การป้องกันสนิมของเหล็กเสริมในเนื้อคอนกรีตด้วยวิธีแคโทดิก เป็นอย่างไร
การป้องกันสนิมนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเลือกใช้โลหะให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การเคลือบผิว (Coating) การป้องกันแบบแอโนดิก (Anodic Protection) การป้องกันแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) และอื่นๆ หรือจะใช้หลายวิธีร่วมกันก็ได้ แต่วันนี้ Wazzadu.com จะพาไปทำความรู้จักกับวิธีป้องกันสนิมและยืดอายุการใช้งานของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีตด้วยวิธี แคโทดิก (Cathodic Protection) ซึ่งมีการพัฒนาไปจากเดิมมากและนับว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจและได้รับการรองรับจากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รายละเอียดจะมีอะไรบ้างนั้นไปชมกันเลยครับ
การป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) คืออะไร
เป็นการป้องกันสนิมโดยการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดภายนอกบังคับให้ศักย์ไฟฟ้าของเหล็กโครงสร้างนั้นลดต่ำลงจนเข้าสู่ย่าน Stable หรือ Immunity (Cathodic Protection) ส่งผลให้เหล็กโครงสร้างไม่เกิดสนิม ระบบการป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) นั้นสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบและหลายสภาวะ เช่น ในน้ำ ในดิน และในคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยแหล่งกำเนิดไฟฟ้าของระบบจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
- ICCP (Impressed Current Cathodic Protection) ในส่วนของระบบ ICCP นั้น กระแสไฟฟ้าที่ใช้ส่วนมากจะมาจากการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรงด้วย Rectifier ซึ่งระบบนี้จะมีความเหมาะสมในการป้องกันสนิมให้กับโครงสร้างโลหะที่ต้องการกระแสไฟฟ้าปริมาณมาก สภาพแวดล้อมที่มีความต้านทานสูง
- โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) หรือคอนกรีตแอโนด (Concrete Anode) คือการติดตั้งโลหะกัดกร่อนเข้ากับเหล็กเสริมหรือเหล็กเส้นในคอนกรีต เพื่อให้ตัวคอนกรีตแอโนดจ่ายกระแสไฟให้เหล็กเสริมโดยตรงและไม่ต้องใช้กระแสไฟจากภายนอกอีก นิยมใช้กับคอนกรีตเสริมเหล็กที่แช่อยู่ในน้ำทะเล น้ำกร่อย น้ำจืด หรือในดิน เช่น คานคอดินของบ้านหรืออาคารต่างๆ ข้อดีคือสามารถวางแผนเพื่อเปลี่ยนโลหะกันกร่อนได้ตามวงรอบการใช้งานได้ และไม่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเหมือนการใช้ Rectifier จึงมีความสะดวกในการใช้งานและช่วยลดต้นทุนในการซ่อมบำรุงได้
รายละเอียดผลิตภัณฑ์มอร์ต้าร์ควมคุมการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต (Concrete Anode)" - Concrete Anode Size CR6
-
มอร์ต้าร์ควมคุมการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต (Concrete Anode)"
โครงสร้าง อุปกรณ์โครงสร้างอื่นๆ
1,500 บาท/ตารางเมตร
Online
วิธีการติดตั้งคอนกรีต แอโนด (Concrete Anode) เข้ากับเหล็กเสริมในคอนกรีต
คอนกรีต แอโนด (Concrete Anode) มีลักษณะรูปร่างคล้ายลูกปูน มีลวดยาวออกมา 2 ด้านเพื่อใช้ผูกติดกับเหล็กเสริมก่อนทำการเทคอนกรีต ระยะทำการของคอนกรีตแอโนดจะต้องมีระยะป้องกันไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยสามารถใช้กับคอนกรีตที่เทหล่อเสา คาน หรือคอนกรีตสำเร็จรูป เช่น เสาเข็มตอกก็ได้
สามารถใช้กับงานสร้างใหม่ และงานรีโนเวทหรืองานซ่อมแซมคอนกรีตที่แตกร้าวจากแรงดันของสนิมที่เหล็กเส้นก็สามารถใช้คอนกรีตแอโนดเพื่อแก้ปัญหาได้เช่นกัน ถ้าเป็นโครงสร้างใหม่สามารถติดตั้งได้ทันที ส่วนในกรณีซ่อมแซมเหล็กโครงสร้างเดิมที่ได้รับความเสียหาย หากเหล็กโครงสร้างเดิมเสียหายรุนแรง ให้ทำการตัดทาบเหล็กใหม่ ติดตั้งคอนกรีตแอโนด จากนั้นทำการฉาบปูนปิดให้เรียบร้อย
เนื่องจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมีรูปแบบที่ไม่ตายตัว ขนาดของเหล็กเส้นที่ใช้ในแต่ละโครงการก็แตกต่างกัน และสภาพน้ำหรือดินของพื้นที่ตั้งของโครงการก็ส่งผลต่อการออกแบบและคำนวณ ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงรุ่นและปริมาณของคอนกรีตแอโนดที่ต้องใช้ รวมไปถึงตำแหน่งการติดตั้งที่เหมาะสม จึงควรปรึกษาทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจากทาง TMP Thai Marine Protection ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันสนิมในโครงสร้างเหล็กที่มีประสบการณ์มานานกว่า 13 ปี โดยสามารถติดต่อผ่านทาง Wazzadu.com หรือรายละเอียดการติดต่อท้ายบทความได้ครับ
ตัวอย่างโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ติดตั้ง คอนกรีต แอโนด (Concrete Anode) จาก TMP เพื่อใช้ในการป้องกันสนิมด้วยวิธีแคโทดิก
- งานออกแบบและติดตั้ง TMP Concrete Anode โครงการ Long Son Petrochemicals Complex ประเทศเวียดนาม
- งานออกแบบและติดตั้ง TMP Concrete Anode โครงการกาจัดขยะอุตสาหกรรมและหน่วยผลิตไฟฟ้า Industrial Waste Power Plant (IWPP) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
- งานออกแบบและติดตั้ง TMP Concrete Anode โครงการซ่อมแซมเส้นทางสายวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ด่านทับช้าง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
- ท่าเทียบพาณิชย์สัตหีบ กองทัพเรือ
- สะพานบางปะกง
- อื่นๆ
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0909406691
อีเมล์ sales@thaimp.co.th
#TMP #ThaiMarineProtection #SacrificialAnode #CathodicCorrosionProtection #ConcreteAnode #RienforcedConcreteStructure #SpecialCoating #Biotough+ #กันสนิม #ป้องกันสนิม #เหล็กเสริมคอนกรีต #เหล็กเสริม #สีป้องกันสนิม #วิธีแคโทดิก #คอนกรีตแตกร้าว #คอนกรีตระเบิด #คอนกรีตแอโนด #สังกะสีกันกร่อนสำหรับป้องกันสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต #มอร์ตาร์ควมคุมการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต #ไทยมารีนโพรเทคชั่น
ผู้เขียนบทความ
ปัจจุบัน TMP (บริษัท ไทยมารีนโพรเทคชั่น จำกัด) ได้สร้างโรงงานแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่และศักยภาพในการผลิตสูงขึ้น เพื่อรองรับต่อความต้องการใช้งานโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการป้องกันสนิมโครงสร้างโลหะของลูกค้าให้มากขึ้น TMP จึงเริ่มทำการขยายธุรกิจจากผู้ผลิตโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) เพียงอย่างเดียว ไปสู่ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันสนิมครบวงจร (Corrosion Control Business) ภายในอนาคต
555/8 ม.12
บางภาษี, บางเลน
Nakhon Pathom 73130
ไทย ... อ่านเพิ่มเติม