งานออกแบบ และติดตั้งกระจกตกแต่งภายใน โครงการอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ภาพมุมสูงของโครงการอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
รูปภาพประกอบจาก : อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
โครงการก่อสร้างศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
อาคารสำนักงานสูง 28 ชั้น และชั้นใต้ดิน 1 ชั้น แห่งนี้เป็นศูนย์กลางของการบริหารงานจราจรบนทางพิเศษ และการกู้ภัยแบบบูรณาการเต็มรูปแบบ (Traffic Control Center) โดยตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ใกล้กับด่านอโศก
แนวคิดการออกแบบอาคาร ได้มีการหยิบนำสัญลักษณ์ของการทางพิเศษมาเป็นแนวคิดในการออกแบบรูปทรงอาคาร เพื่อทำให้เกิดเส้นโค้งที่สวยงาม โดยออกแบบเปลือกอาคารด้วยการใช้วัสดุกระจกสลับกับวัสดุทึบเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม ควบคู่กับการออกแบบแผงบังแดดเพื่อลดปริมาณความร้อนที่เข้าสู่อาคาร
นอกจากนี้ยังได้นำหลักการออกแบบและการก่อสร้างตามมาตรฐานอาคารเขียว (TREE-Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) มาใช้ในการปรับวางผัง และออกแบบงานระบบอาคาร เพื่อให้ได้อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน
ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น และมีคุณภาพสูง ทำให้แบรนด์ TYK ได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานออกแบบ และติดตั้งกระจกตกแต่งภายใน 3 ประเภท ได้แก่ กระจก Selective Satin ,กระจก U White และกระจก G White ซึ่งกระจกแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยครับ
กระจก Selective Satin
"กระจกซาติน" (Satin Glass) หรือชื่อทั่วไปคือกระจกกัดกรด (Acid Edged Glass) ผลิตจากการนำเอากระจกไปกัดผิวด้วยน้ำยาเคมีที่เป็นกรด ลักษณะผิวของกระจกจะนวลๆ ไม่เป็นฝ้าขาวเหมือนกระจกพ่นทราย กระจก Selective Satin ใช้วิธีการกัดผิวกระจกให้เป็นผิวแบบซาตินโดยกัดให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการเพียงบางส่วน ไม่ได้เป็นฝ้าทั้งแผ่น
หากต้องการทำลวดลายบนผิวกระจก Selective Satin เพียงแค่ใช้ไฟล์ภาพกราฟิกความละเอียดสูงทั้งแบบ Vector Graphic และไฟล์ PDF หรือ AI ความละเอียด 200 dpi ขึ้นไปเพื่อนำมาทำลวดลาย และไฟล์นั้นต้องปรับเป็นโทนสีเดียวกัน (Monotone) เนื่องจากการทำกระจก Selective Satin เป็นการทำกระจกให้ขุ่น เป็นลวดลายตามที่ต้องการ ซึ่งแตกต่างจากการพิมพ์ลาย และความขุ่นนั้นมีระดับเดียว เพราะฉะนั้นลวดลายที่จะใช้นั้นควรเป็นรูปแบบที่กำหนดเส้นสายที่ชัดเจนแบบลายกราฟิก ไม่ควรเป็นรูปภาพ
นอกจากนี้กระจก Selective Satin ยังสามารถนำมาทำเป็นกระจกลามิเนตได้โดยเลือกฟิล์ม PVB ซึ่งมีสีสันให้เลือกหลากหลายรวมทั้งสีใสด้วย หรือจะแปรรูปเป็นกระจก Low-e เพื่อใช้เป็น facade อาคารก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
กระจก U White
คือ กระจกเฉดสีขาวบริสุทธิ์ที่สร้างสรรค์จากแผ่นกระจกที่ให้ความบริสุทธ์มากกว่ากระจกธรรมดา โดยผ่านวิธีการผสมผสานวัสดุ และเทคนิคชั้นเลิศเข้าไว้ด้วยกัน จนกลายเป็นชิ้นงานกระจกที่ให้เฉดสีไม่ผิดเพี้ยน มีความขาวคมชัด มีความมันวาว ให้ความสดใหม่ตลอดอายุการใช้งาน
อีกทั้งดูแลรักษาง่าย จึงเหมาะกับการใช้งานตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยเฉพาะสำหรับงานตกแต่งกรุปิดผิว ซึ่งสามารถใช้แทนวัสดุกระเบื้อง วอลเปเปอร์ หรือการทาสีได้ และที่พิเศษไปกว่านั้นยังสามารถใช้งานแบบ 2 in 1 ได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งนอกจากจะเป็นกระจกตกแต่งปิดผิวผนังแล้ว ยังปรับ Function ใช้งานให้เป็นกระดาน Glassboard สำหรับใช้ขีดเขียน และรับการฉาย Projector ในการประชุมแบบต่างๆได้อีกด้วย
กระจก G White
สำหรับกระจก G White นั้น ในด้านคุณสมบัติจะเหมือนกับกระจก U White ทุกอย่าง จะต่างกันเพียงแค่เฉดสีที่จะออกเป็นโทนสีเขียวเท่านั้น
กระจกตกแต่งภายในทั้ง 3 ประเภท ไม่ว่าจะเป็นกระจก Selective Satin ,กระจก U White และกระจก G White ล้วนถูกออกแบบมาเพื่อเติมเต็มให้อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอัตลักษณ์ที่สวยงาม โดยสะท้อนถึงตัวตนขององค์กรได้อย่างเด่นชัด
สำหรับท่านใดที่สนใจวัสดุกระจกตกแต่งภายใน
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
https://www.wazzadu.com/brand/104/contact
สอบถามข้อมูล และติดต่อสั่งซื้อได้ที่เบอร์ ฝ่ายขาย 02-960-2790 ,02-434-9590 -9
มือถือ 085-111-5238
Line: @tykgroup ,E-mail: info@glassform.co.th
ผู้เขียนบทความ