ฟื้นฟูอาคารเก่าให้กลายเป็นบ้านพักในสไตล์ Contemporary ในแบบยุค 90’ด้วยวัสดุเหล็กกับอลูมิเนียม

อาคาร Fitzroy Loft  โปรเจคการปรับปรุงบ้านพักอาศัย แถวเขตเมือง “เมลเบิร์น” (Melbourne) ที่ประเทศออสเตรเลีย ผลงานการออกแบบของ Architects EAT ด้วยสภาพอาคารเก่าในยุคช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่นิยมใช้วัสดุที่เน้นลวดลายของอิฐกับสีคอนกรีตดิบๆ เเละโครงสร้างของเหล็กรวมกัน  ด้วยที่ตั้งย่านนั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรม รวมจนถึงอาคารบ้านพักที่เป็นเอกลักษณ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการปรับปรุงโปรเจคนี้จึงได้มีการดึงเอา “สัจจะเดิมของบริบท”  มาออกแบบ

ในการออกแบบ จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าอาคารหลังนี้ไม่ได้มีพื้นที่ภายนอกที่ชัดเจน เเต่ได้มีการออกแบบพื้นที่ภายในอาคารบางส่วนให้เป็นภายนอก โดยเน้นเปิดให้เป็นส่วน public area (ส่วนกลาง) ของบ้านบวกกับการปรับพื้นทางเดินที่ปลูกด้วยหญ้าญี่ปุ่น ที่เสริมสร้างบรรยากาศให้ดูมีชีวิตชีวาเเละเเสงเเดดที่ส่องเข้ามาผ่านกับโครงหลังคาเหล็กที่เป็นช่องเปิดของหลังคา อีกสิ่งที่เป็นจุดเด่นของบ้านหลังนี้อีกอย่างในเเต่ละห้องหรือพื้นที่ต่างๆ ได้มีการกั้นห้องที่ใช้โครงเหล็กหรืออลูมิเนียมสีดำที่เเบ่งช่องปิดเปิดไว้เป็นกระจกเกือบทั้งหมดเพื่อที่จะให้พื้นที่ในเเต่ละโซนดูไม่อึดอัดเกินไป

เมื่อได้เข้ามาภายในตัวบ้านแล้ว ถ้าเราได้มองออกไปข้างนอกก็จะเห็นกับโซนที่เปิดโล่งกับห้องรับเเขกเเทบจะเป็นพื้นที่เดียวกัน ด้วยขนาดพื้นที่ด้านหน้ามีสัดส่วนที่เเคบ ฉะนั้นอาคารนี้จึงเน้นเปิดโล่งกับด้านยาวเพื่อทำให้บริเวณ public area (ส่วนกลาง) ของบ้านดูกว้างขึ้น เเละยังได้ตกเเต่งให้ผนังด้านนอกกับด้านในให้เป็นลวดลายอิฐที่ทาด้วยสีขาว เพื่อทำให้เกิดความสว่างให้กับห้องอีกด้วย

มาดูบรรยากาศภายในบ้านกันบ้าง สิ่งที่สำคัญของโปรเจคนี้อย่างที่ได้กล่าวไป บรรยากาศตั้งเเต่ภายนอกจนถึงภายในอาคารที่ดูเเล้วมีความเป็น Contemporary (สถาปัตยกรรมเเบบร่วมสมัย) หรือถ้าดูดีๆ ก็เหมือนกับเรามีบ้านที่มีกลิ่นอายของความเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเก่า ด้วยการผสมผสานความเป็นโมเดิรน์เข้าไปด้วยก็ยิ่งทำให้บ้านเกิดมิติใหม่ที่น่าสนในใจ 

ด้วยการปรับปรุงอาคารเดิมให้กลับมาใหม่ ไม่ใช่หมายความว่าจะต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด เเต่ยังมีพื้นที่บางส่วนที่อยู่รวมกันเเล้วทำให้เกิดความเป็น Contemporary (สถาปัตยกรรมเเบบร่วมสมัย) อย่างเช่น วัสดุที่เน้นเป็นอิฐโชว์เเนว ผนังคอนกรีตและเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบมินิมอล

อีกหนึ่งมุมของบ้านที่น่าสนใจกับโซนนั่งเล่นที่ตอบโจทย์ใน Function (การใช้งาน) ของพื้นที่ได้หลากหลายเหมาะกับชิวิตสมัยใหม่ กับการตกเเต่งชั้นว่างหนังสือเเละชั้นเก็บของที่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยถือว่าเป็นไฮไลท์ของห้องก็ว่าได้ เเต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้ภายในห้องยังมีเปิดช่องเเสงด้านมุมของห้อง มาใช้เพื่อเพิ่มความสว่างในการอ่านหนังสือ แล้วแถมยังทดเเทนการใช้หลอดไฟได้ดี

บรรยากาศชั้นสอง ด้วยผนังที่เป็นโครงเหล็กหรือโครงอลูมิเนียมสีดำ เเละเน้นใช้เป็นวัสดุกระจกทั้งหมดเพื่อเกิดความโปร่งของห้อง อีกทั้งยังเพิ่มการมองเห็นของพื้นได้รอบด้าน เเต่บางทีถ้ามีเเสงเเดดส่องเข้ามามากเกินไป ก็ครวมีผ้าม่านปิดบังเเดดด้วยยิ่งดี 

บรรยากาศห้องนอนก็เป็นอีกหนึ่งโซน ที่มีบรรยากาศแบบเรียบง่ายอบอุ่น ด้วยการเลือกใช้วัสดุโครงเหล็กโทนสีเข้มรวมถึงการโชว์โครงสร้างของหลังคายิ่งทำให้ห้องเกิดมิติที่ดูดีมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

มาดูบรรยากาศภายในห้องน้ำกันบ้าง ด้วยพื้นที่ห้องที่มีขนาดเล็กเเต่การออกแบบด้วยเทคนิคการใช้วัสดุโปร่งเเสงกับโครงอลูมิเนียมที่ดีไซน์เป็นช่องกริดเล็กๆ ที่ทำให้เกิดมิติของห้องที่ดูกว้างขึ้นอีกด้วย

  • GSD52 Sliding Model

    ประตู-หน้าต่าง ประตู

    Online
  • ระบบผนังกันเสียง

    ประตู-หน้าต่าง หน้าต่าง

    Online

โปรเจคอาคาร Fitzroy Loft ถือเป็นเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างบ้านพักที่น่าสนใจ เพียงเเค่การเลือกใช้วัสดุจากเหล็กเเละอลูมิเนียมมาตกเเต่ง ถ้าหากใครกำลังอยากปรังปรุงอาคารเดิมให้กลับมาดูดีมีสไตล์อีกครั้ง ลองเอาวิธีการปรับเเต่งต่างๆ ของโปรเจคนี้ไปศึกษาดูได้เลยครับ

เนื้อหายังมีอีกเยอะเลยครับ ไว้จะมาต่อในตอนถัดไป และชอบใครชอบคอนเทนต์นี้กดไลค์เป็นกำลังใจหรืออยากแบ่งปันอะไรคอมเมนท์เอาไว้ได้เลย แล้วพบกันใหม่ตอนหน้านะครับ

ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.archdaily.com    http://www.designboom.com 

#Wazzadu #Decorativesocialplatform #CollectionMaterialIdea #FitzroyLoft #ArchitectsEAT #Apartments #Renovate #Aluminium #อาคารพักอาศัย #ปรับปรุงอาคาร #อลูมิเนียม

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ