หลักการในการเลือกไม้ OSB สำหรับใช้ทำ Sub Roof และวิธีการติดตั้ง
ไม้อัดลานนา OSB (Oriented Strand Board) มีความแข็งแรงและความทนทานสูงกว่าไม้อัดทั่วไปถึง 3 เท่า เนื่องจากมีส่วนประกอบของไม้สนหรือเศษไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส นำมาเรียงชิ้นเป็นแผ่น 3 ชั้น ผิวหน้าด้านนอกสองข้างจะเรียงตามความยาวแผ่น ส่วนแกนกลางจะเรียงตามขวาง จากนั้นนำมาอัดกาวเรซิ่นและเติมสารที่มีส่วนประกอบของ Zinc Borates ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ทนต่อเชื้อรา เหมาะสำหรับไปใช้กับงานโครงสร้างที่มีการรับน้ำหนักทั้งภายในและภายนอก รับน้ำหนักได้มากกว่าไม้อัดถึง 66% มักจะมีการกรุแผ่นฟอยล์อลูมิเนียมกันความร้อนด้านใน เพื่อช่วยลดความร้อนและช่วยประหยัดการใช้พลังงาน
ข้อดีของไม้ OSB (Oriented Strand Board) เมื่อนำมาใช้กับงาน Sub Roof
- มีความเหนียว ยืดหยุ่นได้สูง ยึดเกาะแน่นและมีความแข็งแรงกว่าไม้อัดทั่วไปถึง 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกันที่ความหนาแน่นและปริมาณกาวที่เท่ากัน
- ทนทานต่อความชื้นได้ดี ทำให้ไม้ไม่แตก โค้งงอ ผิวหน้าไม่หลุด บิดเบี้ยวเหมือนไม้อัดทั่วไป ทนทานต่อเชื้อราเนื่องจากวิธีการผลิตมีการใช้ Borate ซึ่งเป็นสารที่ไม่อันตรายต่อคน มีการขยายตัวและหดตัวของไม้ต่ำมากในทุกสภาพแวดล้อม
- มีแนวเส้นกำหนดบนผิวหน้า ทำให้ง่ายต่อการวางแนวตะปูในการติดตั้งงานหลังคา เนื่องจากใช้แค่เครื่องมือทั่วไป เช่น เลื่อย ตะปู ตะปูเกลียว การยิงแม็ก
ควรเลือกไม้ลานนา OSB ที่มีมาตรฐานดังนี้
- ไม้ OSB รุ่นทนชื้น ทนรา หรือ OSB3 โดยปกติ ไม้ OSB แบ่งเป็น 2 เกรด คือ OSB2 Structural non load bearing use in dry condition หรือไม้ OSB ที่ไม่ควรใช้ในการรับน้ำหนัก และใช้ได้ในเฉพาะที่แห้งนั่นเอง และ OSB3 Structural load bearing use in humid conditions when moisture is present หรือไม้ OSB ที่สามารถใช้ในการรับน้ำหนักได้ และใช้ได้ในที่ที่มีความชื้นนั่นเอง
- ไม้ OSB ที่ทนสภาวะความชื้นสูง จากกระบวนการผลิตที่ใช้กาว pMDI (กาวเกรดภายนอก)
- ไม้ OSB ที่ผ่านมาตรฐานการรับรองเรื่องการปล่อยสารฟอมัลดีไฮด์ EN 120 (European Standard) ที่ดีกว่ากาว EO
- ไม้ OSB ที่ได้รับรองตามมาตรฐาน European Conformity ด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎของสหภาพยุโรป
- ไม้ OSB ที่ผลิตจากไม้ป่าปลูก PEFC เพื่อช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ และรักษาสภาพแวดล้อม
- ไม้ OSB ที่มีความหนา 10 มม. เนื่องจากเป็นความหนาที่สามารถรับน้ำหนักหลังคาได้ดี และไม่หนามากจนเกินไป ขนาด 1220 x 2440 มม.
การใช้งานไม้ OSB (Oriented Strand Board) มาใช้ติดตั้งระบบกันรั่วซึมรองใต้วัสดุมุงหลังคา (Sub Roof)
- ติดตั้งแปให้มีระยะห่าง (กึ่งกลางถึงกึ่งกลาง) ประมาณ 40 ซม.
- ติดตั้งแผ่นไม้ OSB ขนาด 1220x2440 มม. หนา 10 มม. โดยใช้ตะปูเกลียวเป็นตัวยึดทุกๆ ระยะ 20 ซม.
- การปูไม้ ให้ปูจากด้านล่างชายหลังคาขึ้นสู่ด้านบนบริเวณสันหลังคา
- ติดตั้งเชิงชายและแผ่นครอบเชิงชาย
- ติดตั้งแผ่นกันน้ำ (Felt paper) โดยปูจากด้านล่างขึ้นด้านบนเช่นเดียวกับการปูไม้ ระยะซ้อนทับของแผ่นกันน้ำตามมาตรฐานผู้ผลิต จากนั้นให้ยึดแผ่นกันน้ำเข้ากับแผ่นไม้ OSB ทุกๆ ระยะ 30 ซม.
- ติดตั้งแผ่นหลังคา Shingle จากด้านล่าง หรือแนวชายคาแล้วไล่ไปด้านบน โดยยึดด้วยตะปูร่มขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 ตัว ต่อ 1 แผ่น หรือ ตามมาตรฐานผู้ผลิต
- มุงตะเข้ราง และครอบสัน ตามมาตรฐานผู้ผลิต
- การวางหลังคาที่ดีนั้นควรมีระบบการระบายอากาศใต้หลังคา พื้นที่ของช่องเปิดระบายอากาศใต้หลังคาควรเป็น 1:300 ถึง 1:500 ของพื้นที่ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา พื้นที่ของช่องระบายอากาศควรเกินกว่าช่องรับอากาศ 10-15% เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานและลดอัตราการโก่งตัวของไม้
ตัวอย่างสินค้าเทียบเคียง
หากสนใจไม้อัดลานนา By Suksawad สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ลิงก์นี้
www.wazzadu.com/page/suksawad/contact
Line: @suksawad ,E-mail: sales@suksawad.co.th, Facebook สุขสวัสดิ์ไม้อัดไทย
Hotline: 091-771-0499
#Wazzadu #ไม้อัดลานนาbySuksawad #ไม้อัดลานนา #เฟอร์นิเจอร์ #ไม้OSB #OSB BOARD #หลังคาOSB #หลังคาชิงเกิ้ล #shingleroof #หลังคายางมะตอย
ผู้เขียนบทความ
จ๊อย,เอเชี่ยนวอลนัท,สนประสาน,กาวยาง,สี ... อ่านเพิ่มเติม