ฉนวนใยแก้ว / ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์ มีคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการนำไปใช้งานต่างกันอย่างไร

“ฉนวน” ถือเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีการนำมาใช้ในงานก่อสร้างอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการใช้เพื่อป้องกันความร้อน และรักษาความสมดุลของอุณหภูมิภายในอาคาร รวมไปถึงการใช้ห่อหุ่มท่องานระบบต่างๆ

วันนี้ Wazzadu จึงหยิบยกข้อมูลพื้นฐานของฉนวนที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง มานำเสนอด้วยกัน 2 ประเภท นั่นก็คือ ฉนวนใยแก้ว และ ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์ นั่นเอง เราไปดูกันครับว่าฉนวนทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมีคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการนำไปใช้งานต่างกันอย่างไรบ้าง

ฉนวนใยแก้ว

มีลักษณะเป็นเส้นใยไฟเบอร์เล็กๆ โครงสร้างของเส้นใยคล้ายกับรูพรุน ไม่ทึบตัน


ข้อดี

  • มีคุณสมบัตินำความร้อนต่ำ
  • ป้องกันเสียงรบกวนได้ดี
  • ป้องกันความชื้นสูง
  • มีความยืดหยุ่น สามารถคืนตัวได้เร็ว
  • มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ 

ข้อเสีย

  • มีโอกาสเกิดละอองขนาดเล็กๆ เมื่อเสื่อมสภาพ
  • ตัวประสาน (binder) อาจลุกไหม้ได้เมื่อติดไฟ

วิธีการนำไปใช้งาน

  • ใช้ในงานหุ้มท่อส่งลมเย็นหรือลมร้อนภายในอาคาร
  • ใช้ติดตั้งเป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียงบริเวณพื้นที่ใต้หลังคา ฝ้าเพดาน และผนังอาคาร เช่น อาคารที่พักอาศัย, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงาน, สำนักงาน, ศูนย์การค้า, โกดัง ฯลฯ

ราคา

  • ราคาเริ่มต้น ม้วนละ 1,500 บาท ขึ้นไป

 

ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์ 

มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์  2 หน้า พื้นผิวบางเรียบ มีความมันวาว

ข้อดี

  • ประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนสูงสุด 97%
  • ทนต่อความชื้นได้ค่อนข้างดี
  • มีความทนทานต่อแรงดึง จึงทำให้ไม่ฉีกขาดง่าย
  • เป็นฉนวนกันความร้อนที่ไม่มีสารระคายเคือง หรือ เป็นพิษต่อมนุษย์

ข้อเสีย

  • ไม่มีคุณสมบัติเรื่องการกันเสียง
  • แม้จะมีค่าสะท้อนความร้อน แต่ไม่กันความร้อนเข้าตัวบ้าน

วิธีการนำไปใช้งาน

  • ใช้ปูเป็นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาอาคารประเภทต่างๆ เช่น อาคารสำนักงาน, โรงงานอุตสาหกรรม, โกดัง, ที่อยู่อาศัย ฯลฯ

ราคา

  • ราคาเริ่มต้น ม้วนละ 1,000 บาท ขึ้นไป

 

อิฐบล็อก / อิฐมวลเบา มีคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการนำไปใช้งานต่างกันอย่างไร

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ