Nzambi Matee ชาวเคนยา ค้นพบวิธีรีไซเคิลพลาสติกให้กลายเป็นอิฐสุดแกร่ง
Nzambi Matee ชาวเคนยา ค้นพบวิธีรีไซเคิลพลาสติก ให้กลายเป็นอิฐก่อสร้างที่ทนทานกว่าอิฐทั่วไป
มลพิษจากขยะพลาสติกได้กลายเป็นปัญหาที่รุนแรงมากในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา จากข้อมูลของ National Environmental Management Agency (NEMA) พบว่า วัวมากกว่า 50% ที่อยู่ใกล้เขตเมืองในเคนยามีพลาสติกอยู่ในท้อง ทำให้รัฐบาลเคนยาต้องออกกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติกเมื่อปี 2017 และกำหนดห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทั้งหมดในพื้นที่ธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครองเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา
Nzambi Matee วิศวกรสาววัย 29 ปี ชาวเคนยา ที่ค้นพบวิธีรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นอิฐก่อสร้างสุดแข็งแกร่ง เนื่องจากในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยานั้นเต็มไปด้วยท่อโลหะและฟันเฟืองเครื่องจักรต่างๆ สำหรับคนภายนอกอาจดูวุ่นวาย แต่สำหรับ Matee เธอได้พัฒนาเครื่องต้นแบบสำหรับเครื่องจักรที่เปลี่ยนพลาสติกไร้ค่าที่ถูกทิ้งให้กลายเป็นหินปูพื้น เพื่อเป็นส่วนเล็กๆ ในการทำให้พลาสติกที่ยังไม่ถูกรีไซเคิลทั่วโลกที่มีมากถึง 91% ลดน้อยลงไปได้บ้าง
เธอสามารถผลิตบล็อกปูพื้นพลาสติกได้ถึง 1,500 ชิ้น/วัน ประกอบด้วยหินปูพื้นขนาด 60 มม. สำหรับงานหนักมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะใช้กับลานจอดรถและถนน ในขณะที่หินปูพื้นเบาขนาด 30 มม. สามารถใช้กับลานบ้านและทางเดินในบ้านได้ โดยหินปูพื้นสำหรับงานเบามีความแข็งแรงเป็น 2 เท่าของคอนกรีต และมีหลายสีให้เลือก
ซึ่งบรรดาโรงเรียนในพื้นที่และเจ้าของบ้านจะนิยมบล็อกของเธอเป็นจำนวนมาก เนื่องจากทนทานและราคาไม่แพง นอกจากนี้ยังมีการนำขวดพลาสติกและภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ มารีไซเคิลอีกด้วยแทนที่จะปล่อยให้ลงเอยด้วยการฝังกลบหรือแย่กว่านั้นคือถูกทิ้งเป็นขยะเกลื่อนกลาดบนถนนในกรุงไนโรบี
Nzambi Matee ได้รีไซเคิลพลาสติกไปแล้วถึง 20 ตัน ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา และสร้างงานมากถึง 120 ตำแหน่งในกรุงไนโรบี นอกจากนี้นวัตกรรมของ Gjenge Makers ยังเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีราคาถูกกว่าหิน/อิฐปูพื้นในท้องตลาด โดยมีราคาประมาณ 7.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตร (ราว 230 บาท) เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมด้านวัสดุที่พลิกวิกฤตมลพิษจากขยะพลาสติกทั่วโลก เป็นอิฐก่อสร้างที่มีความทนทานสูงได้อย่างน่าสนใจครับ
ข้อมูลอ้างอิง
-
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=564012021643224&id=112657150112049
-
https://www.ecowatch.com/plastic-bricks-in-kenya-2650645441.html?fbclid=IwAR0Mktj081EKZcMEaH1TsgAI5YIorZFG5rMWQNkt-GBDTJZjUU376Ogpwt0
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ