การจัดโต๊ะทํางานในสํานักงาน มีกี่รูปแบบ
รูปแบบการจัดวางโต๊ะทำงานสำหรับออฟฟิศสำนักงานนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายและเพื่อความเหมาะสมกับประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงานที่ต้องการความเป็นส่วนตัว การทำงานเป็นทีม การทำงานที่ต้องเน้นการสื่อสารระหว่างทีม ดังนั้น ภายในออฟฟิศนักงานมักจะมีการแบ่งแยกเป็นโซนต่างๆ เพื่อการใช้งานที่ตรงวัตถุประสงค์และเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดี ส่วนจะมีรูปแบบการจัดวางแบบไหนที่น่าสนใจบ้าง ติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ
รูปแบบการจัดโต๊ะทำงานแบบเดี่ยว
การจัดวางโต๊ะทำงานแบบเดี่ยวเหมาะสำหรับรูปแบบการทำงานที่ต้องการความเป็นส่วนตัวหรืองานที่ต้องใช้สมาธิ โดยการออกแบบของโต๊ะทำงานเดี่ยวจะเน้นให้มีรูปร่างขนาดเล็ก ทำให้สามารถใช้งานในพื้นที่แคบๆ ได้ จุดเด่นของโต๊ะทำงานเดี่ยวคือสามารถเคลื่อนย้ายได้อิสระ เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นโต๊ะที่มีน้ำหนักไม่มากนัก ตกแต่งจัดวางเข้ามุมห้องได้ง่าย เหมาะกับการใช้งานที่มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายบ่อย
การออกแบบพื้นที่โดยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมหรือสัญชาติญาณธรรมชาติของมนุษย์ เช่น สัญชาติญาณชอบความท้าทาย ความลึกลับ ความเปิดเผย ความรักสงบ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของจิตใต้สำนึก ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบจะเป็นการออกแบบพื้นที่โดยคำนึงถึงผู้ใช้งานโดยแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบภายในอาคารให้ดูโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นบรรยากาศโดยรอบได้โดยง่าย แต่มีมุมทำงานส่วนตัวเป็นพื้นที่แสนสงบเพื่อหลบหลีกความวุ่นวาย สร้างมุมที่หลากหลายโดยตอบสนองจากพฤติกรรมของมนุษย์เป็นหลัก เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องใช้สมาธิสูง
รูปแบบการจัดโต๊ะทำงานแบบกลุ่ม
รูปแบบการจัดโต๊ะทำงานแบบกลุ่มคือการจัดวางโต๊ะทำงานแบบเดียวให้อยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้กันเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 โต๊ะขึ้นไป เหมาะสำหรับรูปแบบการทำงานแบบแผนก ที่จำเป็นต้องมีการสื่อสารกันระหว่างทีม แต่การจัดโต๊ะทำงานรูปแบบนี้ควรเว้นระยะจากโซนรูปแบบการจัดวางโต๊ะทำงานแบบเดี่ยว เพราะจะได้ไม่รบกวนสมาธิกัน และควรใช้ฉากกั้นเพื่อป้องกันเชื้อโรค เป็นไอเทมเสริมที่สามารถนำมาใช้ได้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่ง
รูปแบบการจัดโต๊ะทำงานสำหรับห้องประชุม
รูปแบบการจัดโต๊ะทำงานสำหรับห้องประชุมนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และจำนวนของผู้ใช้งาน เช่น
รูปแบบที่ 1 ห้องประชุมแบบ Board Room :
รูปแบบนี้เหมาะสำหรับ การประชุมขนาดเล็กๆ เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างทั่วถึง ขนาดโต๊ะประชุมจะไม่ใหญ่มาก ขนาดเก้าอี้สำหรับผู้นั่ง ประมาณ 4-7 คน จัดวางอยู่ในห้องที่เก็บเสียงได้ดี การจัดห้องประชุมรูปแบบนี้ ควรกำหนดฝั่งของผู้นำเสนอให้อยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเท่านั้นเพื่อความสะดวกในการเซ็ตอัพสถานที่ และให้ผู้ฟังสามารถโฟกัสไปที่จุดเดียวได้อย่างสะดวก
รูปแบบที่ 2 ห้องประชุมแบบ U-Shape :
อีกหนึ่งรูปแบบการจัดวางโต๊ะประชุมที่เหมาะกับห้องประชุมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะการจัดวางโต๊ะเหมือนกับตัว U โดยด้านที่เป็นหัวตัว U มักจะหันเข้าหาฝั่งที่เป็นจอโปรเจคเตอร์สำหรับการนำเสนอของผู้พูด ช่องว่างตรงกลางเป็นส่วนที่เว้นไว้สำหรับให้ผู้พูดสามารถเดินแจกเอกสารหรือสิ่งของให้กับผู้ฟังได้อย่างสะดวก ข้อดีของการจัดวางโต๊ะประชุมแบบนี้คือสามารถมองเห็นและสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง
รูปแบบที่ 3 ห้องประชุมแบบ Class room :
รูปแบบของห้องประชุมเหมาะกับงานประเภทที่เป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น การเรียนการสอน การอบรม หรือแม้แต่การสัมมนาที่มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมากที่ต้องจดบันทึก ลักษณะการจัดวางโต๊ะหรือที่นั่งจึงคล้ายกับการจัดวางโต๊ะเรียนหนังสือ คือเรียงเป็นลำดับแถวไปเรื่อยๆ โดยที่ผู้พูดจะยืนอยู่บริเวณด้านหน้าสุดของห้อง
รูปแบบที่ 4 ห้องประชุมแบบ Theater :
รูปแบบของห้องประชุมที่มีลักษณะคล้ายกับโรงหนัง ที่มักจะจัดเป็นห้องขนาดใหญ่ สำหรับการประชุม สัมมนา การจัดแสดงต่างๆ ที่ต้องการพื้นที่ในการรองรับผู้ใช้งานที่ค่อนข้างมีจำนวนมาก เน้นการสนทนาไปที่ผู้นำเสนอ ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านหน้า หรือบนเวทีนั่นเอง
รูปแบบการจัดเคาน์เตอร์สำหรับโถงต้อนรับ
อีกส่วนสำคัญสำหรับการออกแบบออฟฟิศสำนักงาน คือการจัดวางเคาน์เตอร์ต้อนรับสำหรับผู้ที่จะเข้ามาติดต่อประสานงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ซึ่งการจัดวางเคาน์เตอร์ต้อนรับจะต้องเป็นจุดเด่นและสามารถมองเห็นได้ง่าย สะดุดตา และควรวางเก้าอี้สำนักงานและโซฟา ไว้ใกล้กับเคาน์เตอร์ต้อนรับเพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามา สามารถนั่งรอคิว ในกรณีที่คนเยอะได้ ควรจัดวางเคาน์เตอร์สำนักงานในตำแหน่งที่เป็นพื้นที่กว้าง ๆ แบบเปิดโล่ง เพื่อให้เป็นจุดสังเกตได้ง่าย และไม่ควรจัดวางเคาน์เตอร์ต้อนรับในพื้นที่คับแคบ เพราะจะเป็นอุปสรรคในการใช้งาน และทำให้ไปเกะกะพื้นที่ภายในสำนักงาน
ข้อมูลผลิตภัณฑ์สำหรับตกแต่งออฟฟิศสำนักงาน
สนใจรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่
บริษัท โอฟิซุ จำกัด : ofisu.co.th
หรือ Line@ : @wazzadu.com
ผู้เขียนบทความ