“The Commons" Green Community แห่งย่านทองหล่อ ผลงานสถาปนิกไทย ที่คว้ารางวัลในระดับโลก

"The Commons"

เป็นผลงานการออกแบบของ DEPARTMENT OF ARCHITECTURE ซึ่งเป็นอีกบริษัทที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่ง The Commons ได้รับรางวัลมาแล้วหลายสาขาด้วยกัน และล่าสุดนี้ก็สามารถคว้ารางวัลในสาขา Commercial-Shopping Center จาก Architizer A+ Awards ครั้งที่ 5 ในนครนิวยอร์ก ซึ่งถือเป็นอีกเวทีใหญ่ด้านการออกแบบที่รวบรวมผลงานด้านการออกแบบจากทั่วโลกนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของไทยที่จะได้เห็นผลงานสถาปนิกไทยในเวทีระดับโลกมากขึ้น

จุดเริ่มต้นของ "Green Community" แห่งย่านทองหล่อ

จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการให้เป็นแค่ community เป็นพื้นที่ที่รวมผู้ประกอบการ เจ้าของร้านที่ได้เลือกสรรเป็นอย่างดีแล้วมาอยู่ร่วมกันทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้ที่มาใช้งานได้คุณภาพชีวิตที่ดีจากการที่มาทำกิจกรรมต่างๆ,รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มดีๆที่นี่ อีกทั้งยังต้องการสร้างความแตกต่างของห้างให้มีภาพลักษณ์ต่างไปจากเดิม มีพื้นที่ให้คนเมืองมาพักผ่อนอยู่ในบรรยากาศที่ไม่ใช่ห้องแอร์บ้าง ได้ใช้เวลาอยู่ข้างนอกและใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น

แนวคิดการออกแบบที่ต้องการสร้างพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อให้ให้กลุ่มคนทุกกลุ่มมาใช้งานได้

 เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน community ทั่วไปซึ่งมีการใช้งานเกิดขึ้นแค่ในบางพื้นที่เท่านั้น จึงมีความต้องการที่จะแก้ปัญหาในจุดนี้ขึ้นด้วยการทำให้ทุกพื้นที่ใน community มีการเข้าถึงภายในโครงการอย่างเท่าเทียมกัน เกิดเป็นพื้นที่ที่คนต้องการใช้งานจริงๆเพื่อไม่ให้พื้นที่เสียเปล่า นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีพื้นที่ส่วนกลางที่ใหญ่เป็นพิเศษ เพราะบ้านของคนเมืองทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นคอนโดและมีพื้นที่ไม่มาก ดังนั้นจึงต้องการที่จะสร้างพื้นที่ส่วนกลางไว้สำหรับให้กลุ่มคนทุกกลุ่มมาใช้งานได้ 

การเลือกใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่แฝงด้วยกลิ่นอายที่น่าค้นหา

ไม่ได้ใช้วัสดุที่ราคาสูงมาก แต่ตอบโจทย์กับพื้นที่และการใช้งานเป็นหลัก โดยตัวของอาคารมีลักษณะเป็นอาคารปูนเปลือย ใช้เหล็กฉีกเป็นทั้งราวกันตกและผิวของอาคาร ซึ่งมีความต้องการให้เหมือนมีม่านบางๆมาคลุมตัวอาคารไว้ สามารถระบายอากาศได้ดี มีวิธีการนำไปใช้ที่น่าสนใจคือการกรีดและพับเกิดเป็นดีเทลที่น่าสนใจ ส่วนบันไดและพื้นชั้นสองเลือกใช้ไม้เทียมทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษาและปรับเปลี่ยนแก้ไข นอกจากนี้ยังใช้สังกะสีลอนสติปตกแต่งผนังในบางโซนของร้านค้า มีการทดลองทำสนิมขึ้นเองเพื่อควบคุมคุณภาพและลายให้ได้ตามความต้องการจริงๆ

ตัวตนอันเป็นเอกลักษณ์ของ“The Commons"

การที่มีบันไดกลางที่เชื่อมทุกชั้นของตัวอาคารเข้าด้วยกัน ไม่แบ่งแยกพื้นที่ชัดเจน ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นพื้นที่เดียวกันทั้งชั้น 1 และชั้นกราวน์ สามารถมองเห็นหน้าร้านของชั้นบนพร้อมๆกันตั้งแต่อยู่ชั้นล่าง นอกจากนี้ตัวบันไดใหญ่ ยังสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกอยากเดินขึ้นบันไดเองโดยไม่รู้สึกถูกบังคับ ในเรื่องของโครงสร้างไม่วางเสาเป็นกฤตลายเพราะไม่อยากให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่ใต้ถุน จะใช้วิธีการแรนด้อมวางตำแหน่งของเสาเองทั้งนี้เพื่อให้เกิดพื้นที่ที่รู้สึกสบายไม่อึดอัด ชั้นสามและชั้นสี่จะเป็นเหมือนเป็นร่มให้กับชั้นล่างที่โล่ง ที่ทำหน้าที่กันแดดกันฝนให้นั่งกันได้ทั้งวัน ด้านหน้าสวยเด่นด้วยตะแกรงเหล็กบางๆ ที่ทำหน้าที่คล้ายม่านคลุมตัวอาคารไว้และกลมกลืนไปกับสถาปัตยกรรมปูนเปลือยของที่นี่ 

เทคนิคการเพิ่มความเย็นให้กับตัวอาคารคือจะใช้พัดลมดูดอากาศขึ้นไปด้านบนหลังคา นอกจากนี้ด้วยลักษณะโครงสร้างของตัวอาคารที่มีที่มีการยกเสาสูงเป็นพื้นที่เปิดโล่งทำให้อากาศมีการถ่ายเทได้สะดวกอยู่แล้ว และยังมีพัดลมขนาดใหญ่มาช่วยทำความเย็นในส่วนชั้นล่างเพิ่มเติม ทั้งนี้ผู้ออกแบบเองพยายามที่จะทำให้ The Commons สามารถใช้งานได้ทั้ง 365 วัน ไม่ว่าฤดูกาลไหนก็ยังสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทำให้เห็นถึงความใส่ใจของผู้ออกแบบจริงๆ

“The Commons"ให้คุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ใช้งานอย่างไร..?

เกิดเป็นพื้นที่ชุมชนในรูปแบบใหม่ขึ้นมา เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทุกคนได้มาแบ่งปันกิจกรรมกันที่นี่ คนทั่วไปสามารถมาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ได้นาน เป็นสถาปัตยกรรมที่ตอบโจทย์กับสังคมสมัยใหม่ และยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ด้วย

(บน)ชั้นจอดรถใต้ดิน

(ล่าง)ผังพื้นชั้น 1

เหตุผลที่ผู้ออกแบบคิดว่ามีผลต่อการได้รับรางวัล Architizer A+ Awards​

เหตุผลคือการสามารถตอบโจทย์ และแก้ปัญหาการใช้งานของคนที่อาศัยอยู่ในประเทศโซนร้อนได้ดี คือสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่เปิดในเมืองร้อนให้อยู่ได้อย่างสบายได้ ทั้งนี้ไม่ได้มีการใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ยากหรือใช้วัสดุที่แพงมากแต่สามารถสร้างอาคารและจัดการบริหารพื้นที่ภายในอาคารให้เกิดการใช้งานในทุกๆพื้นที่ได้ 

ผังพื้นชั้น 2

(บน)ผังพื้นชั้น 3

(ล่าง)ผังพื้นชั้น 4

(บน)ผังหลังคา

(ล่าง)รูปด้านอาคาร

ผู้ออกแบบ : DEPARTMENT OF ARCHITECTURE

เจ้าของโครงการ : คุณวิชรี วิจิตรวาทการ และ คุณวรัตต์ วิจิตรวาทการ

ที่อยู่โปรเจค : 335 ทองหล่อ ซอย 17 กทม.

 

รูปภาพประกอบโดย : W Workspace, Ketsiree Wongwan and Wazzadu.com

               

#Wazzadu #Decorativesocialplatform #DEPARTMENTOFARCHITECTURE#TheCommons #Commercial-ShoppingCenter#ArchitizerA+Awardsครั้งที่5 ##AStoryofanordinarygal #INSPIRESPECTIVE

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ