รวมงานออกแบบโอลิมปิก 2020 ที่สะท้อนความใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไม่ได้เป็นเพียงเวทีในการแสดงศักยภาพด้านการกีฬาของแต่ละประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศในมิติต่าง ๆ

วันนี้เราจะพาไปดูผลงานเจ๋งๆ จากประเทศญี่ปุ่น เจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2020 ที่ได้แสดงให้โลกเห็นถึงการเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดในการจัดงาน “Be better, together – for the planet and the people”

โดยถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆ ผ่านสัญลักษณ์ในงานออกแบบต่างๆ เช่น คบเพลิง เหรียญรางวัล แท่นรับรางวัล และสนามกีฬาต่างๆ ที่เน้นการนำนวัตกรรมรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาประยุกต์ใช้กับสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกออกแบบมาอย่างใส่ใจ

1.เหรียญรางวัล....จากขยะอิเล็กทรอนิกส์

เหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดง ทั้งหมดจำนวน 5,000 เหรียญถูกรีไซเคิลจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่อยู่ภายในสมาร์ทโฟนที่ประชาชนบริจาคได้เกือบ 79,000 ตัน นับเป็น 6.21 ล้านเครื่อง โดยใช้เวลารวบรวมกว่า 2 ปี ซึ่งขยะอีเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เมื่อนำมารีไซเคิลรวมแล้วได้ทองราว 32 กิโลกรัม เงิน 3,500 กิโลกรัม และทองแดง 2,200 กิโลกรัม

เหรียญรางวัลนี้ถูกออกแบบโดยคุณ Junichi Kawanishi ซึ่งด้านหน้าเหรียญจะเป็น Nike - เทพธิดาแห่งชัยชนะของกรีก – ยืนอยู่หน้าสนามกีฬาพานาธิไนกอส ส่วนด้านหลังมีการออกแบบที่ตัดเฉือนไปตามเส้นรอบวงของเหรียญ ซึ่งล้อมรอบจุดศูนย์กลางที่มีลักษณะเหมือนก้อนกรวดที่ยกขึ้น สลักสัญลักษณ์ “ichimatsu moyo” แบบตาหมากรุกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของงานโตเกียวโอลิมปิก 2020 และสัญลักษณ์วงแหวนห้าวง แต่ละเหรียญมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 85 มม. ส่วนที่บางที่สุด 7.7 มม. และหนาที่สุด 12.1 มม.

ภาพจาก

https://olympics.com/tokyo-2020/en/news/tokolo-asao-designer-of-the-victory-ceremony-podiums-and-emblem

2.แท่นรับรางวัล….จากขยะพลาสติก 24.5 ตัน

แท่นโพเดียมที่ผลิตจากขยะพลาสติกที่ใช้แล้ว 24.5 ตัน ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวม 9 เดือน เพื่อนำมารีไซเคิลสำหรับสร้างเป็นแท่นโพเดียมสำหรับผู้ชนะในการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020 ออกแบบโดย โตโกโละ อาซาโอะ (Tokolo Asao)

โดยรีไซเคิลและเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นเส้นใยที่ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติทั้งหมด 98 แท่นที่จะใช้ในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งแท่นแต่ละแท่นสร้างจากโมเดลทรงลูกบาศก์ขนาดเล็กจำนวนหนึ่งที่เชื่อมต่อกันเพื่อสร้างสามแท่นแบบดั้งเดิม

ภาพจาก

https://www.jgbthai.com/japan-olympics-2020/

3.คบเพลิง....จากอะลูมิเนียมรีไซเคิลในเหตุการณ์สึนามิ

ที่จุดคบเพลิงอะลูมิเนียมรีไซเคิล ผลิตมาจากของเสียที่เคยใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น

หัวคบเพลิง สีโรสโกลด์ขนาด 71 ซม. ที่มีความพิเศษจากมองจากด้านข้างจะเป็นเพียงคบเพลิงทั่วไป แต่ถ้ามองจากด้านบนจะเห็นว่าเป็นรูปดอกซากุระ สัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง

โดยขึ้นรูปจากแผ่นอะลูมิเนียมแผ่นเดียวด้วยเทคโนโลยีเดียวกับการผลิตรถไฟความเร็วสูงชิงคันเซ็น ทำให้น้ำหนักเบา แข็งแรงและสร้างชิ้นงานที่ไม่มีแม้แต่รอยต่อได้อย่างสวยงาม

ภาพจาก 

https://www.dezeen.com/2021/07/19/tokyo-2020-torchbearer-uniforms-recycled-plastic-bottles/

4.ชุดนักวิ่งคบเพลิง....จากขวด Coca-Cola

ขวดพลาสติกรีไซเคิลจากการรวบรวมของ Coca-Cola ได้ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำชุดนักวิ่งคบเพลิง ซึ่งออกแบบโดยคุณ Daisuke Obana ภายใต้แนวคิด Hope lights our way

ภาพจาก

https://olympics.com/tokyo-2020/en/news/photos/galleries/athlete-village

5.หมู่บ้านนักกีฬา....จากกล่องกระดาษรีไซเคิล

อาคารหมู่บ้านนักกีฬา มีขนาด 5,300 ตารางเมตร สร้างจากไม้แปรรูปจำนวนมากกว่า 40,000 ชิ้น มีการใช้ไม้ cypress, cedar และ larch เป็นวัสดุหลัก ซึ่งได้รับการบริจาคจากเมืองต่างๆ และไม้แต่ละชิ้นจะถูกประทับตราว่ามาจากเมืองไหน เพราะเมื่อหลังจากโอลิมปิกปิดฉากลงและมีการรื้อถอนอาคาร ไม้เหล่านี้จะถูกส่งกลับไปยังเมืองนั้นเพื่อนำไปใช้ซ้ำและให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน

ภาพจาก

https://www.dezeen.com/2021/07/11/cardboard-beds-modular-mattresses-airweave-tokyo-2020-olympics/

6.เตียงนักกีฬา....จากกล่องกระดาษรีไซเคิล

บริษัทเครื่องนอนของญี่ปุ่น Airweave ได้สร้างเตียงนอนที่ทำจากกระดาษแข็งรีไซเคิลและที่นอนที่สามารถปรับแต่งได้ จำนวน 18,000 เตียงสำหรับนักกีฬาโอลิมปิก โดย 8,000 เตียงจะถูกนำกลับมาใช้ไหม่สำหรับนักกีฬาพาราลิมปิก

เตียงถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบามากและประกอบง่าย เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แบรนด์ยังพัฒนาแอพให้ช่วยนักกีฬาเลือกที่นอนที่ดีที่สุดสำหรับร่างการของพวกเขา โดยผู้ใช้งานส่งรูปถ่ายและใส่ขนาดร่างกายลงในแอพเพื่อรับการกำหนดค่าที่นอนที่ทางแอพแนะนำ

ภาพจาก

https://www.musamori-plaza.com/facility/mainarena.php

7.สนามกีฬา....จากคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิล

สถานที่ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาฟันดาบและแบดมินตัน Musashino Forest Sports Plaza ใช้คอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิล (Recycled Aggregate Concrete) เพื่อลดปริมาณเศษวัสดุคอนกรีตจากการก่อสร้าง รวมถึงการใช้เหล็ก กระเบื้องและพื้นไวนิลรีไซเคิล

ส่วนสนาม Oi Hockey Stadium สำหรับใช้แข่งขันกีฬาฮอกกี้ ใช้หญ้าเทียมที่ทำมาจากเส้นใยของอ้อยที่เหลือทิ้งจากการเกษตร ทำให้ช่วยลดการใช้น้ำลง และยังมีสนามกีฬาอื่นๆอีก 5 แห่ง ที่นำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการก่อสร้าง คือ Ariake Arena, Sea Forest Waterway, Tokyo Aquatics Centre, Kasai Canoe Slalom Centre และ Yumenoshima Park Archery Field

สมกับเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดในการจัดงาน “Be better, together – for the planet and the people” จริงๆ ครับ

อ้างอิงโดย

  • https://www.facebook.com/artofth/photos/pcb.365769178283605/365929441600912
  • https://www.sarakadeelite.com/better-living/sustainable-olympics/

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ