CopenHill สถาปัตยกรรมโรงไฟฟ้ายุคใหม่ ที่เปลี่ยนขยะให้กลายเป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
CopenHill หรือที่รู้จักในชื่อ Amager Bakke เป็นโรงไฟฟ้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนพลังงานขยะให้กลายเป็นพลังงานสะอาด มีขนาดพื้นที่ใช้สอยกว่า 41,000 ตร.ม. ได้รับการออกแบบโดย BIG หรือ Bjarke Ingels Group บริษัทสถาปนิกชื่อดังของเดนมาร์ค
โดยฟังก์ชั่นที่ทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีความพิเศษต่างจากโรงไฟฟ้าอื่นๆ ก็คือมีการออกแบบให้มีทางลาดสำหรับสกี มีเส้นทางเดินป่า และกำแพงปีนเขาเทียม นอกจากนี้ยังมีพื้นที่นันทนาการ และศูนย์กลางการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการผสมผสานแนวคิดเรื่องความยั่งยืน เรื่องสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้าไปในกระบวนการออกแบบ
CopenHill ได้นำเทคโนโลยีการบำบัดของเสีย และการผลิตพลังงานสะอาดจากขยะ มาใช้แทนที่ของเดิม และใช้ผลิตพลังงานทดแทนโรงงานไฟฟ้าเก่า Amager Ressourcecenter (ARC) อายุกว่า 50 ปี ที่อยู่ติดกันด้วย
และด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ซึ่งอยู่ใกล้ริมน้ำ จึงทำให้พื้นที่บริเวณโรงไฟฟ้าได้กลายเป็นสถานที่ดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบกีฬาผาดโผนมาปะลองฝีมือ หรือฝึกซ้อมกันอยู่เป็นประจำ และด้วยลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้นเช่นนี้ จึงทำให้การออกแบบโรงไฟฟ้า CopenHill แห่งใหม่ มีพื้นที่สำหรับการเล่นสกี เส้นทางเดินป่าในรูปแบบภูเขาเทียมเสมือนจริง และกำแพงปีนเขาเทียมที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูงถึง 85 เมตร รวมอยู่ด้วยนั่นเอง
Volumes Space ของโรงไฟฟ้าถูกออกแบบให้มีความเหมาะสมกับลักษณะการจัดวางเครื่องจักรภายในอาคาร และเป็นส่วนที่กำหนดให้โครงสร้างหลังคาด้านบนสุดมีความลาดเอียงที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่เล่นสกีเทียม ขนาด 9,000 ตร.ม. โดยผู้ที่ต้องการเล่นสกีสามารถเข้าไปใช้งานได้ โดยการใช้ทางขึ้นปกติ หรือใช้ลิฟต์แก้วที่สามารถชมการทำงานของเตาเผาขยะที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ได้อีกด้วย
ผู้ที่ชื่นชอบการพักผ่อนหย่อนใจ และผู้มาเยือนที่ไปถึงจุดสูงสุดของยอดลานสกีเทียม จะรู้สึกได้ถึงความแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน นอกจากกิจกรรมผาดโผนอย่างสกี และการปีนเขาเทียมแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักกีฬาผาดโผนก็สามารถเข้ามาพักผ่อนได้ ซึ่งจะเพลิดเพลินไปกับบาร์บนชั้นดาดฟ้า และจุดชมวิวที่สูงที่สุดในเมือง
และในการเดินทางลงสามารถใช้เส้นทางเดินป่า ที่ออกแบบให้เป็นภูเขาจำลองเสมือนจริงจากระดับความสูง 490 เมตร ท่ามกลางต้นไม้ที่เรียงรายเขียวขจี ซึ่งได้รับการออกแบบโดย SLA ภูมิสถาปนิกชื่อดังของเดนมาร์ก
ในขณะเดียวกันพื้นที่สีเขียวที่อยู่รอบๆตลอดแนวเส้นทางเดินป่า ที่จำลองเป็นภูเขาเสมือนจริง ขนาด 10,000 ตร.ม. เป็นการออกแบบภูมิทัศน์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อช่วยดูดซับความร้อน และช่วยขจัดมลพิษในอากาศ และช่วยชลอการใหลบ่าของน้ำฝนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำในเวลาที่ฝนตกหนักได้อย่างเหมาะสม
ภายใต้ความลาดชันของหลังคา จะเป็นพื้นที่ภายในอาคารที่ใช้สำหรับจัดวางเตาเผาขยะแบบหมุนวน แบบไอน้ำ และกังหันแปลงขยะ ที่มีกำลังในการเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นพลังงานสะอาดได้ถึง 440,000 ตัน/ปี ซึ่งเพียงพอสำหรับส่งไฟฟ้า และให้ความร้อนแก่บ้านเรือนกว่า 150,000 หลังคาเรือน
นอกจากฟังก์ชั่นพื้นที่สำหรับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงานแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ ภายในอาคารอีก เช่น พื้นที่สำนักงานสำหรับทีมงาน ARC รวมทั้งศูนย์การศึกษา สำหรับการเวิร์กช็อป และประชุมด้านพลังงาน และความยั่งยืน
สำหรับโครงสร้างของโรงไฟฟ้า CopenHill นั้น ถูกออกแบบให้ใช้ระบบโครงสร้างเหล็กเป็นหลัก ซึ่งมีการนำเหล็กเอชบีม เหล็กท่อกลม เหล็กท่อแบน และชิ้นส่วนเหล็กประกอบพิเศษ มาประกอบเป็นโครงสร้างทั้งแบบ Truss Structure และ Space Frame ซึ่งนอกจากจะให้ความแข็งแรง ป้องกันแผ่นดินไหว และทำให้ภายในอาคารดูโปร่งเบาแล้ว ยังช่วยให้ Space ภายในอาคารมีความสวยงามในลักษณะกึ่งๆ Deconstruction Style อีกด้วย
มุมมองภายนอกของโรงไฟฟ้า CopenHill ถือได้ว่ามีความสวยงามแปลกตา และเป็นแลนด์มาร์คที่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดเจนจากในระยะไกล เปลือกอาคารภายนอกที่ถูกปิดผิวด้วยวัสดุอะลูมิเนียม คอมโพสิตสีเทา โดยถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับ Pattern Block ของอิฐ ซึ่งขนาดในแต่ละ Block จะมีความสูง 1.2 ม. และยาว 3.3 ม. แล้วจัดวาง Pattern ซ้อนกันเหมือนก้อนอิฐขนาดมหึมาที่วางทับซ้อนกัน ซึ่งมีทั้ง Block ที่ปิดทึบ และ Block ที่เป็นช่องเปิดสลับกัน เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาภายในอาคารได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้
CopenHill เป็นตัวอย่างที่ดีของการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานที่คนทั่วไปมองว่าไม่น่าจะมีความอภิรมณ์ และไม่สามารถเข้าไปใช้งานได้ ให้กลายเป็นสถาปัตยกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่สวยงามแปลกใหม่ และทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ จนทำให้ CopenHill กลายเป็นจุดหมายปลายทางใหม่สำหรับครอบครัว เพื่อนฝูง และงานเฉลิมฉลอง อีกทั้งยังสร้างผลกำไรทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมได้ทั้งทางตรง และทางอ้อมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ในงานสถาปัตยกรรมเรามักจะเห็นการนำเหล็กประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเอชบีม, เหล็กท่อ (ทั้งเหล็กกลม และเหล็กกล่อง), เหล็กฉาก, เหล็กตัวซี รวมไปถึงเหล็กประเภทอื่นๆ มาใช้ในงานก่อสร้าง รวมถึงงานรีโนเวทปรับปรุงอาคารอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดีว่าวัสดุเหล็กมีความสำคัญกับอุตสาหกรรม Building Material และ Architectural Design มากน้อยแค่ไหน
ในปัจจุบัน และอนาคตวัสดุเหล็กได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์การขยายขีดความสามารถ และช่วยปลดล็อคข้อจำกัดในด้านการออกแบบ และการก่อสร้างให้พัฒนาสูงขึ้นไปอีกขั้น อีกทั้งยังถูกพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และให้ความสำคัญกับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Eco Saving) ทั้งทางตรง และทางอ้อมมากขึ้นอีกด้วย
รายละเอียดการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็กอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ข้อมูลผลิตภัณฑ์เหล็กประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองานก่อสร้าง
ถ้าหากท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์เหล็กประเภทต่างๆ
สำหรับนำไปใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองานก่อสร้าง
สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center 02-285-2700
Website : www.cotcometalworks.co.th ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.
และ Line Official : https://lin.ee/pIUNkHc
ผู้เขียนบทความ
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ... อ่านเพิ่มเติม