เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว (Movable Furniture) กับคุณสมบัติที่ควรรู้ก่อนจะนำไปใช้งาน
เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว (Movable Furniture หรือ Loose Furniture)
Movable Furniture หรือ Loose Furniture หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สามารถจัดรูปแบบในการวางได้หลากหลายตามที่ต้องการ เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้จะผลิตสำเร็จที่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ แล้วนำมาจัดวาง ลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอย ได้จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง ในร้านค้าได้ ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เช่นโต๊ะ เตียงนอน เก้าอี้ โซฟา ตู้ เป็นต้น
ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์ Movable Furniture
- สามารถเลือกรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยได้ จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง สามารถทดลองการใช้งานได้จริง
- ราคาของเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาถูกกว่าเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่
- สามารถเคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ มีอิสระในการตกแต่งได้อย่างเต็มที่ เพราะเราสามารถโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดวางได้ตามชอบใจโดยไม่ต้องไป วุ่นวายกับช่างเฟอร์นิเจอร์ให้เสียอารมณ์ หรือถ้าเราเกิดเบื่อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนขึ้นมา ราคาของเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาถูกกว่าเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่
- สามารถเคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ มีอิสระในการตกแต่งได้อย่างเต็มที่ เพราะเราสามารถโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดวางได้ตามชอบใจโดยไม่ต้องไป วุ่นวายกับช่างเฟอร์นิเจอร์ให้เสียอารมณ์ หรือถ้าเราเกิดเบื่อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนขึ้นมา หรือนึกอยากจะจัดห้องใหม่ ก็สามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งตรงข้ามกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินที่ “ต้องรื้อทิ้งสถานเดียว”
ข้อเสียของเฟอร์นิเจอร์ Movable Furniture
- อาจจะมีรูปแบบซ้ำๆ เพราะผลิตครั้งละจำนวนมาก ต่อเติมส่วนประกอบต่างๆ ไม่ได้มาก
- รูปแบบและขนาดจำกัดไม่สามารถปรับ เปลี่ยนให้เข้าพอดีกับพื้นที่ได้ และเฟอร์นิเจอร์ ที่มีความสูงมากๆ จะมีปัญหา เรื่องการสะสมตัวของฝุ่นบนหลังตู้ (เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวสูงไม่เต็มพื้นที่) และอาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
- รูปแบบที่มีมักจะมีการผลิตเป็นจำนวน มากๆ เนื่องจากเป็น ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ขาดความ เป็นเอกเทศ นอกจากนี้ งานตกแต่งภายใน ที่ใช้ แต่เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเพียงอย่างเดียวจะให้ ความรู้สึกเหมือนห้องเช่า และส่วนใหญ่ มักมีประโยชน์ใช้สอยไม่ครบถ้วน ตามพื้นที่ที่มีอยู่
การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว
เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวในท้องตลาดมีอยู่หลากหลายแบรนดืหลายราคา การเลือกเฟอร์นิเจอร์ให้คำนึงถึงอะไรบ้าง
1. กำหนดงบประมาณที่ต้องการก่อน เฟอร์นิเจอร์แต่ละแบรนด์มีราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุ รูปแบบ ประเทศที่นำเข้ามา
2. กำหนดความทนทานที่ต้องการ หากต้องการใช้งานระยะสั้นก็สามารถเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ราคาย่อมเยา
- งานประเภทตู้ cabinet วัสดุที่ใช้เป็น MDF พาทิเคิลบอร์ด ก็ได้ แต่หากต้องการใช้งานระยะยาวจะต้องดูถึงวัสดุที่ใช้ด้วย เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้จริงจะมีราคาแพงกว่าแต่ใช้งานทนทานนานปีกว่า
- งานประเภท เก้าอี้ โซฟา เตียง ให้ดูที่วัสดุหุ้ม การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นหนังเทียมอายุการใช้งานจะต่ำกว่าหนังแท้ แต่หนังแท้ก็มีราคาที่แพง ส่วนผ้าก็ต้องดูแลรักษาให้ดีเพราะเลอะง่าย โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก อาจเลือกใช้ผ้าหุ้มที่สามารถถอดออกซักได้
3. กำหนดช่วงเวลาที่ต้องการใช้งาน เฟอร์นิเจอร์ที่ขายในประเทศไทยมีทั้งที่ทำในประเทศและนำเข้ามาจากจีน ญี่ปุ่น ยุโรป หากร้านค้านั้นๆไม่มีสินค้าในสต๊อคอาจต้องสั่งทำ หรือสั่งนำเข้ามา เฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากยุโรปอาจต้องมีเวลาสั่งผลิดและนำเข้านานถึง 4-6เดือนเลยทีเดียว ดังนั้นการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ถ้าถูกใจแบรนด์ไหน หรือเฟอร์นิเจอร์ตัวไหนเป็นพิเศษควรไปจับจองไว้ก่อน
การเลือกซื้อโซฟา
วัสดุส่วนประกอบหลักของโซฟา และเก้าอี้ มีดังต่อไปนี้
1.โครงสร้าง
โครงสร้างของโซฟาหรือเก้าอี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ ไม้เนื้อแข็งจะมีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน เช่น ไม้สัก ไม้ตะแบก ไม้ประดู่ ไม้มะเกลือ เป็นต้น เหมาะสำหรับงาน เฟอร์นิเจอร์ งานก่อสร้างบ้าน และเครื่องมืองานช่าง อายุงานจะนานถึงนานมาก โดยส่วนใหญ่แล้วไม้พวกนี้เหมาะมาทำโครงสร้างของโซฟาที่สุดเพราะโซฟานั้นใช้ ทุกวันและอายุการใช้งานอาจจะ5-10ปี แต่ด้วยปัจจุบันไม้ชนิดนี้หายากขึ้นและมีราคาสูง อาจทำให้เราพบเจอกับปัญหาหลักๆคือ โครงพัง หรือหัก เนื่องจากไม่ได้ทำจากไม้เนื้อแข็ง อาจเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยาง ที่เหมาะกับงานในที่ร่มหรืองานชั่วคราว งานตกแต่งเสียมากกว่าส่วนสปริงที่ใช้สำหรับโซฟา สมัยนี้จะใช้สปริงซิกแซกกัน เพื่อรับน้ำหนักจากการกดทับ การนั่ง
2 .วัสดุที่ใช้บุ กับเบาะรองนั่ง
วัสดุที่ใช้บุ กับเบาะรองนั่งหรือที่บ้านเราเรียกว่าฟองน้ำ ฟองน้ำที่ใช้ในการบุโซฟานั้นมีหลายเกรดอยู่เหมือนกันนะ แต่ละเจ้าที่ผลิตฟองน้ำ ก็จะออกสินค้ามามีหลายแบบหลายราคา ฟองน้ำที่ใช้มีชื่อเรียกว่า polyurethane flexible foams สามารถฉีดขึ้นรูปให้เป็นลักษณะต่างๆได้ คุณสมบัติคือมีแรงอัดแน่นสูง(density) ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ จากตรงนี้จะพบปัญหาหลักๆกันเลยคือเบาะฟีบ หรือยุบเป็นแอ่งลงไป นี่คือประเด็นหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ
เหตุจากทางผู้ผลิตสินค้านั้นใช้ฟองน้ำที่มีเกรดต่ำกว่ามาตรฐาน หรือมีdensityน้อยไปนั่นเอง ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า แต่ใช้งานได้ไม่นานจะเกิดปัญหาแบบนี้ ดังนั้นเวลาไปเลือกซื้อก็ควรถามไถ่ถึงตรงนี้ด้วย ยางพารา เป็นวัสดุที่คืนรูปได้ง่าย ไม่แข็งเสียรูปเหมือน Polyurethane มีการระบายอากาศที่ดีกว่า
3.วัสดุหุ้ม
3.1 ผ้า การเลือกผ้าก็สำคัญ ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ ถ้าโซฟาตัวนี้เราใช้นั่งนอนทุกวัน มันจำต้องมีความหนาแน่น ถักทอเป็นพันเป็นหมื่นชั้น เพื่อจะมารองรับการใช้งาน โดยทั่วไปผ้าที่ใช้มาหุ้มนั้น จะมีส่วนผสมของธรรมชาติและสังเคราะห์อยู่ร่วมกัน ผ้าที่ทำจากธรรมชาตินั้น จะมีผิวสัมผัสที่นุ่ม ลื่น เย็น และบางเบา
ผ้าที่สังเคราะห์ขึ้นทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ จะมีผิวสัมผัสที่นุ่มลื่น สู้ผ้าธรรมชาติไม่ได้ และมีความร้อนสูง เนื่องจากระบายอากาศได้ไม่ดีเท่าผ้าธรรมชาติ แต่คุณสมบัติที่ลงตัวสำหรับการนำมาหุ้มโซฟานั้นคือความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น สูง เวลาช่างมาดึงให้เข้ารูป หรือดึงดุมตามแบบต่างๆ จะยืดตัวสวยแน่นและกระชับมากกว่า
คุณสมบัติของหนังเทียม
3.2หนังแท้
หนังแท้ จะมีราคาที่สูง มีกลิ่นหนังเป็นเอกลักษณ์ มีความนุ่ม ผิวจะเป็นรูพรุนตามธรรมชาติและมีความยืดหยุ่นมากกว่าหนังเทียม เวลาเอานิ้วกดลงไป รอยยับย่นจะปรากฎเป็นลักษณะเหมือนผิวคนแก่ เหี่ยว ๆ ให้เห็น และเมื่อปล่อยมือ มันจะใช้เวลาในการคืนสภาพนานหน่อย
คุณสมบัติของหนังแท้
- ไม่อมความร้อน หากอากาศเย็นเมื่อสัมผัสจะรู้สึกอุ่นขณะที่อากาศร้อนเมื่อสัมผัสจะ รู้สึกเย็น
- มีผิวสัมผัสที่รู้สึกดีกว่าวัสดุชนิดอื่น ให้ความนุ่มกว่าหนังเทียม
- ดูหรูหรา ภูมิฐาน
- มีความคงทนสูง (ถ้าใช้และดูแลอย่างถูกวิธี)
- รักษายากกว่าวัสดุตัวอื่น
- อาจเกิดเสียงดัง ออดแอดอันเกิดจากการเสียดสีของผิวสัมผัส
- เก็บความชื้นได้ดีกว่าหนังเทียม
3.3หนังเทียม PU PVC
หนังเทียม PU จะมีลักษณะหนืดเมื่อสัมผัส ด้านหลังจะเป็นชั้นพลาสติก หรือผ้าทอ PVC จะมีความแห้งของผิวมากกว่า ด้านหลังจะเป็นชั้นพลาสติก หรือผ้าทอ
เบาะหนังเทียมมีอยู่ 2 ประเภทคือทำจาก PU และ PVC หนังเทียม PU ให้ความรู้สึกเหมือนหนังแท้มากกว่า PVC สัมผัส ด้านหลังจะเป็นชั้นพลาสติก หรือผ้าทอ ความทนทานสู้ PVC ไม่ได้และราคาแพงกว่า ส่วนหนัง PVC จะมีความแห้งของผิวมากกว่า
คุณสมบัติของหนังเทียม
- อมความร้อน
- ผิวสัมผัสไม่สบาย อบ
- รักษาง่ายกว่าวัสดุตัวอื่น
- ไม่เก็บความชื้น
- ไม่ทนทานเท่าวัสดุตัวอื่น ๆ
การเลือกเฟอร์นิเจอร์ประเภทตู้ และโต๊ะ
ก่อนเลือกเราควรมารู้จักกับวัสดุต่างๆก่อนเพื่อให้เข้าใจถึงคุณสมบัติของวัสดุแต่ละประเภท
1).Particle Board คือ แผ่นไม้ที่ผลิต จาก การนำไม้ตามธรรมชาติมาบดย่อยเป็นชิ้นขนาดเล็กๆและนำมาอัดเข้ารูปเป็นแผ่นด้วยความร้อน กาวพิเศษ และแรงอัด พร้อมการผ่านกระบวนการทางเคมี เพื่อให้สามารถป้องกันความชื้นและปลวก แต่ทั้งนี้ม้าทิเคิลก็ยังเป็นไม้ชนิดที่ความทนทานต่ำมาก และไม่ทนต่อความชื้นและน้ำ
2).MDF ( Medium Density Fiberboard ) เป็น ไม้อัดที่ทำมาจาก ฝุ่นไม้ที่บดจนละเอียดผสมกาวแล้วอัดออกมาเป็นแผ่น ไม้แบบนี้นิยมนำมาใช้เป็นโครงสร้างส่วนที่ต้องการความแข็งแรง เพราะมีความหนาแน่นสูงกว่า Particle Board นิยมใช้ในงานสีพ่น Hi-gloss เพราะผิวที่เรียบเกลี้ยง แต่ MDF ก็เป็นวัสดุที่ไม่ทนต่อความชื้น มีน้ำหนักมาก ส่วนใหญ่โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ทำขายปริมาณมากๆจะไม่ใช้วัสดุนี้ เพราะแพงกว่าและน้ำหนักมากกว่าพาทิเคิลบอร์ด
3).ไม้อัด Plywood เกิดจากการรวมไม้หลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวกัน มีความทนทานสูง มีความคงตัวไม่ยืดหด เป็นวัสดุที่มีความทนทานมากกว่า MDF และพาทิเคิลบอร์ด ทนต่อความชื้นได้มากกว่า
4).ไม้จริง เป็นวัสดุที่ดีที่สุดในบรรดาไม้ที่นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ มีลวดลายที่เป็นธรรมชาติที่สุด แข็งแรงทนทานมากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ การขึ้นงานกลึง งานเฟรม ลูกฟัก ต้องใช้ไม้จริงในการทำ
วัสดุปิดผิว
-กระดาษ หรือจะเรียกกันให้สวยๆก็เรียกกันว่าฟอยล์
ปกติ Particle Board จะไม่มีสีและลายเหมือนธรรมชาติ เราจึงต้องนำมาเขียนคิ้ว ทาปากให้สวยก่อนโดยนำวัสดุต่างๆมาปิดผิวที่ นิยมกันทุกยี่ห้อก็คือฟอยล์
- พลาสติกหรือพีวีซี วัสดุ ชนิดนี้ก็มีกันหลายๆเกรด ตั้งแต่บางมากๆ ถึงหนา ข้อดีคือทนการขีดข่วนและกันน้ำได้ แต่สีและความสวยงามจะสู้ฟอยล์ไม่ได้ ส่วนใหญ่มักนำมาใช้กับโต๊ะทำงาน โต๊ะอาหาร แต่ก็มีใช้มาทำตู้เสื้อผ้า เตียง และอื่นๆกันบ้าง แต่ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
- เมลามีน ซึ่งคือวัสดุชนิดหนึ่งที่คล้ายคลึงกับพลาสติก แต่มีความสามารถในการทนทานต่อความร้อนและรอยขูดขีดนำ ไปใช้ผลิต เป็นวัสดุหลายชนิด และนำมาผลิตเป็นผืน ที่มีสีต่างๆกัน หรือมีการพิมพ์เป็นลวดลายไม้ สีต่างๆกัน เพื่อนำมาปิดเป็นผิวเคลือบลงบนวัสดุแผ่นต่างๆ เช่นแผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดที่นำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยนอกจากผิวเมลามีนแล้ว ยังมีผิวชนิดอื่นๆที่นำมาปิดบน ปาร์ติเกิลบอร์ดอีกเช่น กระดาษ พีวีซี แต่มีคุณสมบัติความทนทานที่ด้อยกว่า เมลามีน
- ลามิเนต วัสดุปิดผิว ชนิดนี้ ตลาดเรียกว่า ฟอร์ไมก้า เหมือน เรียก ผงซักฟอก ว่าแฟ๊บ จะเป็นแผ่นเหมือนไม้อัดบางๆปิดทับอีกที นิยมใช้กันมากกับงานบิวท์อิน เพราะง่าย ราคาไม่แพง มีหลายสีให้เลือกมากมาย ทนต่อน้ำและรอยขีดข่วนได้ดี แต่มีข้อเสียคือ เปราะ และมักจะร่อนเป็นแผ่นๆ มีหลายๆเกรดเช่นเดียวกัน ตั้งแต่หลักไม่กี่บาทจนถึงหลายๆพัน
- วีเนียร์ เป็นแผ่นไม้ฝานบางๆ จนถึงบางมากๆ แปะทับลงบนเอ็มดีเอฟ ให้ลายไม้เหมือนจริง เพราะทำมาจากไม้จริง มีให้เลือกหลายลาย แต่ ข้อเสียมีเยอะมากไม่ทนต่อรอยขีดข่วน ไม่ทนน้ำมากนัก เปราะหักได้ง่ายตรงขอบ
ข้อมูลอ้างอิงจาก
http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=85239
http://www.aseanliving.com/blog/decor/19-types-of-furniture.html
http://juneocto.blogspot.com/2011/03/blog-post.html
http://www.fortycm.com/idea-of-living/howtochooseasofa.html
เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia
#Wazzadu #WazzaduEncyclopedia #WazzaduAcademy #furniture #MovableFurniture #InteriorDesign #material #เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว #พื้นไม้ #วัสดุ
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม