มาทำความรู้จัก! กับฉนวนหลังคา 5 ประเภท

ฉนวนกันความร้อนถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น  ซึ่งฉนวนในท้องตลาดมีหลายราคา และ หลายประเภทให้เลือกใช้ เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนยางดำEPDM  และฉนวนอื่นๆ เช่น ฉนวนPE  หรือ ฉนวนโฟมPU   ซึ่งการเลือกใช้ฉนวนก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของงาน

ฉนวนกันความร้อนหลังคา ส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งระหว่างการก่อสร้าง บ้าน อาคาร สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงงาน ซึ่งการติดตั้งไปตามความลาดเอียงของหลังคา ซึ่งวิธีการติดตั้งเป็นไปตามผู้ผลิตกำหนด

 

ฉนวนหลังคามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ ซึ่งปัจจัยในการต้านทานความร้อนก็คือ ค่าการนำความร้อน และความหนาของวัสดุนั้น แต่ด้วยวัสดุที่นำมาผลิตฉนวนแตกต่างกัน จึงทำให้คุณสมบัติ ที่ได้ต่างกันด้วย

1. ฉนวนใยหิน หรือ ฉนวน ROCKWOOL

ผลิตมาจากหินบะซอลต์ และ โดโลไมท์ กันร้อนได้ดี เนื่องจากฉนวนมีความหนา และค่าการนำความร้อนต่ำ วัสดุไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ เหมาะสำหรับใช้ใน บ้านเรือน อาคาร สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงงาน และอื่นๆ มีความหนาหลายขนาดให้เลือกใช้ และได้รับการรับรองจาก MTEC (ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ) ว่า ไม่ใช่แร่ใยหิน จึงปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และไม่มีสารก่อมะเร็ง โดยได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ

2.ฉนวนใยแก้ว หรือ Glass Wool

ผลิตมาจากแก้ว และทราย ติดไฟยาก และไม่ลามไฟ ไม่ปล่อยก๊าซพิษ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ มีความหนาหลายขนาดให้เลือกใช้ และมีค่าการนำความร้อนต่ำ ถูกนำไปใช้กับ อาคาร สำนักงาน ต่างๆ เพื่อกันความร้อน ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน

3.ฉนวน PE

ผลิตมาจากโพลิเอทิลีน  เป็นวัสดุที่ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ  ช่วยกันร้อนได้ มีค่าการนำความร้อนต่ำ แต่ความหนาค่อนบาง น้ำหนักเบา และเมื่อใช้ไปสักพัก อาจเกิดการหลุดร่วงและเสื่อมสภาพได้ ฉนวน PE มักถูกนำไปใช้กับโรงงานเปิด หรือหลังคาจอดรถ และงานทั่วไป เพื่อการกันความร้อน

4.ฉนวนโฟม PU

วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต คือ โพลิยูริเทน มีค่าการนำความร้อนต่ำ กันร้อนได้ดี ถูกนำไปใช้กับโรงจอดรถ หรือ งานทั่วไป แต่เมื่อใช้ไปในระยะเวลานานอาจมีการหลุดร่วงได้ตามสภาพ  และมีการปล่อยควันพิษ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต

5. ฉนวนยางดำ หรือ ฉนวนEPDM

ได้ถูกนำมาใช้เป็นฉนวนงานหลังคาเช่นกัน ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคือ

E = เอธิลีน (ethylene)

P = โพรพิลีน (propylene)

D = ไดอีน (diene)

M = Monomer

ฉนวนจะมีลักษณะเป็นสีดำ เป็นวัสดุติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ  ความหนาของฉนวนค่อนข้างบาง ซึ่งความหนาของฉนวนก็เป็นปัจจัยในการต้านทานความร้อน  ถ้ามีความหนาก็จะส่งผลให้ต้านร้อนได้ดี

จากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ฉนวนทุกชนิดมีความสามารถในการกันร้อนได้ แต่จะมีข้อดีแตกต่างกันไป   ดังนั้นการเลือกใช้ฉนวนให้เหมาะกับงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ฉนวนสำหรับงาน บ้านที่อยู่อาศัย งานอาคาร สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน งานอุตสาหกรรม และอื่นๆ
มีคุณสมบัติเด่น คือ เป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง ดูดซับเสียง งานกันไฟ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ