มัลดีฟส์สร้างนวัตกรรมเมืองลอยน้ำรับมือ Climate Change ครั้งแรกของโลก !

มัลดีฟส์ ประเทศที่มีพื้นที่เพียง 300 ตารางกิโลเมตร (ไทย 513,120 ตารางกิโลเมตร) กำลังสร้างเมืองลอยน้ำ เป็นโครงการนำร่องที่ทำให้ชาวมัลดีฟส์ที่มีอยู่กว่า 540,544 คน สามารถใช้ชีวิตอยู่เหนือระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นได้ทุกคน

มัลดีฟส์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2540

มัลดีฟส์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

Hulhumalé ซึ่งเป็นเกาะเทียมที่สร้างขึ้น

เกาะ Hulhumalé ซึ่งเป็นเกาะเทียมที่สร้างขึ้นใหม่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวง เกาะแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นโดยการสูบทรายจากพื้นทะเลลงบนแท่นปะการังที่จมอยู่ใต้น้ำ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2 เมตร สูงกว่า
มาเล เมืองหลวงประมาณ 2 เท่า ความสูงที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกาะนี้เป็นที่หลบภัยของชาวมัลดีฟส์ที่จำใจจะต้องหนีออกจากเกาะที่อยู่ต่ำกว่าเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงในที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลือกสำหรับการอพยพในช่วงพายุไต้ฝุ่น และคลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge) ในอนาคต

การออกแบบที่ยั่งยืนอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Island City แห่งแรกของโลก

ได้วางผังการออกแบบคล้ายกับรูปลักษณ์ของปะการังสมอง (Brain coral) ที่สวยงาม และมีประสิทธิภาพ พื้นที่ลอยน้ำรูปหกเหลี่ยมบางส่วนจำลองมาจากรูปทรงเรขาคณิตที่โดดเด่นของปะการังในท้องถิ่น เชื่อมต่อกับวงแหวนของเกาะปะการังต่างๆ ที่โอบล้อมอยู่ ทำหน้าที่เป็นเบรกเกอร์ใต้น้ำ จึงช่วยลดผลกระทบของคลื่น และทำให้เกิดโครงสร้างที่มั่นคงบนพื้นผิวได้

เมืองลอยน้ำของมัลดีฟส์ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามของ Climate Change ภายใต้ชื่อ Maldives Floating City (MFC)  ได้รับการออกแบบโดยบริษัทเนเธอร์แลนด์นามว่า Dutch Docklands
ทำงานร่วมกับ Waterstudio บริษัทด้านการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างโครงข่ายเมืองลอยน้ำ โดยรังสรรค์ให้มีที่พักอาศัยริมน้ำและบริการต่างๆ นับพันล่องลอยไปตามกริดที่ยืดหยุ่น

มัลดีฟส์เราไม่สามารถหยุดคลื่นไม่ให้ซัดซาดได้ แต่เราสามารถลอยละลองอยู่เหนือมันได้

 

การออกแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงเป้าหมาย.....

1. การอยู่ร่วมกับระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

2. การเรียนรู้ที่จะปรับปรุง และเคารพปะการังธรรมชาติเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา

3. โครงการนี้เป็นการเน้นย้ำถึงความรับผิดชอบของมัลดีฟส์ในการเป็นศูนย์กลางในการปกป้องปะการังโลก

การก่อสร้างมีกำหนดจะเริ่มขึ้นในปี 2565 และการพัฒนาจะแล้วเสร็จเป็นระยะๆ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ในที่สุดตามแผนการนี้ก็จะมีการสร้างโรงพยาบาล และโรงเรียน เพื่อทำให้เกิดเป็นเมืองอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันพลังงานหมุนเวียนจะขับเคลื่อนเมืองผ่านสมาร์ทกริด

ส่วนบ้านจะมีราคาเริ่มต้นที่ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 7,841,493 บาท) เพื่อดึงดูดผู้ซื้อที่หลากหลาย รวมถึงชาวประมงในพื้นที่ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่าบ้าน มานานหลายศตวรรษ

เมืองลอยน้ำในมัลดีฟส์ไม่จำเป็นต้องมีการถมทะเล ดังนั้นจึงส่งผลกระทบน้อยที่สุดต่อแนวปะการัง 


” Mohamed Nasheed อดีตประธานาธิบดีมัลดีฟส์ ประธานรัฐสภาและ Ambassador for Ambition ของ Climate Vulnerable Forum (CVF) กล่าวว่า

“ยิ่งไปกว่านั้นแนวปะการังขนาดยักษ์จะเติบโตขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกัดคลื่น จะเห็นได้ว่าการปรับตัวของเราให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะต้องไม่ทำลายธรรมชาติ แต่ต้องทำงานร่วมกับมัน”

อ้างอิงโดย :

  • Preparing for Rising Seas in the Maldives
  • Threatened by rising sea levels, the Maldives is building a floating city
  • Maldives Floating City

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ