โรงเรียนแห่งแรกของโลก จากระบบปรินต์สามมิติ ในมาดากัสการ์ ลดคาร์บอน ลดวัสดุสิ้นเปลือง สร้างเสร็จใน 1 สัปดาห์
วันนี้ Wazzadu .com เราเล็งเห็นว่าการสร้างโลกที่ดีขึ้นเป็นหน้าที่ทุกคนที่ต้องช่วยกัน เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการนำเนื้อหาดีดีด้านสิ่งแวดล้อม, นวัตกรรมที่ใส่ใจโลก, วัสดุศาตร์ที่ดีต่อโลก และการออกแบบที่ทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษย์มาเล่าสู่กันฟัง วันนี้อยากพาทุกท่านไปรู้จักการออกแบบโรงเรียนที่ใช้ระบบปรินต์สามมิติ แล้วรู้ไหมว่าระบบนี้เขาทำขึ้นมาเพื่ออะไร ? แล้วส่งผลดีต่อโลกอย่างไร ? มาติดตามเรื่องราวดีดีกันได้เลยครับ
แนวคิดการสร้างโรงเรียนแห่งแรกของโลกจากระบบปรินต์สามมิติ ช่วยลดคาร์บอน ลดวัสดุสิ้นเปลือง สร้างเสร็จใน 1 สัปดาห์
การสร้างโรงเรียนสักแห่งในพื้นที่ที่ขาดแคลนทรัพยากรหรือห่างไกลความเจริญนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากในอดีต แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ซึ่งกำลังเป็นแนวโน้มที่น่าจับตามองในการก่อสร้างยุคใหม่ สามารถตอบโจทย์ได้อย่างลงตัว ช่วยให้เด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลสามารถมีโรงเรียนได้ และทำให้ลดความเหลื่อมล้ำ ผู้คนในโลกเข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้นและด้วยระบบการออกแบบ และก่อสร้างที่รวดเร็ว ง่าย มากขึ้นนั้นส่งผลทำให้ดีต่อสภาพแวดล้อมของโลกตามไปด้วย
Studio Mortazavi บริษัท สถาปัตยกรรมระดับนานาชาติ โดยสถาปนิก เอมีร์ มอร์ตาซาวี (Amir Mortazavi) , Thinking Huts เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในโคโลรา ได้ร่วมมือกับ บริษัท เทคโนโลยี 3 มิติ Hyperion Robotics ในฟินแลนด์และ EMIT ของมหาวิทยาลัยมาดากัสการ์ในท้องถิ่นได้ เสนอแนวคิดการออกแบบสำหรับโรงเรียนพิมพ์ 3 มิติแห่งแรกของโลกที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมาดากัสการ์
โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาเพื่อพัฒนาเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล และยากไร้ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในพื้นที่ห่างไกล เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคนทั้งโลกได้อย่างยอดเยี่ยม
สรุปแนวคิดที่สำคัญในการออกแบบโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
1. แนวคิดการใช้วัสดุ : มีเป้าหมายในการลดคาร์บอนที่เป็นมลพิษในการก่อสร้างทั้งเศษขยะจากการก่อสร้างที่สิ้นเปลืองเกินความจำเป็นไปเป็นการใช้ระบบวัสดุเพื่อความยั่งยืน โดยใช้วัสดุท้องถิ่นมาทดแทน (Local Material) มาทำผนังอาคาร, ประตู และช่องแสงต่างๆ
2. แนวคิดในการก่อสร้าง : ลดระยะเวลาการก่อสร้าง โดยลดเวลาจาก 1 เดือนเหลือเพียง 1 สัปดาห์ ซึ่งช่วยการบริหารจัดการแรงงานที่ขาดแคลนในท้องถิ่น สิ่งสำคัญที่สถาปนิกได้ใช้นั้นคือระบบแบบพรีแฟบที่บ้านไทยในอดีตก็มีวิธีการสร้างในลักษณะนี้ โดยในโครงการนี้ได้นำแนวคิดการสร้างรังของผึ้งมาเป็นหลักคิดสำคัญ คือการสร้างแบบแยกส่วนตั้งแต่ห้องเรียน ห้องพักครู, ห้องดนตรี, ห้องน้ำและช่องระบายอากาศต่างๆ มาประกอบร่างกัน
หลักคิดสำคัญคือการออกแบบแบบกระจายเป็นโหนด โดยออกแบบดีเทลให้แต่ละโหนดประกอบกันได้อย่างกลมกลืน
โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องที่ยอดเยี่ยมในการพัฒนาระบบการก่อสร้างที่ได้ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมทางด้านการศึกษาไปพร้อมๆกัน ซึ่งเราอยากเห็นแนวคิดนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยบ้าง เพราะการศึกษาคือรากฐานของการกินดี อยู่ดีของคนในประเทศนั่นเอง
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม