เทรนด์รักษ์โลก เป้าหมายหลักของการก่อสร้างไทย

หลังจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้วิถีชีวิตและการทำงานในหลาย ๆ ภาคส่วนหยุดชะงักไป ซึ่งรวมถึงภาคการก่อสร้างด้วย วงการอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างอาคารต่าง ๆ จึงมีอัตราการเติบโตที่น้อยลง แต่หลังจากที่สถานการณ์ดีขึ้นทุกอย่างกลับมาดำเนินการต่อได้เหมือนเดิม และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย 

แต่นอกเหนือจากเรื่องการเติบโตของวงการก่อสร้างในไทยที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านอสังหาริมทรัพย์ อย่างบ้าน คอนโดมิเนียม และการก่อสร้างอื่น ๆ เช่น โรงงาน โกดังในนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีเรื่องของเทรนด์ใหญ่ หรือ Mega Trend ในการตั้งเป้าหมายให้การก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือรักษ์โลกถูกให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปีถึงสองปีมานี้ความสำคัญของเรื่องนี้ดูจะเพิ่มเป็นเท่าตัว

โดยบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลาย ๆ เจ้าเริ่มมีการออกนโยบายที่ทำให้สิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้านหรืออาคารสำนักงานมีความเป็น Green Building และอนุรักษ์พลังงาน รวมไปถึงบริษัทพัฒนาด้านโรงงานและโกดังต่าง ๆ มีการตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนว่าภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะต้องให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในการดูแลเป็นอาคารรักษ์โลกในอัตราส่วนที่มากขึ้นจากเดิมให้ได้ ผ่านนโยบาย นวัตกรรมและขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อให้อาคารสร้างมลภาวะที่น้อยลง ให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดการเบียดเบียนธรรมชาติในระยะยาว และผลักดันให้การก่อสร้างไทยตอบโจทย์เทรนด์สิ่งแวดล้อมในระดับสากลได้

วงการก่อสร้างพร้อมและให้ความสำคัญกับเทรนด์รักษ์โลกมากกว่าเดิม

ในบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์และโครงการที่มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่จำนวนมาก ได้เริ่มปรับตัวเพื่อให้ขั้นตอนการก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและหันมาใส่ใจให้อาคารที่สร้างขึ้นตรงตามเกณฑ์ประเมินด้านความยั่งยืนมากขึ้น เป็นเพราะผู้ใช้งานทั้งในและนอกประเทศต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงสถานการณ์ของโลกเริ่มเผชิญความวิกฤตที่หนักหน่วงขึ้น ดังนั้นการก่อสร้างถือว่าเป็นหนึ่งในส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงการทำงาน ให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นมีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม 

เราจึงเห็นได้ว่าในทุกวงการไม่ว่าจะเป็นการ อุปโภค บริโภค ตลอดจนวงการก่อสร้างเองก็มีรูปแบบดำเนินการที่แตกต่างไปจากเดิม มีการคำนึงถึงผลกระทบ มลภาวะและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการแสดงจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน ผ่านทางนโยบายของบริษัท นโยบายของภาครัฐ รวมไปถึงการตอบรับและเข้าร่วมกับนโยบายในเวทีโลก นั่นก็เพื่อปรับเปลี่ยนให้องค์กรกลายเป็นส่วนนึงที่จะช่วยกู้วิกฤตของโลกให้กลับมาดีขึ้น รวมถึงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนและสังคม สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ตั้งเป้าหมายรักษ์โลกให้เข้มข้นขึ้น ผ่านงานก่อสร้างทุกรูปแบบ

ถ้ามองในเวทีโลกเราจะเห็นได้ว่ามีการร่วมกันตั้งเป้าหมาย Net Zero เอาไว้ว่าภายในปี 2030 จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้กว่า 45% ลดการตัดไม้ทำลายป่า ลดการก่อก๊าซมีเทน หรือเป้าหมายที่ภายในปี 2050 จะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  และต้องเพิ่มพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดมาทดแทนการใช้พลังงานจากถ่านหินและเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อมองย้อนมาในประเทศไทย เราจะเห็นว่าทางภาครัฐก็ตอบรับนโยบายสากลนี้ผ่านการตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องคล้าย ๆ กัน 

ในวงการก่อสร้างของประเทศไทยจึงต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องไปกับนโยบายเหล่านี้ เพื่อร่วมกันผลักดันให้อุตสาหกรรมและการก่อสร้างของประเทศกลายเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวที่ยั่งยืนขึ้น ในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลาย ๆ ที่ทั้งด้านที่อยู่อาศัย สำนักงานและโรงงาน โกดังขนาดใหญ่ จึงมีการใช้เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานเข้ามาใช้ในสิ่งปลูกสร้างมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ติดตั้ง Smart Home การใช้พลังงานสะอาดมาทดแทน ไปจนถึงการเลือกใช้วัสดุที่รักษ์โลกมากขึ้น

เช่น เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ที่มีการวางแนวคิดพัฒนาเมืองน่าอยู่ให้ตอบโจทย์ทั้งด้านการอยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบให้อาคาร ผู้คนและธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลในระยะยาว 30 – 40 ปีได้โดยไม่สร้างมลภาวะเพิ่มเติม หรือทางแสนสิริที่มีการวางเป้าหมายว่าต้องปรับการก่อสร้างให้เป็น Net Zero ให้ได้ โดยการร่วมมือกับทีมงานเพื่อสร้าง Net-zero Home หลังแรกของไทยภายในปี 2030 และตั้ง 3 กลยุทธ์เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050

หรือในภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็มีทาง WHA Group ที่มุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 และยังวางแผนใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ให้มากขึ้นเป็น 300 เมกกะวัตต์ภายในปีนี้ รวมถึงยังส่งเสริมให้เกิดการบำบัดน้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีทาง ESR Group Limited ที่ได้เข้ามาลงทุนและพัฒนาโครงการในนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง (นิคมอุตสาหกรรมโรจนะและเอเชีย) ให้ตอบโจทย์ ESG อย่างการใช้พลังงานหมุนเวียน การบริหารจัดการน้ำ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เหล็กโครงสร้าง SYS ตัวช่วยให้การก่อสร้างตรงเทรนด์รักษ์โลกได้มากขึ้น

แม้แต่ละองค์กรจะมีนโยบายหรือเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมือนหรือแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่องค์กรในวงการก่อสร้างจะต้องใส่ใจไม่แตกต่างกันหากต้องการให้การก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก็คือ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่รักษ์โลก ซึ่งการเลือกใช้วัสดุที่รักษ์โลกจะช่วยให้การก่อสร้างตรงเกณฑ์ประเมินด้านสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสให้องค์กรเข้าถึงเป้าหมาย Net-Zero ที่ตั้งไว้ได้เร็วขึ้นอีกด้วย

เหล็กโครงสร้างจาก SYS เป็นหนึ่งในวัสดุรักษ์โลกเช่นกัน เพราะมีการใส่ใจการผลิตให้ประหยัดพลังงาน ผลิตมาจากเหล็กรีไซเคิลกว่า 99% นอกจากนี้ยังมีการรับรองคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย ทำให้พร้อม Support ทุกงานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน หรือโรงงานและโกดังต่าง ๆ ให้กลายเป็นอาคารรักษ์โลก ที่ตอบโจทย์เป้าหมายและเทรนด์ที่องค์กรตั้งเอาไว้ได้

อ่านเนื้อหาอื่นๆ เพิ่มเติม

Siam Yamato Steel
Steel you can trust
บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS ผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนและเข็มพืดเหล็กกล้ารีดร้อน
- ผลิตจากโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง
- ผลิตสินค้าสนองตอบการใช้งานด้านโครงสร้าง ได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม
- ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสากหรรมไทยและและมาตรฐานต่างประเทศ ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ