เล่มเดียวก็สั่งพิมพ์ได้!! สร้างสรรค์สไตล์ที่ใช่ไปกับ IQ Lab: พอร์ตโฟลิโอ โฟโต้บุ๊ค แคตตาลอค ปฎิทิน คู่มือ นามบัตร

IQ Lab คือผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์แบบครบวงจร พิถีพิถันทุกขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่เริ่มออกแบบ การปรับแต่งภาพ การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ตลอดจนกระบวนการหลังพิมพ์ และเทคนิคพิเศษ เช่น Spot UV, Die-Cut การเคลือบ หรือเข้าเล่มแบบต่างๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็น พอร์ตโฟลิโอ นิตยสาร วารสารขององค์กร หนังสือภาพ นิทาน หรือ เมนูอาหาร ทาง IQ Lab พร้อมบริการด้วยความใส่ใจ ทำให้โฟโต้บุ๊คของคุณมีความหมายมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะพิมพ์เพียงเล่มเดียวก็ได้!! 

รางวัลจากการประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ และระดับนานาชาติ

ด้วยระบบการพิมพ์ดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้ผลงานจาก IQ Lab ได้รับรางวัลชนะเลิศหลายรางวัลเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณภาพระดับพรีเมี่ยม เช่น Illustration book เรื่อง The Camouflage ได้รับรางวัล PIXI Award ความพิเศษของงานนี้คือการผสมผสานเทคโนโลยี AR เข้ากับสิ่งพิมพ์ เมื่อผู้อ่านใช้แอพพลิเคชั่นสแกนภาพผ่านสมาร์ทโฟนจะทำให้สามารถมองเห็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องและสมจริง โฟโต้บุ๊คเล่มนี้ใช้วิธีการเข้าเล่มแบบเปิดได้ 180 องศาทำให้ภาพมีความต่อเนื่องกัน ทั้งนี้คุณภาพของครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะภาพที่ต่อเนื่องรวมทั้งสีและความชัดเจนของภาพมีผลต่อการอ่านภาพของ AR 

เทคนิคการออกแบบ และการเลือกใช้กระดาษในงานพิมพ์

  • ควรกำหนดรูปแบบของตัวเล่ม เช่น แนวตั้งหรือแนวนอน ขนาดของรูปเล่ม ให้ชัดเจนก่อนออกแบบเลย์เอาท์ ขนาดเล็กสุดที่ทำได้คือ Minibook ขนาด 14.4x10.9 cm และใหญ่สุด A3 แนวนอน
  • เลือกรูปแบบการเข้าเล่มก่อนทำการออกแบบเลย์เอาท์ เพราะการเข้าเล่มแต่ละแบบให้อารมณ์ของงานแตกต่างกันไป และในการเข้าเล่มแต่ละแบบ จะมีการเผื่อพื้นที่บริเวณเข้าสันไม่เหมือนกัน เช่น การเย็บน็อต/สกรู/หมุด  
  • เลือกความหนาของกระดาษให้เหมาะสมกับการใช้งานและการเข้าเล่มแบบที่ต้องการ การเข้าเล่มโฟโต้บุ๊คปกติจะใช้ความหนากระดาษอาร์ตที่ 157 แกรม หรือจะเลือกออพชั่นการเคลือบที่ต้องการ เช่นเคลือบมัน หรือเคลือบด้าน

  • หากต้องการใช้กระดาษสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีขาว เช่น สีครีมถนอมสายตา ควรทำการเทสสีลงบนกระดาษก่อนเพื่อตรวจสอบดูว่าสีเพี้ยนไปจนเกินขอบเขตที่ยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งทางไอคิว แล็บ จะมีการทำเทสให้ลูกค้าตรวจสอบก่อนทำการพิมพ์ชิ้นงานจริงเสมอ

  • ในขั้นตอนการออกแบบเลย์เอาท์ควรเผื่อระยะ bleeding หรือตัดตกตามที่กำหนด คือ 3 มม. รอบด้าน

  • IQ Lab ยังสามารถสร้างเทคนิคพิเศษ เพื่อให้งานดูโดดเด่นสะดุดตา เช่น การเคลือบสปอตยูวีเฉพาะจุด การพิมพ์ด้วยสีพิเศษเมทัลลิก เช่น สีทอง สีเงิน หรือสีเมทัลลิคอื่นๆ ที่สามารถผสมสีเองได้ รวมถึงสีชมพูสะท้อนแสง Neon Pink และสีขาว จะช่วยทำให้งานพิมพ์ดูน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งสามารถระบุมาในไฟล์ได้เลย

  • ไฟล์งานสำหรับงานพิมพ์ควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi

งานพิมพ์จาก IQ Lab มีรูปแบบการเข้าเล่มให้เลือกหลากหลาย ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

  • ไสกาว (Perfect Binding) เป็นรูปแบบที่นิยมที่สุด เนื่องจากรูปเล่มดูเรียบร้อยและราคาไม่สูงมาก เหมาะสำหรับหนังสือที่มีความหนา 48 หน้าขึ้นไป เช่น นิตยสาร คู่มือ หนังสือเรียน หนังสือรุ่น
  • เลย์แฟลท (Lay Flat) เป็นการเข้าเล่มที่ทำให้สามารถเปิดกางได้ถึง 180 องศาโดยแทบไม่เห็นรอยต่อ ทำให้รูปภาพระหว่างหน้ามีความต่อเนื่องกัน เหมาะสำหรับใช้เก็บภาพความประทับใจในวันสำคัญต่างๆ เช่น งานพิมพ์โฟโต้บุ๊ค อัลบั้มแต่งงาน จำนวนของหน้าที่ทำได้ไม่เกิน 120 หน้า
  • พรีเมียม (Premium) เป็นการเข้าเล่มที่กางได้ 180 องศาเช่นเดียวกับเลย์แฟลท จำนวนของกระดาษมากสุด 32 หน้า มีสีสันสดใสเพราะเป็นกระดาษโฟโต้
  • ลวดมุงหลังคา (Saddle Stiching) เหมาะสำหรับพอร์ตโฟลิโอ โบรชัวร์ แคตตาลอค หรือเมนูอาหารที่มีจำนวนหน้าไม่มากโดยทั่วไปมักไม่เกิน 40 หน้า วิธีการคือนำกระดาษทั้งเล่มมาเรียงซ้อนกัน พับครึ่ง จากนั้นใช้ลวดเย็บตรงรอยพับ เพราะฉะนั้นในขั้นตอนก่อนการพิมพ์จะต้องมีการจัดวางเลย์เอาท์ของรูปเล่มให้ถูกต้อง ข้อควรระวังในการเย็บแบบมุงหลังคาคือ การออกแบบรูปเล่มคือจำนวนหน้าซึ่งควรหารด้วย 4 หรือ 8 ลงตัว
  • เชือกมุงหลังคา (Saddle Stiching) คล้ายการเข้าเล่มแบบเย็บลวดมุงหลังคาแต่ใช้เชือกในการเย็บแทนลวด เหมาะกับงานที่มีจำนวนหน้าไม่มาก ไม่เกิน 40 หน้า ดูมีระดับ เน้นโชว์ความสวยของเส้นด้ายบนสันปก เหมาะกับเมนูอาหาร
  • เย็บจักรมุงหลังคา คล้ายการเข้าเล่มแบบเย็บลวดมุงหลังคา แต่ใช้จักรและด้ายในการเย็บ
  • กระดูกงู/เข้าห่วง (Ring Binding) เป็นรูปแบบการเข้าเล่มที่สามารถปรับเปลี่ยนหน้าได้ มีให้เลือกทั้งห่วงพลาสติก และห่วงเหล็ก เหมาะกับงานประเภท เช่น ปฏิทิน ไดอารี่ สมุดบันทึก
  • น็อต/สกรู/หมุด (Screw Post Binding) ขั้นตอนคือนำกระดาษทั้งหมดมาซ้อนกันเรียงตามเลขหน้าจากนั้นจึงเจาะรูที่ในส่วนที่จะทำเป็นสันของเล่ม แล้วใช้น็อตยึดตามจุดที่เจาะรูไว้ เพราะฉะนั้นในการออกแบบเลย์เอาท์จะต้องเผื่อระยะของกระดาษในส่วนที่เป็นสันด้วย 
  • เย็บกี่ (Thread Sewing) เป็นรูปแบบที่มีความแข็งแรงที่สุด เหมาะสำหรับหนังสือที่มีความหนามากๆ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม วิธีการคือนำเอากระดาษทั้งเล่มมาแยกเป็นชุดๆ พับครึ่ง แล้วเย็บด้วยด้ายคล้ายการเย็บมุงหลังคา แต่การเย็บกี่จะนำแต่ละชุดย่อยๆนั้นมาเย็บให้ติดกันอีกครั้งจนครบเล่ม จากนั้นจึงหุ้มด้วยปกแข็งอีกครั้ง เนื่องจากการเย็บกี่นี้ต้องใช้เครื่องจักรตั้งเครื่อง จึงมีข้อจำกัดว่าต้องครั้งละไม่ต่ำกว่า 100 เล่ม

ตัวอย่างความหนาของกระดาษของสิ่งพิมพ์ที่ไอคิวแล็บใช้ เนื้อในของโฟโต้บุ๊ค กระดาษอาร์ต 157 แกรม

โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์ หนาประมาณ 120 - 160 แกรม 

ปกอ่อนของนิตยสาร นิยมใช้กระดาษประมาณ 210-250 แกรม

บริการงานพิมพ์ดิจิทัลแบบครบวงจร นอกจากงานพิมพ์แบบเป็นรูปเล่มแล้วทาง IQ Lab ยังมีบริการงานพิมพ์ในรูปแบบอื่นๆ รวมทั้งไดคัทชิ้นงานที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งาน เช่น

  • การ์ดงานแต่งงานหรือการ์ดเชิญต่างๆ
  • นามบัตร
  • โรล อัพ 
  • Back drop
  • สแตนดี้ 
  • โปสเตอร์

สำหรับนามบัตร,โปสเตอร์, การ์ดงานแต่งงานหรือการ์ดเชิญต่างๆ หรืองานพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นๆ จำนวนขั้นต่ำในการผลิต สามารถดูได้ในเว็บไซต์ www.iqlab.co.th

สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้

>>IQ Lab

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 027140644
Line OA: @iqlab

#DigitalPrinting #CreativePrinting #IqLab #Photobook #Catalogue #Poster #NamecCard #Portfolio #Menu #RollUp #BackDrop #Calendar #Diary #Brochure

#งานพิมพ์ดิจิตอล #งานพิมพ์ #ไอคิวแล็บ #โฟโต้บุค #แคตตาลอค #โปสเตอร์ #ยามบัตร #พอร์ตโฟลิโอ #เมนู #โรลอัพ #แบ็คดรอป #ปฏิทิน #ไดอารี่ #โบรชัวร์

IQ Lab
ทางเรามีให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ ไดัแก่
Giclee Print
Printing for exhibition/ Gallery
Photobook
Print/Mount/Framing
Photowall
Graphic Wall
Fine Art Printing และ
Direct Print on Material
บริการครบครัน รวดเร็ว มืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ ให้คำแนะนำลูกค้าได้เป็นอย่างดี คุณภาพที่มาพร้อมกับบริการที่รวดเร็ว ใส่ใจ และช่วยเป็นที่ปรึกษาให้ ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ