Carlo Ratti ผู้คิดค้นและออกแบบ Temporary Hospital (CURA) โรงพยาบาลชั่วคราวในรูปแบบ Connected Unit เพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจ
การระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้คนติดเชื้อ และป่วยเป็นจำนวนมาก ต้องมีการกักตัว และเข้ารับการรักษาเป็นเวลานานในห้อง ICU หรือห้องที่มีความดันลบ ทำให้โรงพยาบาล หรือหน่วยงานทางการแพทย์ขาดแคลนทรัพยากรอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ เตียง และห้องพักสำหรับผู้ป่วย
จากการประสบปัญหาดังกล่าว จึงเกิดโครงการโรงพยาบาลสนามมากมายที่ได้รับความร่วมมือระหว่างสถาปนิก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการขาดแคลนเตียง หรือห้องพักสำหรับผู้ป่วย และเพื่อช่วยให้ผู้ที่คนใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
Carlo Ratti เกิดเมื่อปีพ.ศ.2514 สถาปนิกชาวอิตาลี เขายังเป็น วิศวกร นักประดิษฐ์ นักการศึกษา และนักกิจกรรมอีกด้วย ในปัจจุบัน Carlo Ratti ศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเขาดูแล MIT Senseable City Lab เป็นกลุ่มวิจัยที่สำรวจว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อออกแบบ และพัฒนาคุณภาพชีวิต
นอกจากนี้ Carlo Ratti ยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 50 นักออกแบบที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอเมริกา โดย Fast Company
เพื่อช่วยต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ความคิดริเริ่มใหม่ คือ การเปลี่ยนคอนเทนเนอร์ สำหรับการขนส่งให้เป็นพ็อดสำหรับผู้ป่วย โครงการ CURA ซึ่งย่อมาจาก Connected Unit for Respiratory Ailments ที่แปลว่า ยูนิตที่สามารถเชื่อมต่อกันได้เพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจ
โดยคณะทำงานระดับนานาชาติของนักออกแบบ Carlo Ratti วิศวกร แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ได้ร่วมมือกันทำงานใน CURA ซึ่งเป็นโครงการ Open Source ที่มุ่งสร้างหน่วยผู้ป่วยหนัก (ICU)
โครงการนี้ใช้คอนเทนเนอร์ขนส่งที่นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อสร้างโรงพยาบาลชั่วคราว ซึ่งสามารถนำไปสร้างได้อย่างรวดเร็วในเมืองต่างๆ ทั่วโลก เพื่อตอบสนองต่อการขาดแคลนพื้นที่ห้องไอซียูในโรงพยาบาล
โดย CURA ถูกสร้างขึ้นในเมืองมิลานของอิตาลี เริ่มรับผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2020 และ CURA มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับหอผู้ป่วยแยกปกติในโรงพยาบาล ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปจนถึงแคนาดาเนื่องจากมีความปลอดภัย และติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว
CURA เป็นห้องผู้ป่วยหนักขนาดกะทัดรัดสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยมีขนาด 20 ฟุต (ประมาณ 6 เมตร) แต่ละยูนิตทำงานแยกกันแบบอิสระ และสามารถจัดส่งได้ทุกที่ แต่ละพ็อดเชื่อมต่อกันด้วยรูปแบบโมดูลาร์ (ตั้งแต่ 4 เตียงไปจนถึงมากกว่า 40 เตียง) ซึ่งสามารถนำไปติดตั้งได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง สามารถวางไว้ใกล้กับโรงพยาบาล (เช่น ในลานจอดรถ) เพื่อขยายความจุของห้องไอซียู หรือใช้เพื่อสร้างโรงพยาบาลภาคสนาม
โดยโครงการ CURA เป็นผลงานแบบ Open Source ที่เปิดให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานนี้ไปปรับปรุง และพัฒนาได้อีกด้วย
สรุปประเด็นที่น่าสนใจของ Carlo Ratti ผู้ออกแบบ Temporary Hospital โรงพยาบาลชั่วคราวที่สามารถเชื่อมต่อกันได้เพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจ
- Carlo Ratt สถาปนิกชาวอิตาลี ได้ร่วมมือกับคณะทำงานระดับนานาชาติของนักออกแบบ วิศวกร แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ในโครงการ CURA เพื่อช่วยวิกฤตการขาดแคลนห้องพักในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางเดินหายใจ
- เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดขึ้นวงการสถาปนิก และการออกแบบถือเป็นส่วนช่วยสำคัญในการช่วยเหลือ และควบคุมการระบาด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโรงพยาบาลสนามที่สามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว หรือการออกแบบเพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตได้ง่าย และปลอดภัยมากขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจาก
- www.designboom.com/
- www.archdaily.com/
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
อ่านเนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Wazzadu Material and Design Innovation ได้ที่
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม