Wazzadu Academy :: คอนกรีตแสตมป์ (Stamped Concrete) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

แสตมป์คอนกรีต  STAMPED CONCRETE

ประวัติของพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย (Stamped Concrete)

Stamped Concrete มีการใช้งานมากว่า 50 ปี โดยในช่วงปลายทศวรรษ 1950 Stamped Concrete ได้เริ่มต้นและเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนในช่วงกลางทศวรรษ 1970 Stamped Concrete ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งจากสถาปนิก ผู้รับเหมา และนักออกแบบ เหตุที่ Stamped Concrete

ได้รับความนิยมเพราะมีคุณประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่ต่ำ และมีความงานเหมือนหินธรรมชาติ และมีความทนทางแข็งแรง และนับตั้งแต่ปี 1978 Stamped Concrete ก็เป็นงานพื้นประเภทหนึ่งที่เป็นที่ดึงดูดใจของการก่อสร้างอย่างมาก

ใน ยุคแรกๆของ Stamped Concrete นั้นยังมีลวดลายไม่มากนัก แต่เมื่อธุรกิจ Stamped Concrete เติบโต จนมีหลายบริษัทให้บริการมากขึ้น ก็เริ่มมีลวดลายให้เลือกมากขึ้น จนปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรทันสมัย รวมทั้งมีการใช้วัสดุที่หลากหลายทำให้ งาน Stamped Concrete มีสีสันและลวดลายที่หลากหลายมากขึ้น ราคาพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย(Stamped Concrete) เมื่อเทียบกับพื้นที่ทำจากวัสดุอื่นๆ ราคาค่าวัสดุและค่าแรงจะถูกกว่า หรือใกล้เคียงกับการปูพื้นด้วยกระเบื้องเกรด A

มีความแข็งแรงมาก โดยการใช้ปูนมอร์ต้า มีความแข็ง (Strenge) อยู่ระหว่าง 425-450 โดยเทที่ความหนา 3-5 เซ็นติเมตร และมีการลงสีพิเศษ Color Hardener ฝังในเนื้อปูน 2-3 มิลลิเมตร โดยมีการใช้น้ำยาอะคลีลิคทับหน้าเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้เนื้อคอนกรีต

คุณสมบัติของ Stamp concrete

- ป้องกันรังสียูวี การเกิดตะใคร่น้ำ และคราบสกปรกต่างๆ ขณะที่การปูพื้นอื่นๆ ไม่ได้มีการเคลือบน้ำยาอะคลีลิค

- มีสีสันให้เลือกหลายสี  และหลายลาย สามารถทำ Graphic หรือ LOGO ได้

- ดูแลรักษาง่าย ไม่เกิดตะใคร่

- ผิวไม่ลื่น เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร

- มีความสวยงามคล้ายหินธรรมชาติ

- กรณีใช้ทำทางลาดขึ้นที่จอดรถ จะมีปัญหาเมื่อล้อหมุนเสียดสีเมื่อเร่งเครื่องจะทำให้พื้นผิวสึกได้

Stamp concrete มีความหนา 3-5 ซม.

ขั้นตอนการผลิตพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย (Stamped Concrete)

1. เตรียมพื้นที่ส่วนที่จะทำพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย ทั้งนี้จะต้องมีพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก(คสล.)เดิมอยู่แล้ว โดยต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร สำหรับลานจอดรถ ถนนในบริเวณบ้าน ลานรอบสระว่ายน้ำ สำหรับถนนหรือพื้นที่ ๆ ต้องการรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น ถนนที่มีการสัญจรไปมาของรถยนต์ เช่น ทางเข้าโครงการ ลานจอดรถสาธารณะ เป็นต้น จะต้องมีความหนาของพื้น คสล.เดิมไม่ต่ำกว่า 15 เซ็นติเมตร

2. เท ปูน(Morta) หรือ เทปูนทราย เพิ่มขึ้นลงบนพื้น คสล.เดิม และปาดหน้าปูนให้เรียบเพื่อให้ได้ระดับ 

3. ทิ้งไว้ให้คอนกรีตได้ระยะเวลาพอเหมาะ ก็จะทำการโรยสีเคลือบความแข็งแรง(Color Hardener)ตามเฉดสีที่เลือกให้ทั่วบริเวณพื้น และขัดสีจนสม่ำเสมอ

4. จากนั้นจึงใช้แบบพิมพ์ยาง(ตามลวดลายที่เลือก)พิมพ์ลายลงบนพื้นผิว ขณะที่ปูนยังไม่แข็งตัวตัว จนทั่วบริเวณพื้นคอนกรีต เพื่อให้พื้นมีลวดลายตามแบบที่ต้องการ

5. เมื่อผิวคอนกรีตแข็งตัว จะทำการตกแต่งและล้างทำความสะอาด และทิ้งไว้ให้แห้ง หลังจากนั้นจะทำการเคลือบน้ำยาอาคลีลิคเพื่อเคลือบผิวทั้งหมด น้ำยาอาคลีลิคจะเข้าไปอุดรูพรุนบนผิวคอนกรีต ทำให้ผิวไม่ซึมซับน้ำ ลดการดูดซับความสกปรกต่าง ๆ และง่ายต่อการทำความสะอาด เพิ่มความแข็งของผิวหน้าและป้องกันยูวีจากแสงแดด ได้อย่างดี รวมทั้งจะทำให้ผิวของพื้นคอนกรีพิมพ์ลายดูเข้ม และมีสีสันสวยงามยิ่งขึ้น

ขอบคุณแหล่งที่มาเเละภาพประกอบ

http://www.stonebuild.net

#Wazzadu #WazzaduAcademyInnovativeMaterialsforArchitecturalDesign #WazzaduAcademy #MaterialReview #คลังข้อมูลวัสดุ  #คอนกรีตแสตมป์ #StampedConcrete

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ