Detail การออกแบบที่น่าสนใจในหลายๆส่วน ไม่ว่าจะเป็นการนำบานเกล็ดกระจก มาทำเป็นผนังสองชั้น หรือ Double-skin facade ในส่วนผนังอาคารที่ต้องปะทะกับแสงอาทิตย์โดยตรงเป็นระยะเวลานาน เพื่อช่วยลดความร้อนโดยไม่ให้ปะทะกับผนังหลักของอาคารแบบตรงๆ 

ภาพประกอบโดย www.archdaily.com

เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาปนิกได้ออกแบบให้มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับหมุนเวียนใช้ภายในอาคาร โดยองศาในการติดตั้งได้หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์โดยตรงซึ่งให้ข้อดีในด้านการได้รับพลังงานอย่างเต็มที่ และตัวแผงโซล่าเซลล์เองก็เป็นเสมือนกันสาดกรองแสง ที่คอยให้ร่มเงากับตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

ภาพประกอบโดย www.archdaily.com

ภาพประกอบโดย www.archdaily.com

#Wazzadu #Glassform #Glass #GlassIdeasDesign #MarioCucinellaArchitects #Sino-ItalianEcologicalandEnergyEfficientBuilding #ArchitectureDesign #china

TYK
Because "I love glass" ที่กลาสฟอร์ม พวกเรารักและให้ความใส่ใจกับกระจกทุกแผ่น เพราะเรามองกระจกเป็นมากกว่าวัสดุตกแต่งทั่วไป เพราะเราเห็นความสวยงามในการสร้างสรรค์ผลงานกระจก และเพราะเราเห็นรอยยิ้มของลูกค้าที่เกิดจากการใช้สินค้าของเรา ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

TYK

brand

โพสต์เมื่อ

TYK

brand

โพสต์เมื่อ

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ