ความต้องการพื้นที่สำหรับห้องออกกำลังกาย (Area requirement for a gym)

เทรนด์รักสุขภาพยังคงเป็นเทรนด์ที่มาแรงในทุกปี เพราะการออกกำลังกายไม่ใช่เพียงสุขภาพกายที่ดีเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยเรื่องสุขภาพจิตให้ดีได้อีกด้วย ผู้คนจึงหันมาใส่ใจสุขภาพด้วยการออกกำลังกายกันมากขึ้น ไม่ว่าจะออกด้วยตัวเองที่บ้าน ออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะ หรือ ออกไปใช้บริการฟิตเนส

ปัจจัยในการเลือกออกกำลังกายตามสถานที่ต่าง ๆ นั้นเองก็มีหลากหลาย บางคนไม่ค่อยมีเวลาจึงเลือกออกกำลังกายเองที่บ้าน หรือ บางคนชอบออกกำลังกายกลางแจ้ง ส่วนปัจจัยที่คนนิยมไปออกกำลังกายที่ฟิตเนส หลัก ๆ คงเป็นเรื่องความพร้อมของอุปกรณ์ที่ไปที่เดียวก็สามารถเลือกออกกำลังกายได้หลายแบบ หรือ เรื่องของแรงจูงใจที่พอเราได้เข้าไปอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของคนที่ออกกำลังกาย ทำให้เรามีแรงบันดาลใจอยากกำลังกายไปด้วย

แล้วทุกคนรู้ไหมครับว่าภายในยิมหรือฟิตเนสที่คนไทยเรียกกันนั้น มีหลักการออกแบบยังไงให้ตอบสนองต่อการใช้งาน วันนี้ Wazzadu  Encyclopedia จะพาทุกคนมาดูกันว่า ห้องออกกำลังกายเค้าออกแบบกันยังไง เครื่องออกกำลังกายแต่ละเครื่องต้องการพื้นที่เท่าไหร่ ไปชมกันเลยครับ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำห้องฟิตเนส

จุดประสงค์ของโครงการ (Objective)

สิ่งแรกที่ควรทำคือรู้ว่าห้องออกกำลังกายของเราทำมาเพื่อกลุ่มเป้าหมายใด ทั้งเรื่องจำนวนคน รูปแบบโครงการว่าเป็นห้องออกกำลังกายในบ้าน ฟิตเนสคอนโด ฟิตเนสหมู่บ้าน ฯ และลักษณะการออกกำลังกาย เช่น ออกกำลังกายส่วนตัว ออกกำลังกายแบบกลุ่ม เพื่อที่จะสามารถวางแผนการออกแบบให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้เรื่องของเวลาและงบประมาณได้รับการจัดการไว้ก่อนด้วย

ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน (Design and Function)

พื้นที่ต้องตอบโจทย์บการออกกำลังกายจริงๆ เช่นยิมเล่นเวทที่ต้องมีพื้นที่แข็งแรง รองรับน้ำหนักการกระแทกของบาร์เบลได้ หรือเครื่อง Power rack ที่ต้องใช้เพดานสูงในการตั้งเครื่อง ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ใช้งาน เบื้องต้นควรคำนึงถึง

ขนาดและพื้นที่ในยิม (Gym size and space) : ต้องเหมาะสมกับการใช้งานจริง หากคนมาใช้บริการมากเกินไปจนแออัด คับแคบ จะมีผลต่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการออกกำลังกาย ควรจัดวางเลย์เอาท์ให้เหมาะสมก่อนซื้อเครื่องออกกำลังกาย

  • พื้นและเพดาน (Floor and Ceiling)

พื้นที่เลือกต้องมีความมั่นคง สามารถรับแรงกระแทกและน้ำหนักจากเครื่องออกกำลังกายประเภทต่าง ๆ ได้ รวมถึงมีพื้นผิวที่เหมาะสมตามการใช้งาน ถ้าฟิตเนสมีการออกกำลังกายแบบ Functional Training จากการเล่นเวท หรือ Resistance Machine ที่มีน้ำหนัก ควรเลือกใช้พื้นที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ความหนาแน่นสูงที่อาจทำจากโฟม หรือยาง เพรามีความหนาเหมาะสม สามารถป้องกันความชื้นได้และมีหลากหลายสี ส่วนเพดานต้องสูงและโปร่งพอที่จะทำให้รู้สึกสบาย ไม่อึดอัด และเหมาะกับการออกกำลังกายที่ต้องใช้เครื่องออกกำลังกายขนาดใหญ่มีโครงสูงเช่นกัน

  • พื้นที่เก็บของและล็อคเกอร์ (Storage Space And Lockers)

 จัดวางเลเอาท์อย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถรู้ได้เองว่าจัดเก็บของตรงไหน อะไรวางตรงไหน จะลดปัญหาเรื่องของการจัดการทำความสะอาด อีกทั้งหากมีพื้นที่จัดเก็บที่เหมาะสมก็ช่วยให้มีพื้นที่เหลือเพิ่มขึ้นด้วย

  • ระบบภายใน (Internal System)

 เรื่องเสียงเพราะสำหรับยิมที่มีหลายห้องและหลายโซนการจัดการเสียงไม่ให้ดังเกินไปจนตีกันถือเป็นเรื่องจำเป็น การระบายอากาศหรืออุณหภูมิ สำหรับการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมาก ระบบการระบายอากาศก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก รวมไปถึงระบบไฟ ที่จะส่งผลต่อความรู้สึกระหว่างการออกกำลังกายของผู้ใช้งานด้วย

  • ออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้ (User Journey)

การออกแบบที่ดีจะส่งผลต่อประสบการณ์ ความรู้สึก และความพึงพอใจที่ผู้ใช้จะได้รับตั้งแต่เริ่มเดินเข้าฟิตเนสเลยทีเดียว ดังนั้นการออกแบบที่ดีจึงสำคัญเพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้เองว่าต้องเดินไปทางไหน เมื่อเข้ามาในยิมโดยไม่สับสน ช่วยลดจำนวนพนักงานที่ต้องคอยบอกทางและทำให้การจัดการภายในง่ายมากยิ่งขึ้น

ประเภทและความต้องการพื้นที่ในการใช้งานเครื่องออกกำลังกาย

Cardio Zone

เครื่อง Cardio เป็นสิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้ในทุกๆ Fitness เช่น ลู่วิ่งไฟฟ้า, จักรยาน, เครื่องเดินวงรี ฯ เพราะการออกกำลังกายแบบ Cardio นั้นใช้งานได้ง่ายและได้ประโยชน์ที่หลากหลาย

  • ควรจัดวางโซนคาร์ดิโอ อาทิเช่น ลู่วิ่ง, จักรยาน, เครื่องเดินวงรี ให้ตั้งวางใกล้กับหน้าต่าง จะทำให้เห็นบรรยากาศรอบ ๆ ไม่น่าเบื่อ โดยไม่รู้สึกอึดอัด
  • ควรเว้นระยะห่างด้านข้างของเครื่อง อย่างน้อย 30 - 60 เซนติเมตร เพื่อรองรับการออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่

Weight training Zone

เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้มีสรีระที่สวยงาม หรือพูดง่าย ๆ คือ มีกล้ามเนื้อ หุ่นดีนั่นเอง และในปัจจุบัน ก็ยังมีกลุ่มหนุ่ม ๆ สาวๆ ที่หันมาสนใจการ Weight training มากขึ้น เครื่องออกกำลังกาย Weight training อาทิ เช่น บาร์เบล (Barbell), ดัมบ์เบล (Dumbbell), ยางยืด (Resistance Band), เชือกออกกำลังกาย (Battle Rope) เป็นต้น

  • ควรเลือกจัดวางเครื่องออกกำลังกายในมุมที่ใกล้กระจก หรือหน้าต่าง เพื่อเห็นท่าทางการออกกำลังกายในขณะเล่น ช่วยโฟกัสกล้ามได้เนื้อได้อย่างตรงจุด
  • ควรเว้นระยะห่างด้านข้างของเครื่อง อย่างน้อย 30 - 60 เซนติเมตร
  • ควรจัดวางเครื่องต่าง ๆ ให้อยู่รวมกัน เพื่อสามารถการจัดวางแผ่นรองพื้นป้องกันน้ำหนักที่หล่นลงพื้น พื้นห้องไม่เสียหาย

อุปกรณ์ฟิตเนสขั้นพื้นฐาน และความต้องการพื้นที่

*เว้นพื้นที่ประมาณ 10 - 20 ตารางฟุตต่อคนออกกำลังกาย 1 คน

ลู่วิ่งไฟฟ้า (Treadmill)

  • ขนาดพื้นที่ กว้าง x ยาว จะสำคัญต่างกัน

ความยาวของลู่วิ่ง : มีผลต่อส่วนสูงของคนวิ่ง โดยเฉพาะสำหรับคนที่ตัวสูงจะมีระยะก้าวที่ยาว การที่พื้นที่วิ่งสั้นจะทำให้วิ่งก้าวเท้าได้ไม่เต็มที่

ความกว้างของลู่วิ่ง : มีผลด้านความสบายและความปลอดภัย ยิ่งลู่วิ่งที่พื้นที่วิ่งกว้าง จะทำให้ผู้วิ่งรู้สึกมีอิสระในการวิ่งไม่ต้องกังวลเรื่องการวางเท้าเวลาวิ่ง และยังปลอดภัยกว่าเพราะเวลาวิ่งแล้วโอกาสที่เท้าจะไปโดนขอบพักเท้านั้นมีน้อย

  • ขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ที่ ความกว้างของสายพานประมาณ 40-48 ซม. ความยาวประมาณ 120-140 ซม.
  • ควรเว้นพื้นที่ด้านข้างและด้านหน้าอย่างน้อย 60 ซม. และด้านหลังอย่างน้อย 180 ซม.

จักรยานออกกำลังกาย (Bike)

เป็นอุปกรณ์ฟิตเนสแบบคาร์ดิโอ มีพื้นที่ประมาณ 10 ตารางฟุต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ จักรยานออกกำลังกายนั่งปั่นแบบไม่มีพนักพิง (Upright bike) และจักรยานออกกำลังกายนั่งปั่นแบบมีพนักพิง (Recumbent bike)

  • ขนาดขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 40 x 90 ซม.

เครื่องเดินวงรี (Elliptical)

เป็นอุปกรณ์ฟิตเนสแบบคาร์ดิโอ มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางฟุตอุปกรณ์ฟิตเนสชนิดนี้จะทำให้หลัง หัวเข่า และข้อเท้า ไม่ได้รับแรงกระแทกมากจนเกินไป

  • ความสูงผู้ใช้ ต่ำกว่า 160 ซม. ควรใช้เครื่องเดินวงรีที่มีช่วงก้าว 16 – 18 นิ้ว
  • ความสูงผู้ใช้ 160 – 170 ซม. ควรใช้เครื่องเดินวงรีที่มีช่วงก้าว 18 – 20 นิ้ว
  • ความสูงผู้ใช้ มากกว่า 170 ซม. ควรใช้เครื่องเดินวงรีที่มีช่วงก้าว 20 – 22 นิ้ว

เครื่องกรรเชียงบก (Rowing machine)

เป็นเครื่องคาร์ดิโอที่มีแรงกระแทกต่ำ ช่วยในการออกกำลังกายได้ทั้งส่วนบน ส่วนล่าง และแกนกลางของร่างกาย ในเวลาเดียวกัน

  • ขนาดขั้นต่ำ 60 x 100 cm.

ชุดดัมเบล (Dumbbell)

เป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายเบื้องต้นที่ไม่เพียงแต่เน้นคาร์ดิโอเท่านั้น ยังสามารถเน้นในการออกกำลังกายรูปแบบเวทเทรนนิ่งได้อีกด้วย อุปกรณ์ฟิตเนสอย่างชุดดัมเบลจึงมีตั้งแต่น้ำหนักเบาไปจนถึงน้ำหนักมาก

  • ขนาดชั้นวางดัมเบลขั้นต่ำประมาณ 50 x 100 ซม.

จะเห็นได้ว่าการออกแบบฟิตเนสสำหรับออกกำลังกาย สิ่งสำคัญคือจัดสรรพื้นที่ให้ตรงตามความต้องการ เว้นพื้นที่เครื่องออกกำลังกายเพื่อให้ปลอดภัยต่อการเกิดอุบัติเหตุและเป็นส่วนตัวต่อผู้ใช้ และออกแบบให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดี จึงควรวางแผนการออกแบบก่อนซื้อเครื่องออกกำลังกาย พอเราได้รู้ดังนี้แล้วก็ถึงเวลาเดินเข้ายิมไปออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพราะบางทีถ้าวิ่งตามใครสักคนแล้วเหนื่อย อาจจะไม่ใช่ความรักแต่คือการออกกำลังกายครับ ผ่าม!!

แปลและเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

© Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ