7 เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับอิฐมวลเบาคิวคอน
แม้ว่า “อิฐมวลเบา” เป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้กันมากแล้ว แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิฐมวลเบาอยู่ จึงขอรวบรวม 7 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับอิฐมวลเบามาฝากกันนะคะ
1 อิฐมวลเบาฉาบแล้วแตกร้าวง่าย
ตอบ: ความจริงแล้ว การที่ผนังแตกร้าวง่ายเกิดจากการฉาบผิดวิธี ข้อแนะนำคือ ควรเลือกใช้เครื่องมือและปูนก่อฉาบอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ โดยต้องไม่ฉาบหนาเกิน 1.5 ซม.
2 อิฐมวลเบามีน้ำหนักเบาเลยไม่แข็งแรง และรับแรงกระแทกได้น้อย
ตอบ: ความจริงแล้ว อิฐมวลเบาคิวคอนมีความแข็งแรง และรับแรงกระแทกได้มากกว่าอิฐมอญ จากการทดสอบแรงกระแทกบนผนัง โดยใช้ถุงทรายน้ำหนัก 50 กิโลกรัมในการกระแทก
- ผนังอิฐมอญ แตกรอบที่ 8
- ผนังอิฐมวลเบา แตกรอบที่ 11
3 อิฐมวลเบาข้างในพรุนไม่สามารถเจาะเพื่อแขวนของหนักๆ ได้
ตอบ: ความจริงแล้ว ผนังอิฐมวลเบาสามารถแขวนของหนักๆ ได้ โดยเลือกใช้พุกและดอกสว่านที่เหมาะสม (เลือกเบอร์เดียวกัน) รวมถึงการเจาะอย่างถูกวิธี (ห้ามคว้าน)
4 อิฐมวลเบาไม่ควรใช้ก่อผนังห้องน้ำเพราะน้ำซึมง่าย
ตอบ: ความจริงแล้ว อิฐมวลเบาก่อผนังห้องน้ำได้ อิฐมวลเบาก่อผนังห้องน้ำได้ แต่ต้องทำขอบปูน (ทำคันคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ Curb) และทาน้ำยากันซึม
.
เพราะปัญหาส่วนใหญ่ของความชื้นในผนังห้องน้ำเกิดจากปัจจัยอื่นๆ สามารถแก้ปัญหาโดยการตรวจสอบรูและช่องต่างๆและใช้ปูนก่ออุดให้ทั่วผนัง บริเวณที่อาจมีน้ำขังให้ทำคันคอนกรีตเสริมเหล็ก (Curb) ยกระดับขึ้นมาประมาณ 10 ซม.ก่อนแล้วค่อยก่อผนัง และทาน้ำยากันซึม บนผนังบริเวณที่สัมผัสกับน้ำด้วย
5 อิฐมวลเบาไม่กันความร้อนและเสียง
ตอบ: ความจริงแล้ว รูพรุนในอิฐมวลเบา ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียงในตัวได้ดี
.
ผลการทดสอบการกันเสียงเมื่อเทียบอิฐมอญกับอิฐมวลเบาที่ความหนาผนัง 10 ซม. ฉาบ 1 ซม. พบว่า ผนังอิฐมอญกันเสียงได้ 38 เดซิเบล ส่วนผนังอิฐมวลเบากันเสียงได้ 43 เดซิเบล
.
- อิฐมวลเบาคิวคอน ความหนา 7.5 ซม. รวมฉาบ กันเสียงได้ 37dB (ผลทดสอบจาก ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)- อิฐมวลเบาคิวคอน ความหนา 10 ซม. รวมฉาบ กันเสียงได้ 43dB (ผลทดสอบจาก Acoustics Labboratory, National University, SG)
6 อิฐมวลเบาต้องใช้วิธีการก่อเฉพาะ จึงใช้เวลาก่อนานกว่าอิฐมอญ
ตอบ: ความจริงแล้ว การก่อผนังอิฐมวลเบามีความรวดเร็วกว่าอิฐมอญ 3 เท่า เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่า
7 การก่อด้วยผนังอิฐมวลเบามีราคาแพงตอบ: ความจริงแล้ว ต้นทุนโดยรวมถูกกว่าอิฐมอญ เพราะ
.
1. มีความรวดเร็วในการทำงาน
- อิฐมอญ ใช้เวลา 3-5 วันในการติดตั้ง
- อิฐมวลเบา ใช้เวลา 1-2 วันในการติดตั้ง
.
2. ประหยัดเสาเอ็น คานเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
- อิฐมอญ ใช้เวลาในการหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กนาน
- อิฐมวลเบา มีคานทับหลังสำเร็จรูป แทนการหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก
ผู้เขียนบทความ
ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพสินค้ามากมาย อาทิ ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง , ฉลากลดคาร์บอน Green Industry ระดับ 4 , รางวัลอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ "Eco Factory" , CSR-DIW Award และรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หรือ ธงขาว-ดาวเขียว (Green Star Award)
Q-CON ผลิตคอนกรีตมวลเบาเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่ครบวงจร ทั้งประเภทไม่เสริมเหล็ก ได้แก่ บล็อค (Block) ขนาดต่างๆ และประเภทเสริมเหล็ก ได้แก่ คานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel), แผ่นผนัง (Wall Panel), แผ่นพื้น (Floor Panel) และแผ่นบันได (Stair) นอกจากนี้ Q-CON มีโรงงานผลิตปูนก่อ และปูนฉาบสำเร็จรูป เพื่อใช้สำหรับงานคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ ได้แก่ ปูนก่อบาง (Thin Bed Adhesive Mortar) และปูนฉาบ (Rendering Mortar) ตลอดจนเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น เกรียงก่อ ค้อนยาง หัวปั่นปูน เลื่อยตัด และ metal strap เป็นต้น
... อ่านเพิ่มเติม