เลสเตอร์ เปลี่ยนป้ายรถเมล์ 30 แห่ง จาก “Bus Stop” เป็น “Bee Stop”
เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เปลี่ยนป้ายรถเมล์ 30 แห่ง จาก Bus Stop เป็น Bee Stop เป็นที่พักรอรถของมนุษย์ เป็นที่พักของผึ้ง ช่วยประชากรผึ้งที่ลดลง และยังช่วยดักฝุ่นได้อีกด้วย
ผลงานดังกล่าวถูกขนานนามว่าหลังคามีชีวิต ประกอบด้วยป้ายรถเมล์ 30 แห่งที่ประดับประดาด้วยดอกไม้ป่าและต้นซีดัม ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบในหมู่แมลงผสมเกสรอย่างผึ้งที่มีจำนวนลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงต่างๆในการเกษตร การตัดไม้ทำลายป่า แหล่งอาศัยที่ลดลง และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งผึ้งเป็นพื้นฐานสำคัญในระบบนิเวศ โดย 90% ของพืชดอกป่า และ 75% ของพืชอาหาร ขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของสัตว์เหล่านี้ในการช่วยผสมเกสร หากผึ้งหายไป จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างมหาศาล
โดยก่อนหน้านี้เมือง Utrecht เนเธอร์แลนด์ได้ดำเนินโครงการแบบนี้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยปลูกต้นไม้-ดอกไม้ บนหลังคาป้ายรถเมล์ถึง 316 แห่ง ช่วยดักฝุ่น เก็บฝน คลายความร้อน และเป็นทั้งที่พักมนุษย์ และที่พักผึ้งและแมลงต่างๆ ในเวลาเดียวกัน
Bee Bus Stops สร้างขึ้นบนสัญญาระยะเวลาสิบปีกับสภาเทศบาลเมือง Leicester และ Clear Channel UK โดยจะมีแผนติดตั้งโซลาร์เซลล์กับป้ายรถเมล์ทุกแห่งเพื่อใช้พลังงานสีเขียวและไฟอัจฉริยะ เพื่อเป้าหมายในอนาคตของเมืองสีเขียวภายในปี 2030
ที่พักพิงแห่งใหม่ที่ทันสมัยนี้จะเหมาะสำหรับผู้โดยสาร สิ่งมีชีวิตต่างๆ และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เป็นอีกก้าวหนึ่งสำหรับความตั้งใจที่จะพัฒนาเมือง
อ้างอิงโดย :
-
https://www.designboom.com/design/leicester-bus-stops-green-roofed-bee-stops-07-02-2021/?fbclid=IwAR1dL9JCZ2hI8ysW1hA5HScJ9xv23gU1y_jjnNWlJ4tsQ7n502Dyoiez-To
-
https://www.yankodesign.com/2021/07/02/these-bee-friendly-living-roofs-on-the-leicester-city-bus-stops-is-part-of-their-goal-to-become-carbon-neutral-by-2030/?fbclid=IwAR0HenuroE4puxazqKC57IxI9PVXmedN2onh82Zwz03t4XFlDE3ngHQ_uyE
-
https://www.clearchannel.co.uk/latest/new-network-of-bee-bus-stops-springing-up-in-leicester?fbclid=IwAR0HenuroE4puxazqKC57IxI9PVXmedN2onh82Zwz03t4XFlDE3ngHQ_uyE
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ