คาดการณ์อนาคตกรุงเทพฯ ในปี 2050 โดย FutureTales Lab และ Arupt Foresight

โลกของเราเปลี่ยนแปลงขึ้นทุกวัน ซึ่งส่งผลทั้งการพัฒนาเมือง การดำรงชีวิต การเรียน การทำงาน และแทบทุกองคาพยพของชีวิต วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จาก ​Trendmizi ที่ได้สรุปเทรนด์และฉากทัศน์ของกรุงเทพมหานครในอนาคต จากสัมมนาออนไลน์ Future of Urbanisation Scenarios for Greater Bangkok 2050 มาฝากกันครับ

คาดการณ์อนาคตกรุงเทพฯ ในปี 2050 โดย FutureTales Lab และ Arupt Foresight
โลกของเราเปลี่ยนแปลงขึ้นทุกวัน และการเปลี่ยนแปลงนั้นล้วนส่งผลในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาเมือง การดำรงชีวิต การเรียน การทำงาน และแทบทุกองคาพยพของชีวิต วันนี้ ​Trendmizi สรุปเทรนด์และฉากทัศน์ของกรุงเทพมหานครในอนาคตจากสัมมนาออนไลน์ 'EP.02 : Future of Urbanisation Scenarios for Greater Bangkok 2050’ จัดโดย FutureTales Lab by MQDC และ Arup Foresight เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2564 ซึ่งผู้จัดได้เสนอว่าในอนาคตจะมีฉากทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของกรุงเทพฯ ในอีก 30 ปีข้างหน้า ทั้งหมด 5 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

1) Technotopia เมืองแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง
 การแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และการจัดการปกครองแบบบนลงล่าง (Top-down Governance) จะช่วยจัดการเรื่องสภาพอากาศและวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิผล ตัวอย่างฉากทัศน์ด้าน Technotopia เช่นพลังงานที่ผลิตจากผู้ใช้เอง รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ยาน Hyperloop ที่ช่วยให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น หรือท่าอวกาศยาน (Spaceport) ฯลฯ ซึ่งกรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง มีสภาพอากาศที่ยืดหยุ่น และเป็นมหานครที่มีประสิทธิภาพด้วยการจัดการปกครองแบบบนลงล่าง... เมื่อสถานการณ์ Covid-19 ได้พลิกโฉมโลกใบนี้ ทำให้องค์กรมหาอำนาจนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ซึ่งประเทศไทยอาจนำหลักการและแนวคิดเชิงปฏิบัติจากบริษัทด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการปกครองได้อีกด้วย เช่นการเปลี่ยนแปลงจาก Thailand 4.0 เป็น ​Thailand 5.0 (เมืองเศรษฐกิจไฮเทค​)

2) Urban Playgrounds พื้นที่สุขภาพนิยม สร้างสรรค์ และมีชีวิต 
 ผู้คนทุกช่วงวัยจะให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทั้งในเรื่องของชีวิตประจำวัน การทำงาน และไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉง พื้นที่ใดๆ ที่ยังไม่ได้วางแผนด้านชุมชนสีเขียวและอุปกรณ์การเล่นสำหรับทุกเพศทุกวัยจะเติบโตมากยิ่งขึ้นผ่านการใช้แนวคิด Tactical Urbanism การเปลี่ยนบริเวณรกร้างให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์และมีชีวิตชีวา ​ที่ส่งเสริมกิจกรรมทั้งทางกายและสุขภาพ ตัวอย่างฉากทัศน์ด้าน Urban Playgrounds เช่นการนำสนามเด็กเล่นพร้อมสัตว์ป่าพื้นเมืองมาเลียนแบบทางธรรมชาติ การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเมือง หรือการผสมผสานระหว่างทางน้ำไปกับการพัฒนาเมือง ฯลฯ

3) Decentralised Resilience เมืองที่ยืดหยุ่นปรับตัว พร้อมรับทุกสภาวะ
 บัดนี้คนกรุงเทพจำนวนมากต่างอยู่ในชุมชนที่ตั้งบนพื้นสูงอย่างมีความสุข ส่วนคนที่ไม่สามารถย้ายออกได้จะอยู่ในย่านที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาก่อน ดังนั้น การปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่แปรปรวนนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งกรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีความพร้อมต่อการรับมือน้ำท่วมเป็นอย่างดี ตัวอย่างฉากทัศน์ด้าน Decentralised Resilience เช่นการเคลื่อนย้ายอาคารที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมขึ้นไปเหนือระดับน้ำโดยใช้เทคนิคทางวิศวกรรม หอคอยอาหารสำหรับพื้นที่น้ำท่วม หรือทางเดินลอยฟ้าพร้อมแพล็ตฟอร์มที่เชื่อมโยงกับพื้นที่สาธารณะ ฯลฯ ซึ่งการนำแนวคิดด้าน Circular Economy (ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน​​) มาใช้จะทำให้ชุมชนเมืองเชิงนิเวศนั้นเจริญก้าวหน้ามากขึ้น หรือชุมชนลอยน้ำในพื้นที่กรุงเทพเก่าก็สามารถพึ่งพิงอาหารได้ด้วยตนเอง

4) Accelerated Generation ส่งต่อปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เมืองแห่งการเรียนรู้และสตาร์ทอัพ
 ผู้สูงอายุจะกลับมามีบทบาทในสังคมอีกครั้งโดยใช้ความชำนาญของตัวเองในการสร้างสตาร์ตอัพที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในขณะที่การพัฒนาตัวเมืองและเศรษฐกิจนั้นจะเชื่อมโยงกับคุณค่าดั้งเดิมของไทย เพราะฉะนั้นการพัฒนาการศึกษาและทักษะนั้นถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ ตัวอย่างฉากทัศน์ด้าน Accelerated Generations ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) การส่งต่อประสบการณ์และปัญญาให้​คนรุ่นใหม่โดยผู้สูงอายุ โครงการมิกซ์ยูสที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งผู้สูงอายุและคนรุ่นใหม่ไปพร้อมๆ กัน หรือหรือสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Agile เพื่อรองรับการทำงานแบบสตาร์ทอัพ ฯลฯ

5) Transforming Lifestyles ไลฟ์สไตล์สุขภาพเชิงฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ
 ตั้งแต่มีโรคระบาดเกิดขึ้น มุมมองด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนไป ซึ่งพบว่ามีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในระยะยาว พักผ่อนเพื่อสุขภาพ หรือมองหาสมดุลทั้งกายและใจมากขึ้น ดังนั้นกรุงเทพฯ จะเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่มองหาการฟื้นฟูสุขภาพระยะยาว การหาความสมดุลทั้งกายและใจ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือแม้แต่การเทรนงานในอนาคต ฯลฯ ตัวอย่างฉากทัศน์ด้าน ​Transforming Lifestyles ได้แก่ การสร้างพื้นที่สีเขียวในตัวเมือง เขตการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สามารถฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพได้ หรือพื้นที่สงวนทางธรรมชาติที่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อให้ได้รับประสบการณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ฯลฯ

และนี่คือ 5 ฉากทัศน์ที่ทาง FutureTales Lab by MQDC และ Arup Foresight ได้คาดการณ์เอาไว้

Trendmizi คลังเทรนด์ออนไลน์เพื่อการพัฒนาแบรนด์และธุรกิจ โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab 
ขอขอบคุณ: FutureTales LAB by MQDC และ Arup Foresight
ที่มา : https://fb.watch/8vSSdsUQq3/
https://www.matichon.co.th/economy/news_2980742
https://www.bangkokbiznews.com/business/964691
https://foresight.arup.com/.../future-of-urbanisation.../

Wazzadu.com
วัสดุคือแพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางฟีเจอร์ต่างๆดังนี้

Search - ค้นหา และจัดเก็บ ทั้งไอเดีย และสินค้า และบริการสำหรับการออกแบบตกแต่ง
Sourcing - จัดหาสินค้า และเปรียบเทียบราคาโดยการติดต่อ ผ่านแบรนด์ต่างๆ หรือบริการในแพลตฟอร์ม
Spec - เครื่องมือสเปคข้อมูลวัสดุ โดยแสดงข้อมูลเพื่อการออกแบบ เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงลึก ทั้งการติดตั้ง ขนาด ราคา และรีวิวการใช้งาน
แบรนด์ / ผู้จัดจำหน่ายสามารถเปิดโปรไฟล์ และอัพโหลดสินค้าได้ฟรี

ติดต่อเราที่ 02-714-0454
Email: contact@wazzadu.com ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ