เหล็กแผ่น มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการใช้งานอย่างไร
เหล็กแผ่น ถือเป็นวัสดุหลักอีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมต่างๆ มีการใช้ในหลากหลายมิติของงานแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งการนำเหล็กแผ่นไปใช้งานโดยทั่วไปนั้น สามารถแบ่งออกได้หลักๆ 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
- เหล็กแผ่นดำ (Hot Rolled Steel Sheet)
- เหล็กแผ่นดำขัดผิว (Pickled and Oiled Steel Sheet)
- เหล็กแผ่นสังกะสี (Galvanized Steel Sheet)
- เหล็กแผ่นขาว (Cold Rolled Steel Sheet)
ซึ่งเหล็กแผ่นแต่ละประเภท จะมีคุณสมบัติ และวิธีนำไปใช้งานอย่างไรบ้างนั้น เรามาชมกันเลยครับ
เหล็กแผ่นดำ (Hot Rolled Steel Sheet)
คือ เหล็กที่เกิดจากการนำเหล็กแผ่นหนา สแลบ รีดที่อุณภูมิสูงกว่า 1000 องศา ให้ได้ขนาดตามต้องการ จากนั้นจึงนำไปม้วนขึ้นรูป
เหล็กแผ่นดำนอกจากที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 2 ชนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดบ้านเรา ได้แก่
- เหล็กแผ่นลาย มีลักษณะพื้นผิวลายนูนคล้ายเมล็ดข้าว มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการลื่นและลดนํ้าขัง นิยมนำไปใช้ปูเป็นทางเดิน ทำพื้นบันได และพื้นรถบรรทุกเพื่อป้องกันการลื่น มีความหนาตั้งแต่ 2-9 มม.
- เหล็กแผ่นแบน หรือเหล็กแบนตัด เป็นเหล็กแผ่นที่มีความหนา 3-25 มม. สามารถทนแรงพับได้ค่อนข้างดี นิยมนำไปดัดแปลงเป็นรางนํ้า, แหนบรถ, ฝาท่อ เป็นต้น
คุณสมบัติเด่น
- พื้นผิวนูนเป็นลาย ใช้สำหรับการกันลื่น(เหล็กแผ่นลาย)
- มีความเหนียว แข็งแรงทนทาน
- สามารถนำไปแปรรูปใช้กับอุตสาหกรรมหนักได้หลากหลาย
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
การนำไปใช้งาน
- ใช้เป็นส่วนประกอบในงานโครงสร้าง
- ใช้ทำสะพานโครงสร้างเหล็ก
- ใช้ในงานปูพื้น
- ใช้เชื่อมต่อขึ้นโครงสร้างรถยนต์ และใช้เป็นชิ้นส่วนต่อเรือ
- ใช้ในงานขึ้นรูปทั่วไป
***มาตรฐานการรับรองคุณภาพของเหล็กแผ่นดำ จะต้องได้รับมาตรฐานการผลิต มอก.528-2560 และ มอก.1479-2558
สำหรับมาตรฐานสากลที่เทียบเท่าได้แก่ JIS G3131 และ JIS G3101 และยังมีมาตรฐาน BS/ASTM ซึ่งเกรดของเหล็กแผ่นดำที่มีจำหน่าย และใช้งานทั่วไปในบ้านเรามี 3 เกรดคือ SS400, SS490 และ SPHC
เหล็กแผ่นดำขัดผิว (Pickled and Oiled Steel Sheet)
คือ การนำเหล็กแผ่นดำ นำมาผ่านกระบวนการรีดร้อนเพื่อให้แผ่นเหล็กมีคุณภาพผิวสูงขึ้นและมีความหนาลดลงที่อุณหภูมิประมาณ 1,000 - 1,250 องศาเซลเซียสด้วยลูกกลิ้งหรือแท่นรีดขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้ขนาดความหนาที่ต้องการ
จากนั้นทำให้เย็นด้วยการใช้นํ้าหล่อเย็นแล้วเข้าสู่เครื่องม้วนเหล็ก เมื่อผลิตเสร็จแล้วจะได้เป็นเหล็กม้วนดำ ที่มีสีผิวเหล็กเป็นสีเทาดำ ก่อนจะนำไปกัดล้างผิว และเคลือบนํ้ามัน เมื่อผ่านกระบวนการรีดร้อนชนิดกัดล้างผิวและเคลือบนํ้ามันจนกลายเหล็กดำขัดผิว ที่มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กผิวด้านสีขาวเทานั่นเอง
คุณสมบัติเด่น
- สีออกขาวเทา พื้นผิวมีลักษณะด้านดูสวยงามละเอียด เหมาะกับการขึ้นรูปในงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรืองานที่ต้องโชว์พื้นผิว
- มีความเหนียว ให้ความคงทนแข็งแรงสูง
- ทนต่อการสึกกร่อน
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- มีคุณสมบัติการเชื่อมที่ดี
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา
- ใช้ในงานโครงสร้างต่างๆ
- ใช้ในการผลิตถังก๊าซ ถังคอมเพรสเซอร์ (ระบบทำความเย็น) และถังแรงดัน
- ใช้ขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ
***มาตรฐานการรับรองคุณภาพของเหล็กแผ่นดำ จะต้องได้รับมาตรฐานการผลิต มอก.528-2560 และ มอก.1479-2558
สำหรับมาตรฐานสากลที่เทียบเท่าได้แก่ JIS G3131 และ JIS G3101 และยังมีมาตรฐาน BS/ASTM ซึ่งเกรดของเหล็กแผ่นดำที่มีจำหน่าย และใช้งานทั่วไปในบ้านเรามี 3 เกรดคือ SS400, SS490 และ SPHC
เหล็กแผ่นขาว (Cold Rolled Steel Sheet)
คือ การนำเหล็กแผ่นดำ นำมาผ่านกระบวนการรีดเย็นหรือการรีดเหล็กแผ่นดำที่ไม่ได้ใช้ความร้อนในการเผา เพื่อกำจัดสนิมให้ผิวเหล็กกลายเป็นสีขาวเทา และนำไปรีดลดขนาดความหนาที่อุณหภูมิปกติ จากนั้นนำไปขัดเคลือบผิวจนได้ความเรียบและความเงาตามที่ต้องการ
เมื่อเหล็กแผ่นขาวนี้ผ่านกระบวนการดังกล่าวแล้ว จะทำให้เหล็กแผ่นขาวเกิดเป็นเหล็กแผ่นที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยที่เหล็กแผ่นขาวจะมีความหนาให้เลือกหลายขนาด และมีความหนาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภทตั้งแต่ 0.35 - 3.40 มม.
คุณสมบัติเด่น
- มีผิวที่มันและวาว
- มีความอ่อนนุ่มกว่าแผ่นเหล็กดำ ทำให้ง่ายต่อการขึ้นรูป หรือพับเหล็กให้เป็นรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะการใช้งานแต่ละประเภทที่ผู้ใช้ต้องการ
- ผ่านกระบวนการเคลือบสารเคมี
- ผ่านกระบวนการเคลือบสารเคมีไอออนฟอสเฟต ทำให้เหล็กแผ่นขาวมีความคงทนต่อการกัดกร่อน และป้องกันสนิมได้ดีอีกด้วย
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป
- ใช้ในงานขึ้นรูปที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น บอดี้ตู้เครื่องปรับอากาศ หรือ บอดี้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น
- ใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
***สำหรับมาตรฐานการรับรองคุณภาพของเหล็กแผ่นขาว จะต้องได้รับมาตรฐานการผลิต มอก.2012-2558
เหล็กแผ่นสังกะสี (Galvanized Steel Sheet)
คือ การนำเหล็กม้วนดำ มาผ่านกระบวนการรีดเย็นและเคลือบสังกะสีทั้ง 2 ด้านจากวิธีการชุบสังกะสี ในอ่างกัลวาไนซ์ที่มีลักษณะเหลว และความร้อนสูง (Hot dip galvanization)
เมื่อเหล็กแผ่นม้วนสังกะสีหรือเหล็กแผ่นม้วนเคลือบสังกะสีนี้ผ่านกระบวนการดังกล่าว และนำมาตัด ซอย แผ่น จะทำให้เหล็กแผ่นสังกะสีเกิดเป็นเหล็กแผ่นรูปพรรณที่มีลักษณะแบน ผิวมันวาว เรียบเนียน ซึ่งขนาดของลายดอกบนแผ่นเหล็กแผ่นสังกะสีนี้อาจจะมีขนาดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต และจุดประสงค์การนำไปใช้งาน
คุณสมบัติเด่น
- ทนการกัดกร่อน ป้องกันการเกิดสนิมได้ดี
- ผิวเรียบเป็นมันวาว เหมาะกับงานโชว์ผิว
- มีความทนทานต่อนํ้า และความชื้น
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานโครงสร้างเหล็ก
- ใช้ในงานโครงสร้างทั่วไป เช่น กระโจม, กันสาด, ราวบันได, รั้ว, และโครงระเบียง
- ใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ
***มาตรฐานการรับรองคุณภาพของเหล็กแผ่นสังกะสี จะต้องได้รับมาตรฐานการผลิต มอก.50-2561
สำหรับมาตรฐานสากล จะต้องได้รับมาตรฐาน JIS G3302
ถ้าหากท่านใดที่สนใจเหล็กแผ่นแบบต่างๆเพื่อนำไปใช้งาน
สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center 02-285-2700
Website : www.cotcometalworks.co.th ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.
และ Line Official : https://lin.ee/pIUNkHc
ผู้เขียนบทความ
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ... อ่านเพิ่มเติม