ไม้อัดที่ปลอดภัยจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ แบ่งค่ามาตรฐาน Emission ได้กี่ระดับ (Formaldehyde Emission Level)

ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) คืออะไร :

“ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)” เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุนที่แสบจมูกและอาจทำให้แสบตา มีอาการระคายเคืองได้ เป็นก๊าซไวไฟ มีฤทธิ์กัดกร่อน โดยมีอีกชื่อว่า “ฟอร์มาลีน (Formalin)” ซึ่งเป็นสารเคมีตัวเดียวกัน แต่ฟอร์มาลีนอยู่ในสถานะของสารละลายที่ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ ประมาณ 37- 40% ในน้ำและมีการเติมสารละลายเมทานอลประมาณ 10-15 % เพื่อป้องกันการเกิดโพลิเมอร์พาราฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งมีความเป็นพิษสูงกว่า

การนำฟอร์มัลดีไฮด์ไปใช้งาน :

โดยทั่วไปแล้วมักพบสารประกอบของฟอร์มัลดีไฮด์ที่เป็นสารเคลือบในกระบวนการผลิตของสินค้าในหลายอุตสาหกรรม และสำหรับอุตสาหกรรมของวัสดุตกแต่งนั้น จะพบฟอร์มัลดีไฮด์ได้จากสินค้าดังต่อไปนี้ ได้แก่

- วอลเปเปอร์ปิดผิวผนัง

- แลคเกอร์เคลือบพื้นไม้

- พรมประดับพื้น

- ไม้อัด Particle Board

- ไม้อัด OSB

- ไม้อัด MDF

- ไม้อัด HDF

- ไม้อัด HMR

พบว่าส่วนใหญ่แล้วมักเจอฟอร์มัลดีไฮด์อยู่ในวัสดุหมวดไม้อัดต่างๆ ที่ใช้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งผนังภายในอาคาร

อันตรายของฟอร์มัลดีไฮด์ :

ฟอร์มัลดีไฮด์ถูกจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งและมีอันตรายอย่างมาก เมื่อเจอกับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงและอยู่ในสถานที่ที่ไม่การถ่ายเทอากาศที่ดี ทำให้เกิดการปล่อยสารระเหยของสารพิษออกมา เมื่อคนสูดดมสารระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์เข้าไปจะมีอาการได้กลิ่นฉุน แสบจมูก แสบตา วิงเวียนศีรษะ กรณีที่บางคนไวต่อสารตัวนี้อาจเกิดการแน่นหน้าอกหรืออาเจียนได้ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากๆ จะเกิดผลเสียกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ระคายเคืองในปอด มีอาการปอดอักเสบ เยื่อโพรงจมูกอักเสบและอันตรายที่รุนแรงสุดจะก่อให้เกิดมะเร็ง

การแบ่งประเภทตามค่ามาตรฐาน Formaldehyde  Emission

ในการเลือกใช้วัสดุหมวดไม้อัดเพื่อนำมาออกแบบ หรือเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้อัด วิธีที่เราจะทราบว่าสินค้านั้นๆ ปลอดภัยจากสารระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์ สามารถตรวจสอบจากสัญลักษณ์ที่ระบุในสเปคว่าเป็นระดับ Formaldehyde Emission อยู่ที่ระดับไหน

สังเกตจากค่า Emission ที่จะมีตั้งแต่ E2 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานไปจนถึง E0 ที่ปล่อยออกมาในปริมาณที่น้อยมาก และในแต่มาตรฐานนั้นจะแบ่งหมวดการใช้งานตามนี้

Formaldehyde Emission : ระดับ E2

- ใช้ผลิตสีทาไม้ สีเคลือบผิว สารเคลือบกระดาษปิดผิวหรือผลิตเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป

- เหมาะกับงานออกแบบและตกแต่งในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท อย่างบริเวณพื้นที่สาธารณะ เช่น ห้องโถง, ระเบียง, ทางเดินเชื่อมอาคาร

 

Formaldehyde Emission​​​​​​​ : ระดับ E1

- ใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้งานภายในอาคารและกรุปิดผิวผนังภายในอาคาร

- สามารถใช้กับงานออกแบบและตกแต่งในพื้นที่ที่ปิดมิดชิด เช่น ห้องนอน, ห้องทำงาน, ห้องนั่งเล่น

 

Formaldehyde Emission​​​​​​​ : ระดับ E0

- ใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในห้องที่เน้นการดูรักษาความปลอดภัยของสุขภาพเป็นพิเศษ

- ยกตัวอย่าง เช่น โรงพยาบาล, ห้องแล็ป, โรงเรียนระดับเด็กอนุบาล, ห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล, ห้องนอนของผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ห้องนอนของผู้สูงวัยและเด็กเล็ก

 

*ในด้านการใช้งานจริง กลุ่มผู้ใช้งานจะเรียกสเปคสินค้าว่าเป็นไม้อัด เกรด E2, E1, E0 (อีทู, อีวัน, อีซีโร่)

 

ตัวอย่างสินค้าไม้อัด

ทั้งนี้มาตรฐานของการควบคุมระดับการปล่อยสารระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์จะมีค่า Emission แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรที่ดูแลการผลิตสินค้า สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่ใช้ไม้อัดผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อจัดจำหน่าย รวมถึงสถาปนิก อินทีเรียและนักออกแบบ ที่ต้องคัดสรรวัสดุเพื่อใช้สเปคในโครงการ Green Building ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าแต่ละโครงการกำหนดค่ามาตรฐานขององค์กรไหน เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของการออกแบบอาคาร

 

อ้างอิงโดย :

http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/articles_preview.php?cid=19310

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/322/ฟอร์มาลิน-ฟอร์มัลดีไฮด์/

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=43

https://www.laminatethai.com/forum/topic/140/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-e1

https://www.onestockhome.com/th/products/337520/mdf-board-adhesive-e2_decorative-plywood_mdf-e2-panel-plus_panel-plus

http://hightechbed.lnwshop.com/webboard/viewtopic/2

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ