การจัดการมลภาวะทางเสียงภายในพื้นที่สำนักงาน ด้วยการใช้กระจกกันเสียง Acoustic Glass
Acoustic Glass for Office Design Sound Control System
การจัดการมลภาวะทางเสียงภายในพื้นที่สำนักงาน ด้วยการใช้กระจกกันเสียง
ในการออกแบบพื้นที่สำนักงาน โดยเฉพาะสำนักงานที่อยู่ติดถนน อยู่ใกล้สนามบิน หรือ อยู่ติดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ นอกจากมลภาวะทางเสียงที่เกิดขึ้นภายนอกอาคารแล้ว เสียงรบกวนภายในสำนักงานก็ไม่สามารถมองข้ามได้เช่นกัน บางคนก็ชอบพูดคุยเพื่อต่อยอดไอเดีย แต่ในขณะที่บางคนต้องการความเงียบสงบเพื่อสร้างสมาธิในการทำงาน การจัดให้มีพื้นที่ปลอดเสียงก็ช่วยเติมเต็มความต้องการที่ต่างกันได้ เช่น ห้องประชุม ห้องทำงานสำหรับงานที่ต้องการสมาธิ หรือ ห้องคุยโทรศัพท์สำหรับติดต่อประสานงาน ฯลฯ
สำหรับการเลือกใช้วัสดุกระจกในการออกแบบตกแต่งพื้นที่สำนักงานล้วนได้รับความนิยมมานาน ส่วนหนึ่งก็เพราะตอบโจทย์ในการช่วยป้องกันเสียงรบกวน ในขณะเดียวกันยังมีความโปร่งใส ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่งเชื่อมต่อพื้นที่ทางการมองเห็นอยู่ในเวลาเดียวกัน
Sound Transmission Class หรือค่า STC คืออะไร มีผลต่อการจัดการเสียงที่ดีภายในพื้นที่สำนักงานอย่างไร
ก่อนจะรู้จักกับกระจกกันเสียง เราจำเป็นต้องรู้จักกับค่า STC กันก่อน ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันในระดับสากล โดยค่า STC จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าค่าที่อยู่ในระดับใดจึงจะเหมาะสมกับการป้องกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Sound Transmission Class หรือค่า STC เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบในห้องทดลอง ด้วยการแบ่งห้องว่างออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรกจะเป็นห้องที่มีผนังหนามิดชิดเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก จากนั้นก็จะนำวัสดุที่ต้องการทดสอบ เช่น ประตู แผ่นผนังสำเร็จรูป แผ่นฝ้าเพดาน หรือ กระจก มาติดตั้งขั้นกลางระหว่าง 2 ห้อง
จากนั้นจะปล่อยพลังเสียงที่มีความดัง แล้วทำการวัดเสียงแบบแยกความถี่ทั้ง 2 ห้อง เพื่อหาส่วนต่าง หรือเรียกว่าค่า Transmission Loss คือ ค่าที่วัสดุที่ทำการทดสอบสามารถป้องกันเสียงได้นั่นเอง จากนั้นจะนำค่า Transmission Loss หรือ TL ออกมาแยกความถี่ในระดับต่างๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ระว่างความถี่ (Hz) และค่าเดซิเบลที่ได้ จากนั้นจะนำความสัมพันธ์ในระดับต่างๆไปคำนวนด้วยกราฟเพื่อหาค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ที่เหมาะสมต่อไป
ค่า STC นั้นสามารถแบ่งได้หลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะเสียงรบกวนแบบต่างๆ มีดังนี้
- STC 30-39 ลดความดังของเสียงพูดคุยปกติได้ แต่ยังเข้าใจเนื้อหาการสนทนา
- STC 40-49 สามารถป้องกันเสียงพูดคุยปกติได้ จนไม่เข้าใจ หรือ จับใจความเนื้อหาการสนทนาไม่ได้
- STC 50-59 ลดความดังของเสียงคนทะเลาะได้ แต่ยังจับใจความเข้าใจบทสนทนาได้
- STC 60-69 ป้องกันเสียงรบกวนจากคนทะเลาะกัน และเสียงรถวิ่งได้เกือบ 100%
- STC 70-74 ลดความดังของเสียงดนตรีที่เล่นอีกฝั่งได้ แต่ยังได้ยินอยู่บ้าง
- STC 75 ขึ้นไป ป้องกันเสียงรบกวนจากการเล่นดนตรีได้เกือบ 100%
คุณสมบัติของกระจกกันเสียง Acoustic Glass
กระจกกันเสียง (Acoustic Glass) จากแบรนด์ tyk มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะนำกระจกประเภทใดมาทำก็จะต้องมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 12 มม.และมีค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ถ้าหากกระจกมีความหนามากกว่า 12 มม. ก็จะยิ่งมีค่า STC สูง ยิ่งค่า STC สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งป้องกันเสียงรบกวนได้มากขึ้นตามไปด้วย จึงเหมาะที่จะนำไปใช้กับอาคารสำนักงาน สนามบิน โรงแรม และอาคารที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
นอกจากนี้กระจกกันเสียงยังมีคุณสมบัติที่โปร่งใสคงเดิม จึงทำให้มีความโปร่งโล่งไม่ทึบตัน อีกทั้งยังมีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และมีความหนาให้เลือกหลายขนาดอีกด้วย
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
https://www.wazzadu.com/brand/104/contact
สอบถามข้อมูล และติดต่อสั่งซื้อได้ที่เบอร์ ฝ่ายขาย 02-960-2790 ,02-434-9590 -9
มือถือ 085-111-5238
Line: @tykgroup ,E-mail: info@glassform.co.th
ผู้เขียนบทความ