ลักษณะโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน (Roof Suspension Structure)

Roof Suspension Structure Cable Style : Moses Mabhida Stadium

รูปภาพอ้างอิงจาก www.farpost.co.za

โครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน (Roof Suspension Structure) คืออะไร

โครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน คือ ลักษณะโครงสร้างอีกรูปแบบหนึ่ง ที่อยู่ในแขนงประเภทของโครงสร้างช่วงพาดกว้าง หรือ โครงสร้างช่วงยาว (Wide Span or Long span Structure) เช่นเดียวกับ Truss Structure และ Cable Structure นั่นเอง

โครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน นิยมใช้เป็นโครงสร้างหลังคาสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่มีช่วงพาดยาวมากกว่า 30 เมตร (ถ้าน้อยกว่า 30 เมตร อาจจะไม่คุ้มทุน ถ้าหากจะใช้โครงสร้างแบบโครงแขวน) เนื่องจากโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวนเป็นรูปแบบโครงสร้างหลังคาที่สามารถแผ่ครอบคลุมเนื้อที่ได้ค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะระนาบกว้าง หรือ ระนาบตามแนวยาว ดังนั้นเราจึงอาจไม่ค่อยเห็นโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวนตามอาคารทั่วไปๆทั้งขนาดเล็ก และขนาดกลาง

ภาพตัวอย่างโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน (Roof Suspension Structure)

ลักษณะของโครงสร้างหลังคาโครงแขวน

โครงสร้างหลังคาโครงแขวนนั้น เป็นรูปแบบโครงสร้างที่รองรับแรงกระทําโดยการพัฒนาแรงดึงในตัว Cable ให้สามารถรับน้ำหนักโครงหลังคาตามที่ออกแบบได้ โดยตัวโครงสร้างหลังคาจะถูกแขวนด้วยสายเคเบิลในแนวตั้ง  ที่ยึดอยู่กับ Cable แนวนอน หรือ โครงสร้างแนวนอน

โครงสร้างหลังคาโครงแขวน จะประกอบด้วยการโยงสาย Cable ข้ามฝั่งจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยที่แต่ละฝั่งก็จะสร้างฐานโครงสร้าง เช่น เสากระโดง หรือ โครงสร้างแบบอาร์คโค้งขนาดใหญ่พาดจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อยึดสาย Cable นี้ไว้เป็นระยะๆอย่างแน่นหนาตลอดแนวความยาวของตัวหลังคา  

นํ้าหนักของหลังคาก็จะถ่วงดึงสาย Cable ย่อยแนวตั้งที่ยึดโยงกับสาย Cable หลักแนวนอน จนมีความตึง (ในกรณีที่ใช้โครงสร้างแบบอาร์คโค้ง เช่น สนามกีฬา Moses Mabhida Stadium หรือ สนาม Wembley จะมีแต่สาย Cable ย่อยแนวตั้งเท่านั้น) และแรงดึงที่เกิดขึ้นในสาย Cable หลักก็จะถูกถ่ายออกไปยังฐานยึดของสาย Cable ทั้งสองฝั่ง โดยตัวโครงหลังคาจะถูกออกแบบตามหลักวิศวกรรม เพื่อป้องกันไม่ให้บิดตัวได้จากแรงลม และแรงกระทำอื่นๆ

ภาพตัวอย่างโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน (Roof Suspension Structure)

วัสดุหลักที่ใช้ในการออกแบบก่อสร้างโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน (Roof Suspension Structure) ประกอบด้วย

- คอนกรีตหล่อ และเหล็กเอชบีม

ส่วนใหญ่ใช้สร้างเป็นฐาน และเสากระโดงที่มีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษเพื่อยึดสาย Cable ที่พาดจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง นอกจากนี้เหล็กเหล็กเอชบีมขนาดเล็กยังสามารถใช้ทำโครงหลังคาได้ด้วยเช่นกัน

- ท่อเหล็กดำ และท่อเหล็กตะเข็บเกลียว

ใช้ทำโคงสร้างแบบอาร์คโค้งที่พาดจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อยึดสาย Cable ย่อยแนวตั้ง รวมไปถึงใช้ทำโคงสร้างหลังคาด้วยเช่นกัน

- เคเบิล หรือ ลวดเหล็กกล้าแรงดึงสูง 

ใช้ทำ Cable ย่อยแนวตั้ง และ Cable หลักแนวนอน 

ภาพตัวอย่างโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน (Roof Suspension Structure)

การออกแบบใช้งานโครงสร้างหลังคาแบบโครงแขวน (Roof Suspension Structure) ในงานสถาปัตยกรรม ถูกนำไปใช้กับอาคารหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น

  • โครงสร้างหลังคาอาคารหอประชุม และโรงมหรสพขนาดใหญ่
  • โครงสร้างหลังคาสนามกีฬาในร่ม 
  • โครงสร้างหลังคาสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่
  • โครงสร้างหลังคาศูนย์จัดแสดงสินค้า
  • โครงสร้างหลังคาศูนย์การค้า
  • โครงสร้างหลังคาสนามบิน, สถานีรถไฟขนาดใหญ่
  • โครงสร้างหลังคาอาคารอเนกประสงค์

สำหรับท่านที่สนใจท่อเหล็กดำ และท่อเหล็กตะเข็บเกลียวที่ใช้ในงานโครงสร้าง

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center  02-285-2700​ ​

Website : www.cotcometalworks.co.th  ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.

บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จำกัด / COTCO METAL WORKS LIMITED
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ