วัสดุแห่งอนาคต Green Graphene นวัตกรรมที่ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์

รู้จัก Graphene คืออะไร?

กราฟีน (Graphene) คือ วัสดุที่เป็นส่วนหนึ่งของแกรไฟต์ มีการเรียงตัวของอะตอมในรูปแบบ 6 เหลี่ยม และเรียงตัวกันเพียงชั้นเดียว มีความหนาเท่ากับแค่คาร์บอนอะตอมเดียว มีความเบาและโปร่งใส ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนถึงจะมองเห็นเป็นเยื่อบางๆ ลักษณะคล้ายกระดาษยับๆ

 

Green Graphene ที่จะเปลี่ยนโลกสู่ Net Zero อย่างไร?

Green Graphene เป็นกระบวนการผลิตที่สร้างกระบวนการนำคาร์บอนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ด้วยการแปลงจากขยะเหลือทิ้งต่างๆเป็นกราฟีน ซึ่งระหว่างกระบวนการผลิตการเผาขยะด้วยความร้อนสูงและใช้เทคโนโลยี Carbon Capture Utilization ในการดักจับคาร์บอน ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์

 

ประโยชน์ที่ได้ออกมาจากการแปลง Waste เป็น Green Graphene จะแบ่งเป็น 3 ด้านหลักทาง Net Zero ดังนี้

1. ช่วยในการบริหารจัดการขยะ (Waste Management)

สามารถช่วยจัดการขยะเหลือทิ้งจากอุตสากรรมต่างๆได้ เช่น กลุ่มขยะชีวมวล กากมะพร้าว ชานอ้อย

ใบอ้อย มันสำปะหลัง น้ำตาลดิบ รวมถึงขยะจากกลุ่มพอลิเมอร์เป็นต้น ช่วยการจัดการขยะและการหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ และยังช่วยลดต้นทุนในการกำจัดของเสียและนำมาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวให้องค์กรอีกด้วย

 

2. สร้างคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)

Green Graphene สามารถสร้างคาร์บอนเครดิตได้จากกระบวนการ Carbon Capture Utilization (CCU) ที่ดักจับคาร์บอนระหว่างการผลิตและนำไปใช้ประโยชน์ต่อ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ในตลาดซื้อขาย หรือจากองค์กรอื่นๆ ที่ต้องการ

 

3. กราฟีนจากขยะ (Green Graphene)

Green Graphene เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษที่มีความแข็งแรงกว่าเหล็ก 200 เท่า และนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง เป็นวัสดุที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 $/kg ช่วยเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งได้ 1,000 เท่า สามารถนำกราฟีนไปทำการวิจัยและพัฒนา ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น แบตเตอรี่กราฟีนในรถ EV, คอนกรีตคาร์บอนต่ำ, กราฟีนในท่อ, กราฟีนในสิ่งทอ และกราฟีนในการเคลือบรถยนต์เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การเติมกราฟีน 0.1% สามารถใช้ในการเพิ่มความแข็งแรงให้คอนกรีตมากขึ้นถึง 35% จึงอาจสามารถให้ช่วยก่อสร้างที่มีผนังบางลง หรือลดการใช้ซีเมนต์ และอื่นๆ เป็นต้น

และถ้าคุณสนใจนวัตกรรมนี้ ที่ Baramizi Climate Tech มีการวิจัยเกี่ยวกับกราฟีนที่ สรุปคุณสมบัติและประโยชน์ด้านการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ที่มีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

1. เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติความแข็งแรงกว่า เหล็ก 200 เท่า

2. สามารถนำไฟฟ้าได้มากกว่าทองแดงหลายเท่าตัว และยังสามารถนำความร้อนได้ดีกว่า

3. ใช้ในการเพิ่มความแข็งแรงให้คอนกรีตมาก ขึ้นถึง 35% เพียงผสมกราฟีน 0.1%

4. เป็นวัสดุที่ช่วยในการลดปริมาณขยะและ คาร์บอนฟุตพริ้นท์

5. มีส่วนช่วยในการลดโลกร้อน เพราะช่วยลดคาร์บอนจากเทคโนโลยี Carbon Capture Utilization ที่ดึงคาร์บอนกลับมามาใช้ใหม่

6. เป็นวัสดุที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 USD/kg ตีเป็นเงินบาทก็อยู่ที่ 240,000 กว่าบาท

7. ช่วยเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งได้ 1,000 เท่า จากการที่นำขยะมาเปลี่ยนเป็นกราฟีน

 

จะเห็นได้ว่า Green Graphene ที่นอกจากจะผลิตจากขยะเหลือทิ้ง ช่วยจัดการกับขยะชีวมวลต่างๆ ที่เหลือจากอุตสาหกรรม แล้วยังสามารถช่วยดักจับและลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะกลายมาเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษและมีมูลค่าสูงอย่างกราฟีนที่สามารถนำไปต่อยอดกับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างดีในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก

https://www.baramizi-consultant.com

 

สนใจ Green Graphene หรือ G Phene สอบถามที่
Baramizi Climate Tech เพจ https://www.facebook.com/Baramizi
หรือที่เบอร์ 0922808360

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ