CleanTech เทคโนโลยีสะอาด การลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) หรือที่เรียกชื่อย่อว่า CleanTech นั้น เป็นการปรับปรุงพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพลังงานจากทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหรือผลกระทบต่อประชากรหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุด และยังเป็นการลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการใช้ซ้ำ เรียกว่าเป็นการอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมไว้ พร้อมๆ กับลดต้นทุนการผลิตไปด้วยกัน

การใช้พลังงานสะอาดเพื่อการอยู่อาศัยหรือแม้แต่การใช้ชีวิตในรูปแบบอื่นๆ ยังเป็นเทรนด์ที่น่าจับตาเป็นอย่างมากในตอนนี้ล่าสุด Generate Capital สตาร์ทอัพด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน สามารถระดมทุนได้ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น ซึ่งถือว่าเข้ากับเทรนด์ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่กำลังมาแรงเป็นอย่างมาก

ภาพจาก

https-//cleantechnica.com/2021/07/22/new-york-is-95-of-the-way-to-its-6-gigawatts-by-2025-solar-power-goal/.jpeg

ผ่านมา Generate Capital ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและผู้พัฒนาโครงการประมาณ 40 แห่ง โดยจัดหาเงินทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีสะอาดอื่นๆ แล้วขายบริการให้กับลูกค้า เช่น ผู้ค้าปลีก ธนาคาร หรือชุมชน เช่น โครงการหนึ่งที่บริษัทได้ร่วมมือกับ BYD ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อจัดหารถโดยสารไฟฟ้าให้กับลูกค้า เช่น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัทเฟซบุ๊ก รวมไปถึงการร่วมมือกับสตาร์บัคส์เพื่อพัฒนาโครงการโซลาร์ชุมชนในนิวยอร์ก เพื่อจัดหาพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับร้านค้าในท้องถิ่นและพื้นที่โดยรอบ เป็นต้น

ภาพจาก

https://thelastdriverlicenseholder.com/2017/04/05/impressive-electric-bus-fleet-of-stanford-university/

ภาพการใช้พลังงาน Starbucks solar cell ที่ California

นอกจากนี้ยังมีที่วอลมาร์ท ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีเพื่อแทนที่รถยกดีเซลในโกดังสินค้าด้วยอุปกรณ์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ซึ่งทำงานบนเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือที่โชบานิ (ผู้ผลิตโยเกิร์ต) และเนสเล่ท์ พวกเขาได้นำเศษอาหารไปผ่านระบบย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน เพื่อเปลี่ยนของเสียให้เป็นพลังงานสะอาดและปุ๋ย

ภาพจาก

https-//itkey.media/facebook-opens-cee-headquarters-warsaw/.jpeg

เงินลงทุนด้านนี้ที่เพิ่มขึ้นมหาศาลเป็นตัวบ่งชี้ว่า อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสะอาดเติบโตขึ้นอย่างมาก การสนับสนุนนโยบายสำหรับแหล่งพลังงานหมุนเวียน และการเกิดขึ้นของทั้งสตาร์ทอัพ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของสินทรัพย์พลังงานหมุนเวียน ได้ผลักดันให้การลงทุนด้านพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาพจาก

https-//cleantechnica.com/2021/07/22/new-york-is-95-of-the-way-to-its-6-gigawatts-by-2025-solar-power-goal/.jpeg

จากที่ Statista ได้รวบรวมข้อมูลสถิติในเรื่องนี้ พบว่าจีนมีการลงทุนในด้านพลังงานสะอาดสูงที่สุดในโลก ในปี 2563 จีนทุ่มเงินจำนวน 83.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2,739.5 พันล้านบาท) ในการวิจัยและพัฒนาพลังงานสะอาด สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีการลงทุนด้านพลังงานสะอาดสูงเป็นอันดับ 2 และ 3 ในปีนั้น ด้วยเม็ดเงินลงทุน 55.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1,823 พันล้านบาท) และ 16.5 พันล้านดอลลาร์ฯ (ราว 542 พันล้านบาท) ตามลำดับ ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในการสำรวจนี้ (อินเดีย บราซิล ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ชิลี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส เยอรมนี เม็กซิโก สวีเดน ยูเครน และอาร์เจนตินา) ได้ใช้จ่ายเงินลงทุนรวมกัน 219.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 7,200 พันล้านบาท) ในเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก โดย 3 ประเทศแรกนี้ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 71% ของการลงทุนด้านพลังงานสีเขียวทั้งหมด

อ้างอิงจาก

  • https://datacenter.deqp.go.th/service-portal/g-green/greenlearningcenter/clean-technology/clean-technology/
  • https://www.salika.co/2021/07/19/cleantech-generate-capital-sdgs/

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ